icon
giftClose
profile

ไตรสิกขา มันอยู่ในชีวิตประจำวันของเธอนั่นแหละ

199482
ภาพประกอบไอเดีย ไตรสิกขา มันอยู่ในชีวิตประจำวันของเธอนั่นแหละ

กิจกรรมเรื่องไตรสิกขา กิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้นักเรียนเข้าใจคอนเซ็ปต์ และประยุกต์เข้าสู่ชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย


ในปัจจุบันที่เด็ก ๆ ต่างเริ่มตั้งคำถามกับการเรียนวิชาพุทธศานาว่ามันสอดคล้องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร


พระอาจารย์ชาย พระอาจารย์ที่ทำให้เรื่องไตรสิกขา เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของนักเรียนได้อย่างเข้าใจง่าย


พระอาจารย์ได้จัดกิจกรรมง่าย ๆ โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นสองทีม คือทีม A และทีม B

ภารกิจคือถือแก้วน้ำที่มีน้ำเต็มแก้วเดินสลับกันไปมา ทีละคน


ตัวแทนทีม A ถือไปหาทีม B ตัวแทนทีม B ถือกลับไปหาทีม A จนครบทุกคน


โดยเดินอย่างไรไม่ให้น้ำหก


จบกิจกรรม มีทั้งคนทำน้ำหกและทำน้ำไม่หก 


“ใครที่น้ำไม่หก มีเทคนิคอะไรบ้าง” พระอาจารย์ถามนักเรียน


คำตอบของนักเรียนคือ เพราะมีสติ มีสมาธิ 

เข้าล็อกเราเลย เพราะเราจะสอนเรื่องสมาธิ


“แล้วคนที่ทำน้ำหกล่ะ เป็นเพราะอะไร”

คำตอบก็มีทั้ง จิตไม่นิ่งบ้าง ไม่มีสมาธิบ้าง ประหม่าบ้าง 

ก็เข้าล็อกพระอาจารย์เช่นเคย



พระอาจารย์ได้สรุปกิจกรรมว่า กิจกรรมที่เราถือน้ำเกี่ยวข้องกับเรื่องไตรสิกขาอย่างไรบ้าง

ศีล คือการควบคุมร่างกายของเราในขณะเดิน

สมาธิ ขณะเดิน เราต้องมีสมาธิจดจ่ออยู่กับมือที่ถือแก้ว อยู่กับการเดินอย่างระมัดระวัง

ปัญญา คือการที่เราคิดว่าจะทำยังไงไม่ให้น้ำหก ต้องถือด้วยท่าไหน เดินยังไง


“แล้วนักเรียนคิดว่ามีกิจกรรมในชีวิตประจำวันอะไรอีกบ้างที่เราต้องใช้ไตรสิกขา”


“กินข้าวครับ”

“นั่งรถมาโรงเรียน”


ใช่แล้ว ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันต้องใช้ไตรสิกขาทั้งนั้นเลย


โดยทั้งหมดนี้เป็นคอนเซ็ปต์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ใช่เรื่องเข้าใจยาก แค่เราหยิบมุมนำเสนอให้มันเข้าไปอยู่ในชีวิตประขำวันของนักเรียน แค่นี้ก็เป็นเรื่องที่จับต้องได้ และเข้าใจง่ายแล้ว


สำหรับข้อสรุปของกิจกรรมนี้คือ สิ่งสำคัญไม่ใช่เด็กเดินแล้วน้ำไม่หก แต่สิ่งสำคัญคือ “เด็กได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้มากกว่า”


ช่วงชั้นที่เหมาะสำหรับกิจกรรม เหมาะกับทุกช่วงชั้น ถ้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายเราสามารถสรุปเข้าสู่เรื่อง “ไตรสิกขา” ได้เลย แต่ถ้าเป็นชั้นประถมเราอาจสอนให้เขารู้จักสมาธิในการทำงานก็น่าจะเพียงพอ เพราะเด็กในวัยประถมอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องศีลกับปัญญามากนัก ผู้สอนอาจสอนให้รู้จักแค่การมีสมาธิในการทำงานก็เพียงพอแล้ว

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(47)
เก็บไว้อ่าน
(29)