icon
giftClose
profile

จะทำอย่างไรให้เด็กกล้าพูดออกมา?

48802
ภาพประกอบไอเดีย จะทำอย่างไรให้เด็กกล้าพูดออกมา?

Generation Gap ทำให้บางครั้งเด็กไม่กล้าพูดเรื่องราวบางอย่างกับเรา วันนี้คุณครูจุ๊บแจงจะมานำเสนอหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดช่องว่างตรงนี้

ต้องยอมรับเลยว่าเด็กบางส่วนเวลามีปัญหามักจะเก็บเงียบไม่พูด ไม่กล้าบอกกล่าวว่าตัวเขานั้นประสบปัญหา การเปิดใจเล่าเรื่องบางอย่างอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน แม้กระทั่งคุณครูเองที่บางครั้งก็อยากจะเข้าไปพูดคุยกับนักเรียนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มพูดอย่างไร ให้เด็กกล้าที่จะเปิดใจคุยกับเรา


วันนี้จึงอยากมาเสนอแนวทางเล็ก ๆ ที่นอกจากจะเป็นกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ทำ ก็ยังสามารถทำให้คุณครูหลาย ๆ ท่านได้ลองนำไปประยุกต์ในการพูดคุยกับเด็ก 


“ถ้าฟังคำถามแล้วเห็นด้วยลองออกมายืนที่เส้นแบ่งตรงกลางดูสิ”

ก่อนอื่นเลยอยากเล่าว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรม Warm-up ก่อนเริ่มบทเรียนเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกัน เคารพสิทธิของตัวเราเองและผู้อื่นของนักเรียนชั้น ม.2 ซึ่งคุณครูไม่ได้สนิทกับเด็กนักเรียนในชั้นนี้เลย อีกทั้งยังไม่เคยได้สอน แต่ได้เข้าไปสอนแทนเนื่องจากคุณครูเดิมที่สอนเด็กชั้น ม.2 นั้น วันนี้ไม่อยู่



💖เข้าสู่กิจกรรมกันดีกว่า💖




เริ่มต้นด้วยที่เราจะชวนให้นักเรียนมาเล่นยืนล้อมวงกัน ทักทายกัน แล้วใช้เส้นแบ่งกระดาษกาวตียาวแบ่งนักเรียนเป็นสองฝั่ง


หลังจากนั้นเราจะให้เด็กนักเรียนหญิงและชายยืนคนละแถว ระหว่างเส้นกระดาษกาวตรงข้ามกัน


แล้วเริ่มคำถามแรก ถ้านักเรียนคนไหนเห็นด้วย รู้สึกว่าใช่ตัวเองมาที่สุดก็ให้เดินออกมายืนบนเส้นกระดาษกาว



“ค่อย ๆ ไต่คำถามไปทีละระดับ”

เพราะเด็กรุ่นนี้มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับการหยอกล้อ การแกล้งกันภายในห้องเรียน ทำให้มีเด็กบางส่วนอาจจะรู้สึกไม่ดีที่เกิดขึ้น



แต่มันยากใช่ไหมล่ะคะ? 

เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน บางครั้งถ้าเราไปจี้เขาอาจจะหนี แต่ถ้าเขาไม่พูดเราก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร หรือต่อให้เราช่วยได้ เพื่อนคนอื่นจะเข้าใจเขามากกันแค่ไหนนะ?


ดังนั้นคำถามที่คุณครูเตรียมมาวันนี้จึงเป็นคำถามจากเรื่องทั่วไป ความสุขในการเรียน ชอบวิชาไหน ชอบคุณครูประจำชั้นไหม

และทุก ๆ คำถามที่มีเด็กออกมายืนนั้น เราก็จะถามต่อว่าทำไม เพราะอะไร 


*สำหรับคำถามที่ใช้ถามนักเรียนชั้น ม.2 นี้นั้น เป็นคำถามถูกเลือกจาก เรื่องที่มีการ Bully กันมากที่สุดในชั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง


เมื่อถามคำถามไล่ไปเรื่อย ๆ จากความชอบเป็นความไม่ชอบ ไม่ประทับใจอะไร ร้องไห้กับเรื่องไหน ใครที่ชอบรังแกเพื่อน จนถึงคำถามสุดท้ายที่ยกมาคือ ใครเคยเสียใจกับพฤติกรรมมากสุด




และในตอนนี้เองที่เด็กบางคนออกมา ซึ่งเป็นนักเรียนที่โดนแกล้ง ล้อเลียน



หลังจากนั้นคุณครูก็ได้ให้นักเรียนเชื่อมประเด็นต่าง ๆ บนกระดานดำ ว่าทำไมเพื่อนถึงเสียใจขนาดนี้ พร้อมทั้งเลือก 1 ประเด็น เพื่อมาวิเคราะห์สาเหตุ ว่าเกิดจากสาเหตุใด กระทบใครบ้าง แล้วเกี่ยวข้องกับสังคมใด เพื่อที่จะให้เด็ก ๆ ได้ลองนำเสนอกัน




“การส่งคำถามกับเด็ก จะทำให้เขากล้าที่จะตอบ อย่าจี้ถาม”

จะช่วยให้เขากล้าที่จะตอบคำถาม กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะบางครั้งการไปจี้ถามเขามาก ๆ จะทำให้เขาไม่กล้า ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปกับการตอบคำถามของเด็ก


และอย่าลืมทำ “Refection” กับเด็กตอนสุดท้าย. ก่อนออกจากห้องเรียน

แสดงให้เห็นว่าคุณครูประทับใจอะไร และเรียนรู้อะไร นำไปใช้อย่างไร เพื่อให้เด็กคิดว่าเขาจะไม่แกล้งเพื่อนแล้ว และคิดว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร พร้อมทั้งเมื่อจบกิจกรรมให้พวกเขาได้ขอบคุณ ขอโทษกันและกัน จะได้เป็นการทลายกำแพงของเด็ก



Tips ง่าย ในการทำกิจกรรมนี้

  • ดึงประเด็นใกล้ตัวนักเรียน จะทำให้เขายิ่งอินกับการตอบคำถาม
  • ทำการบ้านแล้วตั้งคำถามไปให้ถึงเป้าหมาย
  • ทำ Refection กับเด็ก
  • ขอบคุณขอโทษกันและกันเมื่อจบกิจกรรม



คนมากปัญหาเยอะ ถ้าไม่ได้มีโอกาสได้คุยกัน ยิ่งไม่เข้าใจกันเลย
เพราะมากกว่าได้งานคือได้ใจ
ดังนั้นให้การจะอยู่ร่วมกันได้ เราต้องเกียรติทั้งตัวเองและคนอื่น ไม่ว่ากาย วาจา ใจ
รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(10)
เก็บไว้อ่าน
(23)