icon
giftClose
profile

ถกประเด็นมุมมองศาสนาและความเชื่อในชีวิตประจำวัน

32184
ภาพประกอบไอเดีย ถกประเด็นมุมมองศาสนาและความเชื่อในชีวิตประจำวัน

เมื่อเราสอนศาสนาพุทธจนถึงทางตันแล้ว ทำให้สภาพห้องเรียนดูน่าเบื่อ เรียนไปเพื่อท่องจำเท่านั้น จึงลองพลิกห้องจากที่เราเป็นคนให้ความรู้ฝ่ายเดียวกลายเป็นห้องเรียนแห่งการถกเถียงประเด็นทางศาสนา ความเชื่อที่นักเรียนสนใจ

เมื่อครูสอนศาสนาไปเรื่อยๆ นักเรียนในห้องก็ชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นในทางศาสนา จนนำไปสู่คำถามในเชิงโครงสร้างสังคม เช่น

  • ครูครับ ถ้าเราย้ายไปนับถือศาสนาอื่นแล้วเราตายไปจะไปไหน ?
  • การย้ายศาสนาหนึ่งไปยังศาสนาหนึ่ง เหมือนเราย้ายเซิร์ฟเวอร์มั้ยครับ ?
  • ถ้าไม่นับถือศาสนาพุทธ ตายไปจะตกนรกมั้ย?
  • ทำไมคนชั่วบางคนถึงได้ดี ?
  • กรรมในชาติก่อน ทำไมถึงตามมาชาตินี้ ?
  • ฯลฯ

จึงนำมาสู่จุดเริ่มต้นของการถกประเด็นเหล่านี้กันในห้องเรียน เพราะครู 1 คนไม่สามารถให้คำตอบเหล่านี้ได้ แต่จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดของนักเรียนแต่ละคนมากกว่า


เริ่ม !!!!..........

1) คาบแรกครูชวนให้นักเรียนตั้งคำถามที่นักเรียนสนใจอยากรู้เกี่ยวกับศาสนาต่างๆ และเขียนในกระดานหน้าห้อง

ให้นักเรียนช่วยกันโหวตประเด็นคำถามที่น่าสนใจเรื่องศาสนาหน้าห้องเรียน และให้แต่ละคนไปเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่ทั้งห้องได้เลือกไว้

2) คาบต่อมา ครูมีคำถามที่เพื่อนทั้งห้องช่วยกันเลือกขึ้นมาแต่ละประเด็น โดยแบ่งห้องเป็น 3 โซน คือ

  • เห็นด้วย
  • ไม่แน่ใจ
  • ไม่เห็นด้วย

ตัวอย่างคำถามที่นักเรียนเสนอมา

  • กรรมในชาติก่อนตามมาถึงชาตินี้มีจริงหรือไม่
  • เป็นตัวของตัวเองมากไป ทำให้คนอื่นหนักใจผิดหรือไม่
  • การเคารพบุคคลที่การกระทำไม่ใช่อายุ จะผิดหรือไม่
  • การเถียงบุพการีจะบาปหรือไม่
  • ฯลฯ

เมื่อถึงเวลาครูโชว์คำถามขึ้นบนจอทีวี และชวนให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นผ่านการเลือกโซนที่นั่ง

เห็นด้วย Vs ไม่แน่ใจ Vs ไม่เห็นด้วย

แล้วให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดกันในกลุ่มที่เลือกโซนว่าเพราะอะไรทำไมจึงตัดสินใจเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย / ไม่แน่ใจ

และส่งตัวแทนพูด หรือ สุ่มนักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น (นักเรียนจะเปลี่ยนโซนตัวเองเมื่อเปลี่ยนคำถาม)


ถึงตอนนี้ครูก็ต้องช่วยสรุปประเด็นและตรวจสอบความเข้าใจในประเด็นของที่แต่ละฝ่ายเสนอมา และชวนคิดและตั้งคำถามในประเด็นที่สนใจ เพื่อนำไปคิดต่อกับประเด็นที่ได้ถกเถียงกันนอกห้อง

...นักเรียนแต่ละคนที่นำเสนอจะมีชุดความคิดและประสบการณ์ที่นำเสนอแตกต่างกัน บางคนอธิบายบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ บางคนใช้ชุดประสบการณ์เดิมที่ได้เรียนรู้ บางคนใช้ชุดความเชื่อที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมในชุมชน ทำให้เกิดการนำเสนอมุมมองที่หลากหลาย


3) เกิดความมันครบทุกรส เมื่อแต่ละฝ่ายได้เสนอความคิดในด้านของตนเอง มันจนถึงขั้นเลิกเรียนแล้วไปถกต่อกันหลังเลิกเรียน

4) ร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้ จนนำไปสู่การตั้งคำถามเชิงปัญหาทางสังคม และชีวิตประจำวัน (ที่นักเรียนสนใจ)

  • ผู้หญิงปกครองคนไม่ได้จริงหรอ?
  • บางอาชีพผู้หญิงไม่สามารถทำได้จริงหรือไม่
  • รู้สึกดีแต่ไม่ด้รักผิดหรือไม่
  • ฯลฯ

........สุดท้ายแล้ว.....กิจกรรมในห้องนี้ครูต้องเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ตัวเองคิด

ไม่มีการตัดสิน ถูก หรือผิด หรือนักเรียนคิดแบบนี้ไม่ได้นะ เพราะจะทำให้นักเรียนรู้สึกไม่ปลอดภัย และไม่กล้าที่จะพูดสิ่งที่คิดจริงๆออกมา และช่วยกันสะท้อนบทเรียนที่ได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง



รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(8)
เก็บไว้อ่าน
(14)