กิจกรรมแนะแนว : การศึกษา (กิจกรรมนี้เหมาะกับนักเรียนม.6 และ ม.5 ในเทอม 2)
ที่มา
การสอบ O-NET ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น ในปัจจุบันสอบทั้งหมด 5 วิชาด้วยกันดังนี้ 1.วิชาภาษาไทย 2.วิชาภาษาอังกฤษ 3.วิชาสังคมศึกษา 4.วิชาคณิตศาสตร์ และ5.วิชาวิทยาศาสตร์ แต่ละวิชาคะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน สอบทั้งหมด 5 วิชา รวมกันทั้งหมดจะได้คะแนนเต็ม 500 คะแนน โดยมีเงื่อนไขที่ว่าคนที่จะสอบ กสพท.นั้นต้องได้ทุกวิชารวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ซึ่งก็คือ 300 คะแนน แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เข้ากสพท.หรือเด็กสายศิลป์ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะ O-NET ในบางคณะยังใช้เป็นคะแนนขั้นต่ำหรือคิดเป็นสัดส่วน ใน TCAS รอบ ที่ 3 ทั้ง Admission 1 และ Admission 2 นั้น O-NET จะมีบทบาทค่อนข้างชัดเจนมาก โดยในAdmission 2 คะแนน O-NET จะคิดเป็น 9,000 คะแนน จาก 30,000 คะแนนเต็ม
แม้ว่าเราเป็นสายศิลป์แต่บางคณะใน Admission 1 ก็ยังมีการใช้ O-NET ประกอบ หรือ มิหนำซ้ำ บางคณะยังมีการกำหนดคะแนน O-NET ขั้นต่ำอีกด้วย อาทิเช่น ถ้าจะเข้าคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ O-NET ภาษาอังกฤษต้องไม่ต่ำกว่า 70 เป็นต้น เราจึงได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เช่นกัน (คิดเป็น 5,400คะแนน) เพราะจะช่วยได้ค่อนข้างมาก อีกทั้ง O-NET นั้นตัวข้อสอบยังสามารถทำคะแนนได้ง่ายกว่า GAT-PAT และวิชาสามัญ (อันนี้จริงจัง) แต่ก็ไม่ถือว่ากดดันมากเพราะ การจะทำ O-NET ได้ถึงร้อยละ 60 นั้น เราไม่ต้องทำได้เยอะทุกวิชา เพราะคนเราจะมีวิชาที่เก่งกับไม่เก่ง ดังนั้นถ้ามีการวางแผนการกะเกณฑ์คะแนนช่วงหน้าที่ดี จะทำให้เราวางแผนการอ่านหนังสือได้อย่างเหมาะสมและไม่เหนื่อยจนเกินไป ดังนั้น เรามาลองคำนวนตามความสามารถของเราให้O-NET รวม ได้ร้อยละ 60 กันดีกว่า
วัตถุประสงค์
กิจกรรม
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
เริ่มแรกให้อาจารย์ เกริ่นถึงความสำคัญของการสอบ O-NET รวมถึงรายวิชาที่นักเรียนต้องสอบครับ เช่น การสอบ O-NET ของม.6นั้นเราสอบได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น ผิดกับ GAT-PAT หรือวิชาสามัญ ถ้าคะแนนไม่ดีปีหน้าสมัครสอบใหม่ได้ ดังนั้นถ้าพลาดทีคะแนนจะติดตัวเราตลอด และถึงแม้เราจะเป็นสายศิลป์ หรือคนที่ไม่สนใจจะเข้า กสพท. O-NET ก็ยิ่งสำคัญเช่นกัน ยิ่งถ้าเราไม่ติดรอบ portfolio (TCAS รอบ 1) หรือคณะที่เราอยากจะเข้าเปิดในรอบที่ 3 O-NET ยิ่งจะมีบทบาทกับเรามาก เป็นต้นครับ (อาจารย์จะเกริ่นนำตามภาพนี้ก็้ได้นะครับ)
แต่ก็ไม่ถือว่ากดดันมากเพราะ การจะทำ O-NET ได้ถึงร้อยละ 60 นั้น เราไม่ต้องทำได้เยอะทุกวิชา เพราะคนเราจะมีวิชาที่เก่งกับไม่เก่ง ดังนั้นถ้ามีการวางแผนการกะเกณฑ์คะแนนช่วงหน้าที่ดี จะทำให้เราวางแผนการอ่านหนังสือได้อย่างเหมาะสมและไม่เหนื่อยจนเกินไป ดังนั้น เรามาลองคำนวนตามความสามารถของเราให้O-NET รวม ได้ร้อยละ 60 กันดีกว่า
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ยกตัวอย่าง สมมิตว่าเราไม่ถนัดหรือถนัดวิชาอะไร ? เป็นการให้นักเรียนประเมินความสามารถในแต่ละวิชาของนักเรียนครับ (ตามภาพเลยครับ)
2.แสดงตัวอย่าง ให้นักเรียนลองประเมินตัวเองดูสิว่า ใน 5 วิชาที่เราจะต้องสอบ O-NET เนี่ย จากความสามารถของเราคิดว่า เราจะต้องทำอย่างไรเราถึงจะต้องได้ รวม 300 คะแนนจากความสามารถของเราเอง ซึ่งถ้ายังไม่พอ เราขาดอีกกี่คะแนน? และพอจะเพิ่มในวิชาไหนได้บ้างที่เราพอจะเพิ่มได้?
อาจจะให้นักเรียนดูถึงคณะที่ตัวนักเรียนจะเข้าด้วยนะครับว่ามีบังคับคะแนน O-NET ขั้นต่ำในแต่ละวิชาด้วยหรือไม่ อาทิ เช่น ภาษาอังกฤษต้องได้ไม่ต่ำกว่า 70 คะแนนเป็นต้น ในณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ ฯลฯ
3.จากนั้นให้นักเรียนลงมือทำใบงานได้เลยครับ
ขั้นสรุป
วิชา O-NET ถึงจะสำคัญ แต่ก็ไม่ได้ยากมาถ้าเทียบกับการสอบ GAT-PAT หรือวิชาสามัญ แถมเรายังไม่จำเป็นต้องทำให้ได้ดีหมดทุกวิชา วิชาไหนเราพอจะถนัดเราก็สามารถทำให้สุดไปเลย เพื่อที่จะกลบคะแนนในรายวิชาที่ไม่ถนัดได้ พอเราประเมินตัวเราแล้ว(ได้ฝึการทำความเข้าใจตนเองไปในตัวครับ) ก็สมควรที่จะลงมืออ่านหนังสือหรือเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ทำคะแนนให้ได้ตามที่คาดหวังไว้ (ถ้าได้รวมเกิน 60 % ถือว่าดีมาก แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรต่ำกว่า 50 % เพราะจะเริ่มฉุดคะแนนเราแล้วใน Admision 2 แต่ กสพท.ทำใจนะครับทีมแพทย์กับทันตแพทย์ ต้องรวมห้ามต่ำกว่า 60 % นะครับ) และอย่าลืมเช็คด้วยว่ามีคณะ/มหาวิทยาลัยไหนกำหนดคะแนนขั้นต่ำหรือไม่ไม่งั้นก็อาจจะพลาดได้เช่นกันถ้าได้คะแนนต่ำกว่าที่เขากำหนด สู้ๆเป็นกำลังใจให้นักเรียนทกุคนครับ :) ตัวอย่างใบงานโหลดได้จากด้านล่างนะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!