inskru
gift-close
insKru Selected

ลูกปัดเชื่อมโยงสำหรับการสอนเรื่องการสะสมสารพิษ

0
1
ภาพประกอบไอเดีย ลูกปัดเชื่อมโยงสำหรับการสอนเรื่องการสะสมสารพิษ

เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้นักเรียนสร้างแบบจำลองการสะสมสารดีดีทีในสิ่งมีชีวิตจากเหตุการณ์ที่กำหนดให้ พร้อมใช้ลูกปัดสองสีโดยลูกปัดสีเหลืองแทนเซลล์สาหร่ายที่ไม่มีดีดีที ส่วนลูกปัดสีแดง แทนเซลล์สาหร่ายที่มีดีดีที เพื่อให้นักเรียนสร้างแบบจำลองอธิบายการสะสมของสารดีดีทีในสิ่งมีชีวิตตามโซ่อาหารที่ครูกำหนดให้

ที่มาของไอเดีย

จากการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นม.3 เรื่อง ระบบนิเวศเกี่ยวกับ "ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ" เกี่ยวกับการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจัดกิจกรรมโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติและอธิบายการสะสมสารพิษในโซ่อาหารโดยใช้อุปกรณ์คือ แก้วพลาสติกขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และขันพลาสติก พร้อมกับลูกปัดสีละ 40 ลูก ซึ่งปัญหาคือ มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนกลุ่มในห้องที่บางโรงเรียนอาจมีถึง 9 กลุ่ม และอาจต้องสอนพร้อมกันกับห้องเรียนอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยการปรับรูปแบบกิจกรรมจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


วิธีการ "ลูกปัดสะท้อนการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต"

  1. ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้คือ ขันพลาสติก(หรือกระป๋องพลาสติก) สำหรับใส่ลูกปัดทั้ง 2 สีๆละ 40 ลูกโดยลูกปัด 1 ลูกคือ 1 เซลล์ และแก้วใบเล็กจำนวน 4 ใบ แก้วใบขนาดกลาง จำนวน 2 ใบ และแก้วใบใหญ่ จำนวน 1 ใบ ทั้งนี้ครูจัด 2 ชุด โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเลขคี่ และกลุ่มเลขคู่
  2. ครูอธิบายวิธีการเล่นลูกปัดสะท้อนการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งนักเรียนในกลุ่มเป็นสาหร่าย ถือขันบรรจุลูกปัด 2 สีๆ ละ 40 ลูก นักเรียนส่วนหนึ่งเป็นปลาซิว ถือแก้วจำนวน 4 ใบ (ปลาซิวแต่ละตัวกินสาหร่ายครั้งละ 3 เซลล์) นักเรียนส่วนหนึ่งเป็นลูกปลาช่อน ถือแก้วจำนวน 2 ใบ (ลูกปลาช่อนแต่ละตัวกินปลาซิวครั้งละ 2 เซลล์) และนักเรียนส่วนหนึ่งเป็นนกยาง โดยนกยางหนึ่งตัวกินลูกปลาช่อนครั้งละ 2 ตัว
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันอ่านสถานการณ์ "แม่น้ำแห่งหนึ่งมีการปนเปื้อนสารดีดีที (DDT : Dichlorodiphenyltrichloroethane) ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและเข้าไปสะสมในสาหร่าย โดยสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารของปลาซิว และปลาซิวเป็นอาหารของลูกปลาช่อน นอกจากนี้ยังมีนกยางกินลูกปลาช่อนเป็นอาหารอาศัยอยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ได้วย"
  4. จากสถานการณ์ในข้อ 3 กำหนดให้ในแต่ละกลุ่มมีปลาซิว 4 ตัว ลูกปลาช่อน 2 ตัว และนกยาง 1 ตัว โดยนักเรียนบันทึกจำนวนและสีของลูกปัดที่ได้ พร้อมทำซ้ำ 3 ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังในภาพที่ 1 และ 2




5.ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูล หาค่าเฉลี่ยสารพิษที่สะสมในสิ่งมีชีวิตต่อหนึ่งตัว เพื่อสรุปแบบจำลองการสะสมสารดีดีทีในสิ่งมีชีวิตของโซ่อาหาร

ผลที่ได้

  • นักเรียนสามารถสร้างแบบจำลองอธิบายการสะสมสารพิษในโซ่อาหารได้
  • นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
  • นักเรียนได้พัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะการตีความ และทักษะการสรุปลงความเห็น


สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สามารถให้ปรับให้เข้ากับอุปกรณ์ที่โรงเรียนเรามี และสามารถทำให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มได้มากขึ้น

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    คอร์สสอนวิทย์วิทย์ยายุทธการสะสมสารพิษวิทยาศาสตร์ScienceLearningDesigner

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    1
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insครูนกChemนะคะ
    ครูเคมี...ชอบสอนการทดลองและกระบวนการมากกว่าสอนเนื้อหา

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ