icon
giftClose
profile

ค้นหาตัวฉันและยอมรับในตัวเธอ

66023
ภาพประกอบไอเดีย ค้นหาตัวฉันและยอมรับในตัวเธอ

คาบแนะแนวที่คุณครูจะพานักเรียนไปรู้จักกับตนเอง ผ่านการยอมรับในอัตลักษณ์ของตนเอง และตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

“ทุกสิ่งที่มีในตัวฉัน ในตัวเธอมีเหมือนกันหรือเปล่า?”

ระหว่างความรู้สึกกับความเชื่ออะไรเกิดขึ้นก่อนกัน?”

“สิ่งใดที่ทำให้ชีวิตเรามีความสุข ความรัก? คำชื่นชม?”

ตัวอย่างคาบที่ 1 

ชื่อกิจกรรม “ รู้เขา รู้เรา ยอมรับ แก้ไข”

คาบเรียนนี้จะพานักเรียนไปทำความรู้จักกับตนเอง เพื่อเข้าใจยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวเอง จนนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนา ไม่ใช่แค่เพียงแต่ตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงการมีทักษะมนุษย์สัมพันธ์ที่ต้องเข้าใจและยอมรับผู้อื่นถึงความแตกต่าง  โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวกลางในการเรียนรู้

PART 1

ครูชวนนักเรียนเล่มเกมด้วยการ “ค้นหาคุณสมบัติของเพื่อน ที่เหมือนหรือแตกต่างกับตัวเรา”โดยนำชื่อและคำตอบของเพื่อนมาใส่ในตาราง 9 ช่อง อย่างละ 5 คำตอบ ซึ่งมีคำถามดังนี้ 

PART 2

เมื่อถึงคำถามในช่องที่ 9 ให้นั่งกับเพื่อนที่จับคู่ จากนั้นเขียนคำตอบของตนเองลงในสมุด ว่า 

1. เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมแล้วรู้สึกอย่างไร? เช่น สนุก เหนื่อย ตื่นเต้น

2. ทักษะที่ใช้ในเกม? เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการสังเกต ทักษะการจด 

3. ถ้าเปรียบเทียบเกมนี้คือโลกมนุษย์และชีวิตของมนุษย์ เกมนี้กำลังสอนอะไรบ้าง และเมื่อเขียนเรียบร้อยแล้ว ให้แลกเปลี่ยนคำตอบทั้ง 3 ข้อกับเพื่อนที่จับคู่? เช่น การลองเรียนรู้ผู้อื่นในมุมใหม่ๆ การไม่ด่วนตัดสินใจ การเปิดใจ

 PART 3

ให้ทำการจับกลุ่มกับเพื่อนคู่ข้างๆ แล้วแลกเปลี่ยนคำตอบข้อที่ 3 จากนั้นเลือกคำตอบที่อยากนำมานำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆในห้องเรียนได้ฟัง

ตัวอย่างคาบที่ 2 

ชื่อกิจกรรม : ร้านของวิเศษวัดใจ

PART 1

เริ่มต้นด้วยการให้ครูทำการสวมบทบาทเป็นเจ้าของร้านขายของวิเศษ ที่นักเรียนต้องเอาหัวใจจำนวน 50 ดวง มาเลือกซื้อของ สินค้าที่มีขายในร้านของวิเศษไม่ว่าจะเป็น ชีวิตที่เป็นอมตะ บ้าน รถ เกรด4 ความสุข เพื่อนแท้ ประกันสุขภาพให้ครอบครัว เป็นต้น

PART 2

หลังจากร้านปิดให้นักเรียนนับจำนวนหัวใจที่เหลืออยู่ เพื่อหาคนที่มีจำนวนหัวใจเหลือมากที่สุดและเหลือน้อยที่สุด และถามการตัดสินใจในการเลือกซื้อของวิเศษของนักเรียน ว่าเพราะอะไรเราถึงแตกต่างจากเพื่อน

PART 3

ให้นักเรียนทำการจำแนกประเภทของวิเศษที่นักเรียนซื้อมา เช่น ซื้อให้ตนเอง ซื้อให้ผู้อื่น ซื้อปัจจัย 4 ซื้อความสุข ซึ่งครูจะให้อิสรภาพนักเรียนในการตอบ

จากนั้นทำการอธิบายเหตุผลของการเลือกซื้อของวิเศษแต่ละชนิด  พร้อมอธิบายเหตุผลว่าของวิเศษที่เลือกมานั้นแสดงถึงลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของตนเองอย่างไร โดยที่ครูต้องเคารพการตัดสินใจของนักเรียน และพยายามหามุมที่ดีในเหตุผลนั้น เช่น นักเรียนตอบว่าซื้อของที่ให้ความสุขตนเอง ครูให้การตอบกลับว่า นักเรียนเป็นคนที่รู้จักความสุขของตนเอง 

ซึ่งในกิจกรรมนี้ครูจะต้องมีความเป็นกลาง มีความยุติธรรม และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเด็กนักเรียน เพื่อให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทำให้นักเรียนมีความกล้าที่จะพูดในสิ่งที่ตนเองเชื่อ 

จากนั้นทำการถามนักเรียนว่าในการเลือกของวิเศษนั้น เลือกยากหรือไม่ เลือกยากเพราะอะไร หรือ เลือกไม่ยากเพราะอะไร แล้วนักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อคำถาม สุดท้ายในขณะที่เราฟังเพื่อนที่มีการเลือกต่างจากเรา เราใช้คุณสมบัติใดบ้างในการฟังเพื่อน

PART 4

หลังจากนั้นครูบอกกับนักเรียนว่าของวิเศษแต่ละชนิดที่ซื้อมานั้น ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรตัวนักเรียนได้อีกแล้ว…

และนักเรียนยังต้องเผชิญกับคำถาม 2 ข้อสุดท้ายที่เป็นคำถามวัดใจ! ให้เลือกระหว่าง ข้อที่1 และข้อที่ 2 พร้อมเหตุผลประกอบ

1. ช่วยชีวิตพ่อแม่ แต่นักเรียนเรียนและลูกหลานต้องเสียชีวิตทันที

2. ช่วยชีวิตนักเรียนและลูกหลาน แต่พ่อแม่ต้องเสียชีวิตทันที

ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่ว่า

ระหว่างความรู้สึกกับความเชื่ออะไรเกิดขึ้นก่อน”

PART 5

สรุปประเด็นในการอภิปรายรวมถึงการชี้ให้เห็นว่าความเชื่อนั้นเกิดขึ้นก่อนและได้รับมากจากสื่อ ค่านิยม สิ่งรอบตัวที่หลากหลาย หล่อหลอมให้คนเรามีความคิด และการแสดงออกที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทุกคนต้องเคารพความแตกต่างทางความคิดของกันและกัน


ตัวอย่างคาบที่ 3 

หลังจากทำกิจกรรมใน 2 คาบที่แล้ว คาบนี้ครูจะมาชวนสรุปกิจกรรม และมาเรียนรู้หลักคิดเรื่องซาเทียร์ 

โดยใช้สื่อหนังสั้นมาเป็นเรื่องราวให้เด็กๆ ได้วิเคราะห์ และในคาบเรียนนี้ได้เลือกเป็นหนังสั้นเรื่อง ‘น้องอ้อย’ มาชวนเด็กๆพูดคุย อภิปรายร่วมกันผ่านหลักคิดซาเทียร์ ภูเขาน้ำแข็ง ในแต่ละประเด็นที่เกิดขึ้นในหนังสั้น 

เพื่อให้นักเรียนได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น แล้วชวนมาไตร่ตรองทบทวนตนเอง



ตัวอย่างคาบที่4

ในคาบเรียนนี้ชวนนักเรียนมารู้จักกับ อาหารใจ หรือ ความต้องการทางด้านจิตใจ แล้วมาทดลองทำกิจกรรม 

เริ่มต้นด้วยการให้นักเรียนทบทวนความสุขผ่านอาหารใจ ว่าความรู้สึกเต็ม 100 นักเรียนมีความรู้สึกกับอาหารใจในแต่ละข้อเท่าใด และได้อาหารใจนั้นจากใครบ้างในชีวิตเราหรือจากตัวเราเอง โดยให้นักเรียนประเมินตนเองจาก 3 เดือนที่ผ่านมา จากนั้น  ให้หยิบอาหารใจที่นักเรียนมองว่าสิ่งนั้นจะช่วยให้นักเรียนมีความสุขมากขึ้น และอาหารใจด้านใดที่ขาดหายไปจากใจของเรา พร้อมเหตุผลประกอบการเลือกตัดสินใจ

จากนั้นให้นักเรียนทุกคนแลกเปลี่ยนความคิด และให้นักเรียนรับฟังเหตุและผลของเพื่อนๆโดยไม่ตัดสินและตีตรา พยายามทำความเข้าใจผ่านโมเดลภูเขาน้ำแข็งของซาเทียร์ ให้เกิดการยอมรับ ตระหนักในคุณค่าในตนเองและของเพื่อน

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(7)