inskru

The Observer รุ่นใหม่ หัวใจมอนเตสซอรี่

6
0
ภาพประกอบไอเดีย The Observer รุ่นใหม่ หัวใจมอนเตสซอรี่

The Observer บุคคลที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยไขคำตอบพฤติกรรมที่จะเป็นผลนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาความเป็นครูมอนเตสซอรี่ได้อย่างเหมาะสม และเข้าใจถึงบทบาทเด็กมอนเตสซอรี่ที่ดีในเวลาเดียวกัน โดย อาจารย์ ดร.จุฬินฑิพา นพคุณ อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่เรียนในรายวิชาการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จำเป็นต้องมีคุณลักษณะสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ การเป็นนักสังเกตเด็ก (ปฐมวัย หรือเด็กอนุบาล) ที่ดี การสังเกตที่ดีเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของครูมอนเตสซอรี่ แต่จะเป็นอย่างไรนั้นอาจารย์จะพานักศึกษาไปเรียนรู้ผ่าน กิจกรรม “The Observer รุ่นใหม่ หัวใจมอนเตสซอรี่”

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เน้นแสดงบทบาทสมมุติเหมือนทั่วไปๆ แต่จะเน้นความสำคัญตรงผู้สังเกต ผู้สังเกตต้องมีความละเอียดในการสังเกต และบันทึกพฤติกรรมตามสภาพจริงเพื่อสะท้อนผลพฤติกรรมที่เกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า The Observer คือ กุญแจสำคัญที่สุดในกิจกรมนี้ ซึ่งกิจกรรมนี้อาจารย์ได้แนวคิดภาพรวมจากวิทยากรชาวเยอรมันท่านหนึ่งที่เคยมาให้การอบรมเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย และได้นำมาเพิ่มเติมและประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับกิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นหลังการเรียนภาคปฏิบัติผ่านอุปกรณ์การสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ และหลังการเรียนภาคทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาทครูและบทบาทเด็กของมอนเตสซอรี่เสร็จสิ้นแล้ว เรามาดูกันว่านักศึกษาจะสอนเป็นอย่างไร และมาดูว่านักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้ฐานะครูมอนเตสซอรี่ และเด็กมอนเตสซอรี่ได้เหมาะสมเพียงใดผ่านกิจกรรมนี้กันเลยค่ะ

วิธีการจัดกิจกรรม

กิจกรรมนี้จะเป็นกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน

 1.ให้นักศึกษา 1 คน จับคู่เพื่อน 1 คน คนที่ 1 รับบทบาทเป็นครูมอนเตสซอรี่ คนที่ 2 รับบทบาทเป็นเด็กนักเรียนอนุบาลในชั้นเรียนมอนเตสซอรี่ ให้คนที่รับบทบาทเป็นครูแสดงบทบาทสมมุติการนำเสนองานในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ 1 งาน (ให้เลือกนำเสนอ 1 งานในหมวดงานใดก็ได้ ประกอบด้วย หมวดงานชีวิตประจำวัน หมวดงานประสาทรับรู้ หมวดงานภาษา และหมวดงานคณิตศาสตร์) และให้คนที่รับบทบาทเป็นเด็กแสดงบทบาทที่เหมาะสมในขณะที่ครูนำเสนองาน และตนเองทำงาน

2.ให้นักศึกษาจับฉลากเพื่อนที่จะมาเป็นผู้สังเกต หรือ The Observer 2 คน คือ ผู้สังเกตบทบาทครู  1 คน ผู้สังเกตบทบาทเด็ก 1 คน ขณะที่เพื่อนที่แสดงบทบาทสมมุติซ้อมการแสดง The Observer จะทำการสังเกตอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการซ้อมการแสดง แต่ให้ทำความเข้าใจกับแบบฟอร์มการบันทึกพฤติกรรม ให้ผู้สังเกตบทบาทครูทำแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่ครูแสดงออก ผู้สังเกตเด็กทำแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ตามแบบฟอร์มที่อาจารย์ให้ไป โดยการสังเกตให้บันทึกพฤติกรรมตามสภาพจริง ไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป หากจะใส่ความคิดเห็นให้ใส่ในข้อเสนอแนะ

 3. เมื่อนักศึกษาแต่ละคู่ทำการแสดงบทบาทสมมุติจบ ให้ผู้สังเกต หรือ The Observerทั้ง 2 คน สะท้อนผลถึงพฤติกรรมที่ได้สังเกตเห็น และนำมาอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการสอนว่าควรมีสิ่งใดปรับปรุง นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้ฐานะครูมอนเตสซอรี่ และเด็กมอนเตสซอรี่ได้เหมาะสมเพียงใด


สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

         1.นักศึกษาได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมา และเรียนรู้วิธีการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ บทบาทครู บทบาทเด็ก มอนเตสซอรี่ที่เหมาะสม จากการสะท้อนของเพื่อนที่เป็นผู้สังเกต หรือ The Observer ร่วมกับอาจารย์ เพื่อให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้เพื่อนนักศึกษาที่สวมบทบาทเป็นครูและเด็กได้มองเห็นตนเอง รู้จุดดี จุดบกพร่องของตนเอง และนำไปปรับปรุง

2.นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการสังเกตพฤติกรรมเด็กรายบุคคล


การนำไปประยุกต์ใช้

         สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกวิชา เป็นการใช้วิธีการสอนด้วยการแสดงบทบาทสมมุติทั่วไป แต่จะให้อำนาจที่ตัวผู้สังเกตเป็นหลัก


ภาพตัวอย่าง ขณะ The Observer คนที่ 1 กำลังนั่งอยู่ที่มุมห้องเพื่อทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมบทบาทครูมอนเตสซอรี่

เทคนิคการสอนเติมความรู้การจัดการชั้นเรียนกิจกรรมในโรงเรียนตัวช่วยครู

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

6
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
จุฬินฑิพา นพคุณ
อาจารย์ ดร. หัวใจกุ๊กกิ๊ก ชอบแต่งนิทาน วาดรูป แต่งกลอน ทำงาน DIY  เขียนหนังสือ แต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย และชื่นชอบแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กปฐมวัย 🔎📍💛ฝากติดตามผลงานทางวิชาการอื่นๆอีกมากมายของอาจารย์ เช่น บทความวิจัย บทความทางวิชาการ เพียง search ชื่อ และเข้าที่ google scholar 💌 Email : [email protected]

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ