ความเป็นมา
การเรียนเรื่องหลักธรรมสำหรับเด็กๆแล้ว คงเป็นอะไรที่ค่อนข้างน่าเบื่อ เพราะต้องจดจำเนื้อหาที่มากมาย รวมถึงความหมายที่ต้องทำความเข้าใจ จนอาจทำให้นักเรียนบางคนไม่สนใจที่จะเรียนรู้ หรือปิดกั้นการเรียนรู้ไปเลย อาจเกิดทัศนคติทางลบกับวิชาสังคมศึกษา รู้สึกว่าเนื้อหาศาสนาเป็นสิ่งน่าเบื่อ
เพลงเป็นสื่อที่ช่วยให้มนุษย์เกิดความสุนทรีย์ ไม่ว่าจะเพศใดวัยใด โดยเฉพาะเด็กๆ สื่อเพลงช่วยดึงดูดความสนใจได้อย่างมาก สังเกตได้ว่า เด็กๆจะร้องเพลง และจำเนื้อเพลงได้ก่อนการอ่านหนังสือออกเสียอีก ซึ่งจริงๆแล้วก็มีครูหรือนักวิชาการหลายๆท่านก็ได้นำเนื้อหาวิชาต่างๆ หรือเนื้อหาหลักธรรมต่างไป มาแต่งเป็นเพลงเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนอยู่บ้างแล้ว แต่การฟังแล้วจำเพียงอย่างเดียวนั้น นักเรียนก็จะได้แต่ความรู้ความจำ แต่จะไม่ได้ใช้ทักษะการคิดขั้นสูงในการเรียนรู้
ดังนั้น จะดีกว่าไหมหากนักเรียนได้แต่งเพลงของเขาเอง และร้องเพลงที่เขาแต่งเอง ซึ่งกระบวนการแต่งเพลงนั้น นักเรียนต้องใช้ทักษะการคิด ทักษะด้านภาษาการสื่อสาร ทักษะด้านดนตรี และอื่นๆ โดยต้องบูรณาการองค์ความรู้การแต่งกลอน ที่เคยเรียนมาในรายวิชาภาษาไทย นักเรียนต้องสรุปองค์ความรู้เนื้อหาในหลักธรรมนั้นๆ ให้เข้าใจเสียก่อน ต้องใช้ทักษะการคิดรวบยอด และการนำเสนอผลงานเพลงนักเรียนต้องหาทำนองเพลงเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการแต่งเนื้อเพลง โดยนักเรียนต้องใช้ทักษะด้านดนตรีและประสบการณ์ด้านดนตรีที่มึอยู่ นี่จึงเป็นเทคนิคการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมที่น่าตื่นเต้น และท้าทายความสนใจของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอน
1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อทำงานร่วมกัน โดยอาจจะแบ่งแบบคละความสามารถ เพื่อใก้เกิดการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ครูกำหนดหัวข้อหลักธรรมให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาเนื้อหา และร่วมกันสรุปองค์ความรู้
3.นักเรียนร่วมกันเลือกทำนองเพลงที่จะใช้ในการแต่งเพลงหลักธรรม
4.นักเรียนนำเนืัอหาหลักธรรม มาเรียบเรียงให้คล้องจองโดยใช้ทักษะการแต่งกลอนในรายวิชาภาษาไทย
5.นักเรียนนำเสนอเนื้อร้องให้ครูฟัง 1รอบเพื่อรับฟังคำแนะนำและนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข
6.เมื่อได้เนื้อร้องและทำนองที่ผ่านการปรับแก้จนสมบูรณ์แล้ว ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกร้องให้คล่องเพื่อเตรียมร้องนำเสนอ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนกลุ่มอื่น
7.ครูจัดให้มีการนำเสนอเพลงหลักธรรมขิงทุกกลุ่ม และให้นักเรียนทุกคนบันทึกเพลงของเพื่อนกลุ่มอื่น พร้อมกับร่วมกันร้องเพลงทุกเพลงจนครบทุกกลุ่ม
8.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรม และสรุปเนื้อหาหลักธรรมให้เป็นความคิดรวบยอด
ข้อจำกัด
1.ครูอาจต้องศึกษาองค์ความรู้เรื่องการแต่งกลอนให้ดีเสียก่อนเพื่อจะได้แนะนำนักเรียนได้ถูก หรือขอความร่วมมือครูภาษาไทยช่วยแนะนำ อาจใช้เปผ้นผลงานร่วมกันแล้วประเมินให้แค่แนนคนละวิชา เป็นการบูรณาการร่วมกัน
2.การเรียนรู้ที่ต้องใช้ทักษะ จำเป็นต้องอาศัยเวลา ให้นักเรียนได้ลองคิด ถูกบ้างผิดบ้าง เป็นเครื่องธรรมดา ดังนั้นการเรียนแบยนี้ใช้เวลามากกว่าปกติแน่นอน
3.ครูอาจต้องมีความรู้หรือทักษะด้านดนตรีบ้าง อย่างน้อยก็ร้องเพลงเป็น หรือขอความร่วมมือครูดนตรีลักษณะเดียวกับวิชาภาษาไทย คือการบูรณาการ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย