icon
giftClose
profile

กระแสการเมืองไทยผ่านการคิดเชิงวิพากษ์

26924
ภาพประกอบไอเดีย กระแสการเมืองไทยผ่านการคิดเชิงวิพากษ์

จับประเด็นทางการเมืองที่เป็นกระแส แล้วนำมาเป็นกรณีศึกษาต่างๆ ผ่าน Critical Thinking ซึ่งในเชิงวิชาการ คือ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ ...จัดการเรียนรู้ที่ไม่มีผิดถูก ได้พูด ได้ฟัง ได้คิด ได้กลับไปสังเกต เกิดคำถามและนำไปสู่การถกเถียง ได้ย้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีทั้งผู้ร้ายและคนดี ...

จากการอ่านบันทึก 80 ปี การเมืองไทยจาก 2475 ถึง 2555 ของ ธนาพล อิ๋วสกุล ....การเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 80 ปี ไม่เพียงทำให้เรารู้ว่า “ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ? “ แต่ยังทำให้เราได้ตั้งคำถามกับความคิดความเชื่อเดิม ๆ  ดังที่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์คนสำคัญได้กล่าวไว้ว่า

“ถ้าไม่เรียน ไม่รู้ประวัติศาสตร์ ก็ตาบอดไปแล้วข้างหนึ่ง แต่ถ้าเรียน ถ้ารู้ แล้วเชื่อประวัติศาสตร์สุดๆ ก็ตาบอดทั้งสองข้าง” 

บวกกับ ++++

คำกล่าวที่ว่า ‘ประวัติศาสตร์แอบแฝงในยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน’ โดย ภี อาภรณ์เอี่ยม 


ไอเดียจึงเกิดขึ้น...

จึงได้เอาแนวคิดนั้นมาปรับ / ประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่ไม่มีผิดถูก ได้พูด ได้ฟัง ได้คิด ได้กลับไปสังเกต เกิดคำถามและนำไปสู่การถกเถียง ได้ย้อนประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีทั้งผู้ร้ายและคนดี และกิจกรรมนี้ต่อยอดมาจาก “ปรากฏการณ์ทางการเมือง” - Time & Continuity


(ชั่วโมงที่ 1) เริ่มต้นจาก...

1.เกริ่นนำเข้าสู่บทเรียน ในแง่ประเด็นต่างๆ -การเมืองไทยในปัจจุบันแลอดีตที่ผ่านมา 

-ความแตกต่างทางความคิดทางการเมือง

-เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การชุมนุม การรวมตัว...


2.จับกลุ่มและส่งตัวแทนมาจับประเด็นที่เป็นกรณีศึกษาต่างๆ ผ่าน Critical Thinking ซึ่งในเชิงวิชาการ คือ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ นั่นเอง



3.ยิงประเด็นร้อนแรง...ดังสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการพูดถึงสถาบันของพระมหากษัตริย์จนติด เทรนด์ทวิตเตอร์ “#กษัตริย์มีไว้ทำไม” ที่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เป็นกระแส (ขอให้เป็นกรณีศึกษา...ไม่มีแอบแฝงหรือชี้นำแต่อย่างใด)



โดยเด็กๆ ต่างทบทวน พูดคุย จนออกนอกกรอบ ไปบ้าง เราจึงต้องดึงกลับเข้าบทเรียน โดยฝึกให้เขาได้วิพากษ์ผ่านกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ด้วยทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (1S2C) ในหัวข้อ สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นเสาหลักของประเทศ 



หลังจากนั้นให้นักเรียนอธิบายถึงประเด็นการสร้างความมั่นคงและความเจริญ ให้กับชาติไทยและยกตัวอย่างพระมหากษัตริย์ไทยที่มีส่วนสร้างสรรค์ชาติไทย มา 1 พระองค์ 


(ชั่วโมงที่ 2) 

เปิดประเด็น ชวนพูดคุยกับประเด็นในคำกล่าวที่ว่า “ในสังคมที่มีความหลากหลายนั้น การที่รัฐให้คุณค่ากับค่านิยมบางอย่าง ทำให้กลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ ไม่สอดคล้องกับอุดมณ์การณ์ของรัฐจำเป็นต้องละทิ้งตัวตนเดิม ยอมรับตัวตนใหม่ที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อให้กลายเป็นส่วน หนึ่งของสังคม” (ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล. ในการประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากร ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ที่ก้าวข้ามความเกลียดชังกับความเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียนและพลเมืองโลก”) 



จากคำกล่าว ข้างต้น นักเรียนจะรักษาความสัมพันธ์อย่างไรบนความแตกต่างทางความคิดเห็นทางการเมืองไทยในปัจจุบัน



(ชั่วโมงที่ 3) 

1.ชวนพูดคุยเปิดภาพการชุมนุมในไทยปัจจุบัน

2.ต่อด้วยประเด็นศึกษาการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้ประชาชน นักเรียนและนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวและเริ่มสนใจศึกษาประวัติศาสตร์มากขึ้นเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า ระบบ การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง คือกล่าวถึงประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ใกล้ตัวผู้เรียน มากยิ่งขึ้น ดังคำที่ว่า “ประวัติศาสตร์แอบแฝงในยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน” ของ ภี อาภรณ์เอี่ยม ในกรณีเหตุการณ์ทาง การเมืองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬเป็นต้น 



3.เปิดคำถามให้ถกเถียงกัน โดยให้นักเรียนเชื่อมโยงเนื้อหาประวัติศาสตร์ในอดีตให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร และเหตุการณ์ในอดีตส่งผลมาถึงปัจจุบันอย่างไร 




📍ข้อค้นพบ

กิจกรรมนี้อาจดูเหมือนไม่ได้อะไร เปิดให้ทุกคนได้คิดวิเคราะห์ พูดคุยแลกเปลี่ยน ให้เด็กๆ เป็นคนขับเคลื่อนความรู้ ลงมือสร้าง ลงความคิด แชร์กันซึ่งครูต้องเป็นผู้อยู่ตรงกลาง ห้ามชี้นำ โดยทักษะนี้สามารถฝึกและพัฒนาได้ ด้วย 2 ขั้นตอน

ฝึกให้ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และให้สงสัยก่อนจะเชื่อคำอื่นใด เหมือนกับคำที่คุ้นเคยจนติดหู กับคำ “เขาว่า...”

พยายามฝึกตั้งคำถามต่อด้วยข้อสงสัยเหล่านั้นให้ตรงประเด็น มีเหตุ มีผล


#เรียนประวัติศาสตร์byครูชุ

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(9)
เก็บไว้อ่าน
(7)