เมื่อพูดถึงคำว่า “เรียน” กับเด็กอนุบาล เด็กๆหลายคนอาจจะหันหน้าหนี
แต่… ครูหญิงมีวิธี ที่จะทำให้เรื่องเรียกับเรื่องเล่นเป็นเรื่องเดียวกันได้
บวกเลขแบบนับจุด (1-4) โดยครูหญิงจะทำการ์ด ที่แสดงเลขเละจุดในการ์ดนั้น
เลข1 มี 1 จุด
เลข 2 มี 2 จุด
เลข 3 มี 3 จุด
เลข 4 มี 4 จุด
ตัวอย่างวิธีการคิด เช่น เมื่อนำการ์ดเลข 2 (ที่มี 2 จุด) มาบวกกับการ์ดเลข 3 (ที่มี 3 จุด) นำทั้งสองการ์ดมาวางเรียงกันในแนวตั้ง แล้วให้นักเรียนนับจุด จากทั้งสองการ์ด หรืออาจจะนำก้อนหิน (หรือฝาขวดน้ำ ใบไม้ หรืออุปกรณ์ที่หาได้ในบริเวณโรงเรียน) มาวางแทนจุด แล้วให้นักเรียนนับ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เป่ายิงฉุบบวกเลข (5-9) (หรือ การบวกเลขโดยการนับนิ้วแบบใหม่)
ครูหญิงเริ่มจากการสอนสัญลักษณ์ของเลขต่างๆโดยการใช้มือของนักเรียนมาช่วย
กำมือ มีค่าเท่ากับ 5
ชูนิ้วโป้งขึ้นมา นิ้วที่เหลือหุบ มีค่าเท่ากับ 6
ชูนิ้วโป้งและนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือหุบ มีค่าเท่ากับ 7
ชูนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง นิ้วที่เหลือหุบ มีค่าเท่ากับ 8
ชูนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง นิ้วก้อยหุบ มีค่าเท่ากับ 9
แบมือ มีค่าเท่ากับ 10
วิธีการเล่น
ให้นักเรียนยืนหันหน้าเข้าหากัน เหมือนกำลังจะเป่ายิงฉุบ แต่แทนที่จะออก ค้อน กรรไกร กระดาษ นักเรียนออกมาเป็นสัญลักษณ์มือที่บอกไปข้างต้น เสร็จแล้วให้นักเรียนเอาด้านข้างของมือมาแตะกัน โดยที่ยังคงชูนิ้วไว้เหมือนเดิม ตอนที่นักเรียนนำด้านข้างของมือมาแตะกันให้นับเป็น 10 และนับจำนวนนิ้วที่เหลือต่อไปได้เลย
เช่น นักเรียนคนหนึ่ง “ชูนิ้วโป้งและนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือหุบ (7)” อีกคน “ชูนิ้วโป้งขึ้นมา นิ้วที่เหลือหุบ (6)” เมื่อนำมือด้านข้างมาแตะกันแล้ว นักเรียนก็นับนิ้วที่ชูไว้ต่อไปเลย โดยตอนนับต้องนำนิ้วที่ช฿ไว้ไปแตะบริเวณใต้คาง เหลือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วโป้ง เมื่อนับต่อไปจะได้ 11, 12, 13 ดังนั้น ผลบวกของการเป่ายิงฉุบข้างต้น มีค่าเท่ากับ 13
ผลลัพธ์
การบวกเลขแบบนี้ช่วยตัดปัญหานิ้วไม่พอนับในกรณีที่ผลบวกเกินสิบ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อนับเล็กของนักเรียนวัยจิ๋ว อีกทั้งยังทำให้นักเรียนรู้สึกเหมือนกับกำลังเล่นมากกว่าการเรียนบวกเลข
เมื่อครูให้เด็กได้ฝึกฝนบ่อยๆ ต่อไปนักเรียนจะรู้ได้เองโดยที่ไม่ต้องนับนิ้วอีกต่อไป
ขอขอบคุณไอเดียและรูปภาพประกอบจากครูหญิง เรือนคำ จองลือ โรงเรียนบ้านปลาดาว เชียงใหม่
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!