icon
giftClose
profile

การเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ โดย(5Es)

22724
ภาพประกอบไอเดีย การเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ โดย(5Es)

Best Practice เรื่อง การเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ โดยวิธีสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5Es) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนิคมพัฒนวิทย์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักกระบวนการคิด

การเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชา ว 31142 วิทยาศาสตร์กายภาพ (วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน) ได้มีการจัดการเรียนการสอนในเรื่องการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลความเร็วกับเวลาของการเคลื่อนที่ของวัตถุ เพื่ออธิบายความเร่งของวัตถุผลของความเร่งที่มีต่อการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แนวตรง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม และการเคลื่อนที่แบบสั่น นักเรียนสามารถ สังเกต วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร่งของวัตถุกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุและมวลของวัตถุการหาแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่อยู่ในระนาบเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุโดยการเขียนแผนภาพการรวมแบบเวกเตอร์แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ แรงโน้มถ่วงของการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ รอบโลก ได้

         จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในการเรียนเรื่องการเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แนวตรง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม และการเคลื่อนที่แบบสั่น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์) ในระดับที่สูงขึ้น ขาดทักษะ สังเกต วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร่งของวัตถุกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุและมวลของวัตถุการหาแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่อยู่ในระนาบเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุโดยการเขียนแผนภาพการรวมแบบเวกเตอร์แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในบทนิยาม หรือหลักการในการคำนวณ และการนำมาประยุกต์ใช้ ทำให้นักเรียน ไม่เข้าใจ และมีความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ชอบ ไม่สนใจการเรียนวิชานี้

ดังนั้นการเรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แนวตรง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม และการเคลื่อนที่แบบสั่น จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนจึงใช้ วิธีการสอน โดยวิธีสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5Es) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า (สาขาชีววิทยา สสวท., 2550) โดยให้นักเรียนค้นคว้า และให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง และมีครูคอยตรวจทานสอบความถูต้อง และแก้ไข แนะนำ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนิคมพัฒนวิทย์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ในการเรียนการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ให้พัฒนาได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ครูผู้สอนสามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างดีเยี่ยม นักเรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ ค้นคว้าหาสิ่งที่นักเรียนอยากรู้อย่างอิสระ มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญผสมผสานความรู้แขนงต่าง ๆ เพื่อทำออกมาผ่านวิดิโอ โดยใช้เทคโนโลยีให้เกิดคุณค่า และประหยัด ซึ่งครูผู้สอนได้นำการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งต้องอาศัยทักษะต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้อีกด้วย ส่วนผลงานนักเรียนก็จะเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้ชมเข้าถึงได้ง่าย นักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานตนเอง ผู้ชมสามารถ ติชม ผลงานของนักเรียน เพื่อเป็นข้อปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

4. วัตถุประสงค์

4.1 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในบทเรียน เรื่องการเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ ของนักเรียน

4.2 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพของนักเรียน

4.3 เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน

5. กิจกรรมขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน

           ครูศึกษาแนวคิดการสอนในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งต้องอาศัยทักษะต่างๆ เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ จากหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปรับปรุง 2560 และจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหารูปแบบวิธีการปรับปรุงพัฒนา ศึกษากระบวนการสอนและสร้างแบบฝึกที่ดีเริ่มจากการให้นักเรียน ได้ดูตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง เช่น บทเรียนออนไลน์ คลิปวิดิโอ สื่อต่างๆ ที่ทาง สสวท.จัดให้ ซึ่งนักเรียนจะเกิดความคิดสร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์ เกิดจินตนาการตาม ก่อให้เกิดหลักการเรียนรู้การทำตามเลียนแบบตัวอย่าง นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจในศึกษา ค้นคว้า บทเรียนที่ที่นักเรียนสนใจ เพราะมีตัวอย่างในการทำกิจกรรม โดยเริ่มใช้บทนิยามซึ่งค้นหาง่ายๆก่อน แต่หลักการสำคัญคือครูตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และ กล่าวยกย่องชมเชยให้ภาคภูมิใจ และมีข้อแนะนำให้นักเรียนทันที นักเรียนจะเกิดการฝึกฝน และอยากทำต่อไป ในหัวข้ออื่นๆ ความเอาใจใส่ ความชื่นชมของครูมีผลอย่างมาก ซึ่งมีวิธีแนวทางการปฏิบัติที่พอจะสรุปได้คือ

         1.นักเรียนจับคู่ 2 คน ต่อหนึ่งกลุ่ม เลือกหัวข้อในบทเรียน การเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ ตามความสนใจของนักเรียน

2.สืบค้นเนื้อหา ที่นักเรียนสนใจ แล้วถอดบทเรียนนำมาสรุป ในสมุดเรียน

3.ใช้การตั้งขอบข่ายในประเด็นต่างๆ ให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมองเห็นภาพ และใช้จินตนาการในการคิดบทบาทการนำเสนอที่เกี่ยวข้องในแต่ละหัวข้อ

4.เริ่มลงมือบันทึกวิดิโอกับสมาชิกในกลุ่ม

5.ครูตรวจทานความถูกต้องของผลงานนักเรียน

6.นักเรียนแก้ไขผลงานที่ได้รับการตรวจทานจากครูผู้สอนให้ถูกต้อง

7.นักเรียนจัดทำผลงานเป็นไฟล์วิดิโอ เพื่อลงเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย


6. ความสำเร็จที่บังเกิดกับผู้เรียน

จากการใช้การลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ โดยวิธีสืบเสาะแสวงหาความรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีปัญหา โดยการใช้การลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ นักเรียนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ผลการดำเนินงานพบว่า นักเรียนมี ทักษะการเรียนรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ ที่ดีขึ้น และยังมีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียน ในระดับที่ดีขึ้น

7. ความสำเร็จที่บังเกิดกับโรงเรียน

จากผลการดำเนินงาน“การใช้การลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ในแบบต่างๆ โดยวิธีสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5Es) ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนิคมพัฒนวิทย์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 ที่มีปัญหาด้านทักษะการเรียนรู้โดยการฝึกให้ นักเรียนใช้การลงมือปฏิบัติ ในการค้นคว้าหาข้อมูลพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการค้นคว้าอยู่ใน ระดับดีและจากการสังเกตพฤติกรรมด้านเจตคติของนักเรียน เห็นว่านักเรียนชอบการหาข้อมูลในเรื่องที่นักเรียนสนใจ กล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้นและยังมีความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงทักษะการคิดวิเคราะห์การใช้ในการคำนวณ ความคิดสร้างสรรค์จนสามารถจัดทำสื่อวิดิโอการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ มาได้ดีตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

8. ความสำเร็จที่บังเกิดกับชุมชน

นักเรียนใช้การลงมือปฏิบัติในสร้างสรรค์ผลงาน มีการเผยแพร่ลงในโซเชียล ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์โรงเรียน ได้มากพอสมควร เพราะพบว่า ชุมชนผู้ปกครอง ก็จะได้รู้เรื่องราวความเป็นไปในการดำเนินงานของโรงเรียน และสามารถให้ความร่วมมือต่อโรงเรียนในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์

9. ความรู้สึก /ความภาคภูมิใจ

นักเรียนสามารถเข้าใจและสามารถศึกษาค้นคว้าในบทเรียนที่นักเรียนสนใจ นอกจากนั้นจากการที่ข้าพเจ้าได้นำหลักการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งต้องอาศัยทักษะต่างๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้ อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและการทำงาน จนทำให้นักเรียนปฏิบัติตนได้สอดคล้องและสามารถ เผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนได้ชื่นชม

10. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

         นักเรียนบางคนมีทักษะค่อนข้างน้อยทำให้ไม่กล้าแสดงออก จะต้องอาศัยเวลาและการฝึกบ่อยๆให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ แต่ถ้ามีความเอาใจใส่จากครูเป็นพิเศษ นักเรียนจะค่อยๆปรับปรุงผลงาน อาจจะให้ดูตัวอย่างของเพื่อนๆร่วมด้วย ให้เพื่อนๆช่วยสอน และต้องไม่คาดหวังกับผลงานของนักเรียนกลุ่มนี้มากเกินไปแค่นักเรียนสามารถค้นคว้า ถอดสรุปบทเรียนถ่ายทอดผ่านวิดิโอได้ เนื้อหาถูกต้อง ก็เป็นทิศทางเรื่องที่ดีของการต่อยอดผลงานต่อๆไป

11. แนวทางการเรียนรู้และพัฒนาต่อไป

         1. ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ท่านอื่นๆได้นำการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดการเรียน การสอนของตนเอง

          2. ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นอื่นๆ ได้มีการนำการจัดการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาของตนเอง

 ................................

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 4

ชื่อไฟล์​: 3.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 49 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(2)