inskru
gift-close

ไอเดียจาก Tiktok สู่การทดลองในห้องเรียน

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ไอเดียจาก Tiktok สู่การทดลองในห้องเรียน

คาบเรียนวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่อยากให้พื้นที่กับเด็กๆ ได้สนุก ได้ความรู้ และได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์กับวิชาวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบัน Tiktok มีอิทธิพลและมีบทบาทต่อชีวิตของเด็กๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น Tiktoker ได้ทั้งนั้น คุณครูเลยปิ๊งไอเดีย ชวนเด็กๆ หาไอเดียการทดลองจาก Tiktok ในคาบเรียนวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่อยากให้พื้นที่กับเด็กๆ ได้สนุก ได้ความรู้ และได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์กับวิชาวิทยาศาสตร์


.

เริ่มต้นโดยการให้ทุกคนหาไอเดียการทดลองที่สนใจจาก Tiktok จากนั้นโหวตให้เหลือเพียง 1 ไอเดีย โดยไอเดียที่เด็กๆ โหวตในการทดลองครั้งนี้คือ " น้ำพุโค้ก เมนทอส" (ชื่อการทดลองจะให้เด็กๆ ตั้งชื่อกันทีหลังเป็นของแต่ละกลุ่ม) จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่มโดยการจับฉลาก เพื่อเพิ่มความตื่นเต้นในการจัดกลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน หลังจากนั้นครูจะนัดแนะเด็กๆ ให้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองและวันที่ทดลอง


และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง ...

เรามารู้จักขึ้นตอน และวิธีการทดลองกันก่อนเลย

อุปกรณ์การทดลอง

  1. โค้กหรือเป็ปซี่ ( หรือเป็นน้ำอัดลมยี่ห้อหรือรสอื่นได้ )
  2. เมนทอส
  3. ภาชนะรอง เช่น กะละมัง เพื่อป้องกันการเปื้อน
  4. ภาชนะใส่น้ำโค้กและเมนทอส ในการทำปฏิกิริยา ในการทดลองนี้เด็กๆเลือกใช้ กระบอกไม้ไผ่ เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาได้จากท้องถิ่น



ก่อนเรียน เราเริ่มต้นด้วยการให้เด็กๆ ร่วมกันตั้งสมมติฐานการทดลองในครั้งนี้ว่า เมื่อใส่เมนทอสลงไปในน้ำอัดลมจะเกิดอะไรขึ้น ? โดยแบ่งออกเป็นการทดลอง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ใส่เมนทอสลงไปในน้ำอัดลม 2 ใส่น้ำอัดลมลงในภาชนะที่มีเมนทอสบรรจุอยู่ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมาจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะได้ ทดลองในข้อ 1 หรือ ข้อ 2 และทำการทดลองเป็นกลุ่มที่เท่าไหร่ พร้อมทำข้อตกลงกันระหว่างการทดลอง คือ ตลอดการเรียนรู้ต้องเป็นผู้สังเกตและผู้ฟังที่ดี


เมื่อกลุ่มที่ถูกจับฉลากได้ลำดับที่ 1 ครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง 3 นาที

ขั้นตอนการทดลอง

  1. ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์และสมาชิกในกลุ่มในการทำการทดลอง
  2. นำเมนทอสหย่อนใส่ ขวดน้ำอัดลมที่จัดเตรียมไว้
  3. สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
  4. บันทึกผล ( แต่ละกลุ่มต้องสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ของกลุ่มอื่นด้วย
  5. เด็กๆ และครูร่วมอภิปรายผลการทดลองร่วมกัน
  6. สรุปการเรียนรู้
  7. ประเมินกลุ่มและตนเอง อันนี้จะออกแนวการสะท้อนว่าเด็กๆ ทำอะไรได้ดีหรืออะไรควรปรับปรุง



จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ นักเรียนได้ออกแบบการเรียนรู้โดยตนเองจากความสนใจใน Tiktok และได้ลงมือทำจริง โดยมีครูคอยสนับสนุนสิ่งที่นักเรียนสนใจ ในมุมของครูที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้คือรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะของเด็ก ๆ ซึ่งตอบโจทย์ห้องเรียนที่ครูตั้งใจและออกแบบตั้งแต่ต้นว่าเป็นคาบเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยากให้พื้นที่กับเด็กๆ ได้สนุก ได้ความรู้ และได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์กับวิชาวิทยาศาสตร์







DOEวิทยาศาสตร์ผู้เรียนรู้พลเมืองที่เข้มแข็งการทดลองวิทยาศาสตร์กายภาพ

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
insKru Supporter
ทุกการสอนเป็นไปได้
เครดิตไอเดีย
ซอกิมเล้ง
คนธรรมดาที่อยากเห็นการศึกษาและอนาคตของเด็กไทยดีขึ้น

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ