ที่มา ครูนาสังเกตเห็นห้องเรียนที่เต็มไปด้วยนักเรียนราว40คนจะต้องมีพัฒนาการทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้มากกว่านี้ ครูนาก็เลยชวนนักเรียนในห้องออกจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมเล็กๆไปยังหมู่บ้านของตนเอง แถมได้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วย
กิจกรรม "สำรวจหมู่บ้าน ด้วย telling directions"
ขั้นสอน
-ครูสอนคำศัพท์เกี่ยวกับการบอกทางคือ turn left=เลี้ยวซ้าย | turn right=เลี้ยวขา | go straight ahead=ตรงไปข้างหน้า | go past…= เดินทางผ่าน…
-ครูแจกกระดาษ A4ให้นักเรียนคนละ1แผ่น หลังจากนั้นครูก็เริ่มพูดประโยคการบอกตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ
-นักเรียนวาดแผนผังตามคำบอกของครู แล้วนักเรียนทั้งหมดนำภาพวาดของตนเองไปเปรียบเทียบกับรูปภาพของเพื่อนๆในห้อง หลังจากนั้นครูก็ได้เฉลยแผนผังที่ถูกต้องบนโปรเจคเตอร์พร้อมบอกการบอกทางที่ถูกต้องอีกครั้ง
ขั้นกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5-6คน เพื่อออกเดินทางไปสำรวจหมู่บ้านของตนเอง และวาดแผนผังหมู่บ้านพร้อมเก็บรูปภาพอย่างละเอียด
2. หลังจากที่นักเรียนทุกกลุ่มได้จำลองแผนผังของตนเอง และเตรียมรูปภาพในกระดาษ A4เสร็จแล้ว ครูได้ชวนนักเรียนลงมาลานสนามกว้างของโรงเรียนและให้นักเรียนช่วยกันวางสถานที่ต่างๆให้ถูกต้องตามแผนผังหมู่บ้านของตนเองที่ได้ไปสำรวจมา พร้อมวาดเส้นทางให้ชัดเจน (อาจจะเป็นเชือกฟาง ชอล์ก หรือปูนขาวก็ได้)
3. ครูให้ตัวแทนนักเรียนในกลุ่ม1คนปิดตา และประจำที่ตามคำสั่งของครู (ครูถามนักเรียนโดยอิงจากแผนผังที่นักเรียนได้ร่วมกันออกแบบ) เช่น ครูถามนักเรียนคนที่ปิดตาว่า How can I get to the Korang Sub-district? ตัวแทนกลุ่มที่ปิดตา พร้อมประจำที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะรัง (Korang Sub-district) โดยครูมีเวลาให้นักเรียนที่ปิดตาเดินเกมส์ ภายในเวลา 3นาที และให้เพื่อนในกลุ่มอีก 5 คนช่วยกันบอกเพื่อนที่ปิดตา โดยบอกประโยคต่างๆที่ครูเคยสอนไปก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ Telling directions พอมาถึงขั้นนี้แน่นอนว่า เพื่อนในกลุ่มจะช่วยกันบอกทางให้เพื่อนที่ปิดตา ซึ่งมันค่อนข้างวุ่นวายและสร้างความสับสนให้กับเพื่อนที่เดินเกมส์ ดังนั้นตรงนี้ ครูปล่อยให้นักเรียนคิดวิธีการจัดการทักษะการสื่อสารอย่างไรให้ทุกคนได้บอกเพื่อนที่ปิดตาเดินไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้องและให้ทันเวลาภายใน 3นาที
4. เมื่อนักเรียนคนที่1 เดินไปตามคำสั่งของเพื่อนจนสำเร็จ หลังจากนั้นต่อด้วยนักเรียนคนที่2 และ3 ไปเรื่อยๆจนครบตามสมาชิกในกลุ่ม
ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมคือ
1. ด้านวิชาการ= นักเรียนทุกคนสามารถบอกทางจากแผนผังที่ตนเองได้ลงสำรวจหมู่บ้าน โดยใช้คำศัพท์เรื่อง Telling direction ได้
2. Agency = นักเรียนได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้และผลงานนั้น
3. Grit = ครูสังเกตเห็นสีหน้ามุ่นมั่น พยายาม และตั้งใจของนักเรียนทุกคนในการทำผลงานออกมาให้สำเร็จในเวลาที่ครูกำหนด ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
4. Awareness = นักเรียนทุกกลุ่มมีเป้าหมายในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ และสามารถตระหนักรู้ แบ่งหน้าที่ ตามความถนัดของตนเองได้
5. Growth mindset = นักเรียนรู้สึกอย่างเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะมีกิจกรรมสนุกๆและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
6. Collaboration = นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมและตระหนักรู้ของการทำงานกลุ่ม นักเรียนช่วยเหลือในการทำกิจกรรมภายในกลุ่มเป็นอย่างดี
7. Critical thinking = นักเรียนได้คิด และวางแผนการสร้างแผนผังหมู่บ้านของตนเองได้อย่างเป็นระบบและถูกต้อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้
หากจะนำไปปรับใช้กับนักเรียนระดับประถมปลาย สามารถเน้นไปที่คำศัพท์และการบอกทางอย่างง่ายได้ ยังไม่ต้องใช้ประโยคที่ซับซ้อนระหว่างการทำกิจกรรม
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย