icon
giftClose
profile

บูรณาการกิจกรรม Unpluged Coding กับโรคติดต่อ

100507
ภาพประกอบไอเดีย บูรณาการกิจกรรม Unpluged Coding กับโรคติดต่อ

สำหรับประถมศึกษาตอนปลาย เป็นการบูรณาการเนื้อหา 3 รายวิชา คือ 1. วิทยาการคำนวณ (Unpluged Coding) 2. สุขศึกษา(เรียนรู้เรื่องโรคติดต่อ) 3. วิชาภาษาไทย (อ่านจับใจความ)

บูรณาการกิจกรรม Unplugged Coding กับโรคติดต่อ

(เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ...กิจกรรมกลุ่ม)


จุดประสงค์ของคาบเรียนนี้ (บูรณาการ 3 รายวิชา)

1. วิทยาศาสตร์:

1.1) นักเรียนสามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาและอธิบายการทำงานได้

1.2) นักเรียนสามารถออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย ตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไขได้

2. สุขศึกษา:

2.1) นักเรียนสามารถวิเคราะห์ลักษณะอาการของโรคติดต่อได้

2.2) นักเรียนสามารถระบุสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อได้

3. ภาษาไทย:

3.1 นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้


สาระสำคัญของแผน (Concept/Main Ideas):

การออกแบบโปรแกรม (Program) เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนการแก้ปัญหา ซึ่งจะต้องแสดงลำดับของการทำงานอย่างละเอียด ชัดเจน เป็นขั้นตอน โดยการเรียงลำดับไม่ควรสลับตำแหน่งการทำงานเพราะอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดได้


สื่อ/อุปกรณ์

สำหรับกิจกรรมที่ 1 : ภารกิจพิชิตโรคติดต่อ

1. บอร์ดเกมหมอจิว

2. สัญลักษณ์ลูกศรแสดงทิศทาง (ใช้วางบนบอร์ดเกม)

3. บัตรหมอจิวถามอาการ (ใช้คู่กับใบความรู้ เพื่อมาวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทิศทางเดิน)

4. ใบความรู้ / แหล่งความรู้

สำหรับกิจกรรมที่ 2 : ไปทางไหนดีนะ

1. ใบงาน

2. บัตรคำสั่งจำลองการเขียนโปรแกรมบล็อค

..............................................................................

ลำดับการสอน/วิธีการใช้สื่อ

...............................................................................

กิจกรรมที่ 1

1. นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและคำสั่งการทำกิจกรรม

2. ให้นักเรียนวางสัญลักษณ์แสดงทิศทางการเดินของหมอให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา

(ให้นักเรียนใช้บัตรหมอจิวถามอาการและใบความรู้ประกอบการตัดสินใจ)

กิจกรรมที่ 2

1. ติดบัตรคำสั่งจำลองการเขียนโปรแกรมบล็อคลงในใบงาน ตามทิศทางการเดินที่ได้ออกแบบในกิจกรรมที่ 1

.................................................................................................................................................

ตัวอย่าง ขั้นการสอน 60 นาที ใช้รูปแบบการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) มี 4 ขั้นตอน

(รูปแบบการสอนสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม)

กิจกรรมที่ 1 : ภารกิจพิชิตโรคติดต่อ (35 นาที)

ขั้นที่ 1 : นำเสนอสถานการณ์ปัญหา

1. ครูอธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์และกติกาของการใช้บอร์ดเกมให้นักเรียนเข้าใจ

2. ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหา :

"วันที่อากาศสดใส หลายคนต่างเร่งรีบออกเดินทางไปทำงาน แต่วันนี้หมอจิวนอนตื่นสายเพราะลืมไปว่ามีนัดกับคนไข้ที่โรงพยาบาล และระหว่างทางหมอต้องแวะไปตรวจอาการคนไข้ในหมู่บ้านด้วย ดังนั้นเพื่อไปให้ทันเวลานัดเร็วที่สุด หมอจึงวางแผนเส้นทางที่ใกล้ที่สุดดังนี้

1. บ้านผู้ป่วยโรคไข้เหลือง

2.บ้านผู้ป่วยโรคโครเมียนคองโก   

3.บ้านผู้ป่วยโรคลาสซ่า

4. บ้านผู้ป่วยโรคโคโรน่า

5. บ้านผู้ป่วยกาฬโรค

6. บ้านผู้ป่วยมาร์บวก

เสร็จสิ้นภารกิจถึงโรงพยาบาลทันเวลานัดพอดี"                                                                                                                             

ขั้นที่ 2 : เรียนรู้ด้วยตนเอง

3. ครูให้นักเรียนวางสัญลักษณ์ลงบนบอร์ดเกม เพื่อแสดงทิศทางการเดินทางของหมอจิว จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงโรงพยาบาล

(มีใบความรู้ให้นักเรียนค้นคว้า)

กิจกรรมที่ 2 : ไปทางไหนดีนะ (10 นาที)

4. จากนั้นครูให้นักเรียนวางบัตรคำสั่งเพื่อจำลองการเขียนโปรแกรมการเดินทางของหมอ จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงโรงพยาบาลลงในใบงาน

ขั้นที่ 3 : นำเสนอแนวคิดของนักเรียน (10 นาที)

5. ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอแนวคิดของกลุ่มตัวเองหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลในการเลือกคำตอบ

ขั้นที่ 4 : สรุปแนวคิด (5นาที)

6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปแนวคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาจากการทำกิจกรรม

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 3

ชื่อไฟล์​: บอร์ดเกมหมอจิวโรคติดต่อ.pptx

ดาวน์โหลดแล้ว 645 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(64)
เก็บไว้อ่าน
(16)