icon
giftClose
profile

โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี

12401

ได้นำเทคนิคการสอนแบบโค้ชชิ่ง จากการได้รับรางวัลสุดยอดครูต้นแบบโค้ชชิ่ง ที่ได้จัดกิจกรรมในห้องเรียนจนเกิดสัมฤทธิ์ผล ส่งเสริมผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น และเกิดบรรยากาศเชิงบวกในชั้นเรียน นำมาบูรณาการกับแนวคิด ๗ กิจวัตรความดี ปลูกฝังการ“คิดดี พูดดี ทำดี” เป็นอุปนิสัยที่ดีอย่างต่อเนื่อง

เนื้อหา

๑.     แนวคิด

วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานที่มีความสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เปรียบเสมือนเครื่องมือในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผลและมีระเบียบขั้นตอน ฝึกให้มีความแม่นยำและความละเอียดรอบคอบและ จากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์เนื่องจากเป็นวิชาที่ค่อนข้างยาก เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ซึ่งทำให้ผู้เรียนประสบ ปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์และการสอนของครูดำเนินไปอย่างล่าช้าทำให้มีเวลาเรียนไม่เพียงพอต่อเนื้อหา ตามที่หลักสูตรกำหนด การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์จึงไม่ควรเป็นการเรียนที่เคร่งเครียด ต้องอาศัยสื่อที่น่าสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนในเรื่องนั้น ๆ ข้าพเจ้าจึงนำเทคนิคการสอนแบบโค้ชชิ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อม และ อยากที่จะเรียนรู้ นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ครั้ง เพื่อช่วยกระตุ้นผู้เรียนในการเรียนรู้ และ พัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนในวิชาคณิตศาสตร์ สามารถคิดสรุปรวบยอดได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนเป็นการสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาจุดเน้นด้านการคิดเลขเป็น คิดเลขคล่อง และสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชา คณิตศาสตร์ ที่สามารถนำวิชาคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานในชีวิตข้างหน้าต่อไป

ไอเดียการสอนคณิตด้วยเทคนิคโค้ชชิ่ง โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี เป็นผลงานที่เกิดจาการนำเทคนิคการสอนแบบโค้ชชิ่งซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ นำไปใช้ในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์อีกทั้งสอดแทรกความรู้ในบทเรียนที่สอน นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ มีความสุขในการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจได้เป็นอย่างดี ทุกคนต้องเคารพกติกาในการแบ่งกลุ่มเพื่อเล่นเกม ซึ่งข้าพเจ้าได้ใช้เทคนิคโค้ชชิ่งมาใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้กับนักเรียน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด อีกทั้งยังเกิดความสามัคคี มีวินัยในกลุ่ม และยังได้ความสนุกสนาน ฝึกทักษะด้านกระบวนการคิด   และได้คิดนำเทคนิคดังกล่าวมาบูรณาการการกับนวัตกรรม ๗ กิจวัตรความดี โดยกรอบความคิดเรื่อง ๗ กิจวัตรความดี ผู้นำเสนอไอเดียได้ศึกษา ปฏิบัติเป็นกิจวัตร และนำมาถ่ายทอด นำมาบ่มเพาะนักเรียนในโรงเรียนให้เป็นนิสัยที่ดีในแต่ละบุคคล คือ “คิดดี พูดดี ทำดี” อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จากการศึกษาพบว่าแนวคิดดังกล่าวยึดหลักการที่ว่า “เปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอก” คือไม่ว่าจะเกิดปัญหาใดขึ้น ทุกคนสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนตนเองก่อน ทำอย่างมีความสุข ทำด้วยความเข้าใจ เมื่อทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ปรับเปลี่ยนตามซึ่งข้าพเจ้าได้เริ่มปฏิบัติ ๗ กิจวัตรความดีจากตนเอง แนวคิดนี้ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่นำไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ ที่สูงยิ่งขึ้นไป เช่นความเคารพ ความกตัญญู ความอดทนเสียสละของครูผู้สอน จึงเป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้บูรณาการกับเทคนิคการสอนแบบโค้ชชิ่ง เกิดเป็นไอเดียสอนคณิตด้วยเทคนิคโค้ชชิ่ง โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ( VISION ) ของโรงเรียน คือ นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความสามารถ ก้าวทันเทคโนโลยี และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข

 

๒.     วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ได้รับการฝึกทักษะกระบวนการคิดและมีเทคนิค การคิดเลขได้อย่างรวดเร็ว และคิดได้อย่างถูกต้อง ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรม “คิดดี พูดดี ทำดี” ภายใต้การสอนคณิตด้วยเทคนิคโค้ชชิ่ง โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี

๒. เพื่อส่งเสริมกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนในวิชาคณิตศาสตร์

๓. เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น 

๔. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

๕. ปลูกฝังการ“คิดดี พูดดี ทำดี” เป็นอุปนิสัยที่ดีอย่างต่อเนื่อง

๖. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

 

๓.     ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

คุณครูทบทวนบทเรียนกับนักเรียนในเรื่องที่เคยเรียนมาก่อน หรือเรื่องที่สอนในชั่วโมงที่ผ่านมาเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนในเรื่องใหม่ ใช้การแบ่งกลุ่มย่อยในห้องเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม เพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้ร่วมมือช่วยกันภายในกลุ่มให้ไปสู่เป้าหมายนั่นคือคะแนนการร่วมมือภายในกลุ่มของตนเอง โดยให้นักเรียนทั้ง ๒ กลุ่ม แข่งกันตอบคำถามเมื่อตอบคำถามได้ถูกต้อง จะได้คะแนนข้อละ ๑ คะแนน เป็นคะแนนกลุ่มร่วมมือ เมื่อมีเพื่อนที่ตอบได้ถูกต้องและสามารถทำคะแนนให้กลุ่มได้ เพื่อนๆ ในชั้นเรียนจะร่วมกันส่งพลังผ่าน HiGH๑๐ ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของการสอนคณิตแบบโค้ชชิ่ง โดยเมื่อเพื่อตอบคำถามของครูได้ถูกต้องจะต้องส่งพลังให้เพื่อนที่ตอบถูกโดยการแบมือทั้งสองข้างและยืดแขนไปหาเพื่อที่ตอบถูกจากนั้นพูดคำว่า เฮ้ พร้อมกันทั้งชั้นเรียน เพื่อเป็นการเสริมแรงให้เพื่อนที่ตอบได้ถูกต้องเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ที่สามารถทำคะแนนให้กลุ่มของตนเองได้ จากการสังเกตพบว่านักเรียนในชั้นให้ความร่วมมือในกิจกรรมมากยิ่งขึ้น กล้าโต้ตอบสนทนากับคุณครูและเพื่อนๆ ในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น เกิดบรรยากาศเชิงบวกในชั้นเรียน

หากมีนักเรียนตอบคำถามในข้อนั้นๆ ได้ไม่ถูกต้อง คุณครูได้อธิบายเพิ่มเติมว่าอย่างน้อยนักเรียนคนนั้นก็ได้พยายามเพื่อกลุ่มของตนเอง การกล้าที่จะตอบไม่ว่าจะถูกหรือผิดนักเรียนคนนั้นก็ได้พยายาม คุณครูไม่เคยตำหนิให้นักเรียนคนใดก็ตามที่พยายามโต้ตอบ ตอบคำถามในห้องเรียน เพื่อนๆ ในชั้นเรียนก็เหมือนกัน ถ้ามีเพื่อคนไหนพยายามตอบเพื่อให้กลุ่มของตนเอง ได้คะแนนกลุ่มร่วมมือ ควรชื่นชมเพื่อนคนนั้นด้วยความยินดีไม่ว่าเพื่อนจะตอบคำถามของคุณครูถูกหรือผิดก็ตาม ขั้นตอนดังกล่าวอยู่ใน ๗ กิจวัตรความดี ข้อที่ ๔ คือการคิดดี ด้วยการจับดีคนรอบข้าง /คุณครูได้แนะนำว่าหากนักเรียนคิดดีกับเพื่อนในห้องรู้สึกชื่นชมเพื่อนที่พยายามตอบคำถามในห้องเรียน สามารถเขียนความรู้สึกชื่นชมดังกล่าวลงในสมุดบันทึกความดีได้อีกด้วย

 

๔.     ขั้นกระบวนการสอน

คุณครูสอนเรื่องใหม่โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบโค้ชชิ่งตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน อย่างพอเหมาะและเหมาะสมกับกิจกรรมในห้องเรียน /โดยใช้การเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียน ให้นักเรียนโต้ตอบกับครูผู้สอนที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับผู้เรียนแทนที่จะเป็นผู้ให้ความรู้ผ่านกระดานอย่างเดียว/มีการวางแผนการเตรียมสื่อการเรียนการสอนล่วงหน้าเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนมีบรรยากาศเชิงกัลยาณมิตรในห้องเรียน ผู้เรียนกล้าที่จะโต้ตอบกับครูผู้สอนและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในชั้นเรียน เนื่องจากทั้งครูผู้สอนและเพื่อนๆ ในห้องใช้คำพูดชื่นชมให้กำลังลังใจ มีการเสริมแรงผู้เรียนตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน สอดคล้องกับ ๗ กิจวัตรความดี ข้อที่ ๕ พูดดี ด้วยการพูดจาไพเราะ /ส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถสอนได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ / และนักเรียนสามารถเรียนได้ผ่านตามจุดประสงค์ ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการด้านการคิด วิเคราะห์ และการปฏิบัติ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจนเกิดเจตคติที่ดีทางคณิตศาสตร์ (K P A) /เนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนคิดว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก ทำให้ไม่อยากที่จะคิดคำนวณ และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สังเกตได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนต่ำ ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนชอบคณิตศาสตร์ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนโดยการสอดแทรกบูรณาการ ๗ กิจวัตรความดี ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนอีกด้วย /

 

๕.     ขั้นสรุป

เมื่อสอนเนื้อหาที่ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วนั้น คุณครูกับนักเรียนร่วมกับอภิปรายสรุปความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนในชั่วโมงนี้/ โดยมีครูคอยเป็นผู้โค้ชชิ่ง ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนจนถึงขั้นสรุปความรู้ หลังจากนักเรียนสรุปความรู้ที่ได้ คุณครูประเมินผลผ่านคะแนนกลุ่มร่วมมือในห้องเรียน และ แบบฝึกทักษะตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ว่านักเรียน เรียนรู้เรื่องนั้นๆ เข้าใจมากน้อยเท่าเพียงใด โดยตั้งเกณฑ์ประเมินการผ่านโดยการประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จ นักเรียนที่เข้ามาเรียนพูดทำความเคารพคุณครูขอบคุณคุณครูด้วยเสียงที่ดังฟังชัดเสมอ ซึ่งการทำความเคารพดังกล่าวเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีกิริยามารยาทเรียบร้อย เป็นที่รักของผู้ใหญ่ที่พบเห็น สุดท้ายก่อนออกนอกห้องเรียนนักเรียนจะดูแล จัดเก็บของของตนเองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูขยะบริเวณโต๊ะเรียนของตนเอง และในห้องเรียน จัดโต๊ะเก้าอี้ให้เป็นระเบียบ สุดท้ายจะปิดไฟ และพัดลมก่อนออกนอกชั้นเรียนเมื่อไม่มีใครอยู่ในห้องเรียนเสมอ ซึ่งนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองแค(วัดใหญ่วันนาเนตรสวัสดิ์อุปถัมภ์) นั้นถูกปลูกฝังการปฏิบัติตนในห้องเรียน และในโรงเรียนจนเกิดเป็นนิสัย จนคุณครูไม่ต้องว่ากล่าวหรือต้องบอกทุกครั้งแต่นักเรียนรู้หน้าที่ของตนเองเสมอ ดังนั้นห้องเรียนและโรงเรียนจึงสะอาดเป็นระเบียบเสมอ สอดคล้องกับ ๗ กิจวัตรความดีข้อที่ ๖ ทำดี ด้วยการทำบุญหรือบำเพ็ญประโยชน์อย่างน้อย ๑ เรื่อง

 

๖.     ขั้นประเมินผล(นักเรียนประเมินผล)

คุณครูได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ที่ใช้เทคนิคการสอนคณิตแบบโค้ชชิ่ง โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี ผลปรากฏว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความพึงพอใจร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป จำนวน ๓๕ คน นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ระดับความพึงพอใจร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป จำนวน ๑๘ คน สำรวจจากนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ กับคุณครูกนกวรรณ หุ่นวัน ทั้งหมดจำนวน ๕๓ คน


๗.บันทึกหลังการสอน

ในชั่วโมงนี้ได้ใช้ไอเดีย โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี สอนนักเรียนเรื่อง การเขียนเศษส่วนในรูป ทศนิยม ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์



๘. รูปภาพประกอบทำกิจกรรม

-         ภาพครูใช้เทคนิคสอนคณิตแบบโค้ชชิ่ง โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี


 


-         ภาพห้องเรียนที่สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย จากการปฏิบัติ ๗ กิจวัตรความดี จนเป็นนิสัยทั้งครูและนักเรียน


๙. การเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ยอมรับจากสาธารณชนและบุคคลทั่วไป




เครดิต: การสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบโค้ชชิ่ง และ นวัตกรรม ๗ กิจวัตรความดี(โครงการโรงเรียนรักษาศีล ๕ เชิงคุณภาพครอบครัวอบอุ่น)

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: สอนคณิตด้วยเทคนิคโค้ชชิ่ง โค้ชให้สุขและดีด้วย ๗ กิจวัตรความดี คุณครูกนกวรรณ หุ่นวัน.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 6 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)