1. Communication และ Content (การสื่อสารและเนื้อหา)
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายและยกตัวอย่างโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไตอันเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ ได้และปฏิบัติตนเพื่อป้องกันหรือดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชนได้
2. Cognition and Culture (PBL+CBL) (ความรู้ความเข้าใจและวัฒนธรรม)
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าอละออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
ผลการเรียนรู้
ข้อ 21. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และยกตัวอย่างเกี่ยวกับความผิดปกติของไตอันเนื่องมาจากโรคต่างๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ด้านความรู้ (K)
1.1 นักเรียนอธิบายและยกตัวอย่างโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไตอันเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ ได้
2. ด้านทักษะกระบวนการ (P)
2.1 นักเรียนปฏิบัติตนเพื่อป้องกันหรือดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต และสามารถสร้างสื่อความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชนได้
3. ด้านคุณลักษณะ (A)
3.1 นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ
3. เนื้อหา
ความผิดปกติของระบบขับถ่าย
4. สื่อการสอน
4.1 โมเดลแสดงการทำงานของไต
4.2 วีดีโอ เรื่อง โรคที่เกี่ยวข้องกับไต
4.3 ใบงาน
5. การจัดกระบวนการเรียนรู้ (รูปแบบวงจร 5E)
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Engagement) (CLIL)
1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน
2. ครูนำเข้าสู่เรียนโดยการให้นักเรียนทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับระบบขับถ่าย (ไต)
ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (Exploration)
1. ครูอธิบายถึงความสำคัญของไต ว่า ไตเป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาดุลยภาพของร่างกาย หากไตผิดปกติจะเกิดผลอย่างไรกับร่างกายของเราครูตั้งคำถามต่อไปว่า ในครอบครัว หรือคนในชุมชนของนักเรียนมีคนที่มีความผิดปกติของระบบขับถ่ายหรือไม่ ถ้ามีได้แก่โรคอะไรบ้าง
2. ครูอธิบายและยกตัวอย่างโรคไตและโรคที่เกี่ยวกับไต เช่น โรคนิ่ว ไตวาย เป็นต้น พร้อมอธิบายถึง สาเหตุ อาการ และการรักษา ที่มาจาก คู่มือการจัดการโรคไตเรื้อรังสำหรับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
3. ครูสร้างสถานการณ์จำลองโดยให้นักเรียนออกแบบ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของไต ระหว่างไตปกติและไตเสื่อม ให้นักเรียนร่วมกันทำการทดลองร่วมกัน
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
1. ครูสร้างสถานการณ์จำลองโดยให้นักเรียนออกแบบ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของไต ระหว่างไตปกติและไตเสื่อม ให้นักเรียนร่วมกันทำการทดลองร่วมกัน
2. ครูอธิบายการทำกิจกรรม โครงงานสำรวจพฤติกรรมการกินโซเดียมของคนในชุมชน ซึ่งมีแบบฟอร์มโครงงาน ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
4. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
5. ขอบเขตของการศึกษา
6. วิธีดำเนินการ
7. ผลการดำเนินการ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
2. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกหมู่บ้าน และนำแบบสำรวจประเมินนิสัยการบริโภคโซเดียม ไปสำรวจคนในหมู่บ้านเพื่อรวบรวมข้อมูลสรุปผลลงในโครงงานสำรวจพฤติกรรมการกินโซเดียมของคนในชุมชน
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
เมื่อนักเรียนทราบกลุ่มเสี่ยงจากการสำรวจพฤติกรรมการกินโซเดียมของคนในชุมชน
และจากการศึกษาสาเหตุพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติ จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบสื่อเกี่ยวกับโรคไตและโรคที่เกี่ยวกับไต สาเหตุ อาการ วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในรูปแบบของโปสเตอร์ แผ่นพับ วีดีโอ นำไปเผยแพร่ในสื่อโซเชียล ชุมชน และครอบครัวของนักเรียน
ขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluation)
การวัดผล
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ (K)
- แบบฝึกหัดแผนผังความคิดสรุปโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบขับถ่าย
- แบบฝึกหัด
2. ด้านทักษะกระบวนการ (P)
- โมเดลแสดงการทำงานของไต
- แบบประเมินกิจกรรม
3. ด้านเจตคติ (A)
- สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย