ถ้าอ้างอิงจาก Learning Pyramid
คนเราจะมีความเข้าใจหรือจดจำต่อการเรียนรู้สิ่งนั้นๆ ได้มากแค่ไหนเปรียบเสมือนกับพีระมิด
จริงๆ แล้วแค่อ่านอย่างเดียวอาจจะซึมซับได้เพียงแค่ 10%
ถ้ามีเสียงหรือภาพด้วยจะเพิ่มมาเป็น 20%
ถ้าได้ถกเถียงพูดคุยกันจะเพิ่มมาเป็น 50%
ส่วนที่มากที่สุดก็คือ "การสอนคนอื่น"
เพราะการที่เราจะสอนคนอื่นได้แปลว่าเราต้องเข้าใจเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี เราจึงสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้
สมมติว่าจะต้องสอบคณิตศาสตร์อาจจะเป็นการสอบเก็บคะแนนเล็กๆ อาจจะเปลี่ยนจากการทำโจทย์
เป็นการสุ่มให้โจทย์นักเรียนคนละข้อแล้วออกมาสอนเพื่อนและคุณครูทำโจทย์ข้อนั้นแทน
พอเราสวมหมวกว่าจะต้องอธิบายคนอื่น เราจะต้องพยายามเข้าใจถึงเรื่องนั้นๆ เพื่อตอบคำถามเพื่อนๆ ได้ หรือการที่เราจะสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้แปลว่าเราต้องเข้าใจเรื่องนั้นเป็นอย่างดีแล้ว
ตรงนี้คุณครูน่าจะได้เห็น 3 มุมมองจากการให้นักเรียนมาสอน
1.มุมครู
2.มุมเด็กๆ
3.มุมข้อสงสัย
สุดท้ายแล้วการสอบนี้อาจจะสร้างบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และเด็กๆ อาจจะเข้าใจในเนื้อหาที่เขากำลังเรียนมากขึ้นมากกว่าแค่เห็นคะแนนที่เป็นตัวเลขว่าเขาผิดข้อไหน ถูกข้อไหนบ้าง แต่จะช่วยให้เขาเห็นว่าเขาผิดอย่างไรและทำถูกต้องในมุมไหน
หรือบางทีได้เห็นเพื่อนที่เจ๋งๆ ในวิชานั้นออกมาสอน บางคนอาจจะเพิ่งรู้ก็ได้ว่า เอ้ย เพื่อนทำแบบนี้เองหรอ ฉันทำแบบอ้อมโลกไปตั้งนาน ;)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!