icon
giftClose
profile

เชื่อม “บทเพลง” สู่“บทเรียน” ณ ห้องเรียนสังคมศึกษา

19772
ภาพประกอบไอเดีย เชื่อม “บทเพลง” สู่“บทเรียน” ณ ห้องเรียนสังคมศึกษา

เมื่อครูขอเปลี่ยน “บทเพลง” ให้เป็น “บทเรียน” และชวนนักเรียนมาร่วมกัน "ตั้งคำถามและสะท้อนคิด” ตั้งแต่แนวทางการดำเนินชีวิตจนถึงประเด็นทางสังคม

เชื่อม “บทเพลง” สู่ “บทเรียน” ณ ห้องเรียนสังคมศึกษา

.

เมื่อครูเปลี่ยน “บทเพลง” ให้เป็น “บทเรียน” และชวนนักเรียนมาร่วมกัน "ตั้งคำถามและสะท้อนคิด” ตั้งแต่แนวทางการดำเนินชีวิตจนถึงประเด็นทางสังคม

.

ที่มาและแรงบันดาลใจ

.

“เพลงลูกทุ่งสไตล์อีสานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนักเรียนที่นี่ ซึ่งนักเรียนชอบฟังแนวนี้มาก” - ส่วนหนึ่งของคำสัมภาษณ์คุณครูนีโน่ วรวรรธน์ แสงมุข

.

“คุณครูคะ วันนี้พวกหนูขี้เกียจจด เราเรียนแบบไม่จดได้ไหมคะ” - เสียงสะท้อนเล็ก ๆ จากห้องเรียน

“ครับ งั้นวันนี้เรามาเรียนสังคมจากเพลงกันครับ” – คุณครูนีโน่ คุณครูวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์

.

เริ่มกระบวนการ

.

คาบนี้เริ่มต้นจากการรับฟังเสียงสะท้อนของนักเรียน บวกกับความชื่นชอบฟังเพลงของนักเรียนและคุณครู รวมถึงการสังเกตเห็นพฤติกรรมและการคบเพื่อนของนักเรียน จึงแรงบันดาลใจให้คุณครูนีโน่จึงเปลี่ยน “บทเพลง” เป็น “บทเรียน” ในคาบวิชาสังคม เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักเรียนร่วมกันสะท้อนถึงคิดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตลอดจนประเด็นทางสังคม

.

คุณครูนีโน่เริ่มการตั้งคำถามชวนนักเรียนคิดและสะท้อนว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ปัญหาของสังคม ก่อนที่คุณครูจะเปิดเพลง “ถามยาย” ให้นักเรียนฟังประมาณ 2 – 3 รอบ

.

“เด็กหญิงเธออยู่อยู่ไป แต่ในหัวใจเธอป่วนปั่น

ก็เพื่อนพ้องเขาครบครอบครัว อบอุ่นนัก

จึงเริ่มเฝ้าถามยาย พ่อแม่หนูอยู่ไหน

เหตุไฉนเขาไม่สนใจ ส่งข่าวมา...” - ส่วนหนึ่งของบทเพลง “ถามยาย” โดยปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

.

หลังจากนั้น คุณครูชวนนักเรียนบอกเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากฟังเพลง รวมถึงวิเคราะห์ตัวละคร และร่วมกันถอดบทเรียนเกี่ยวกับปัญหาสังคมที่ได้จากบทเพลง ก่อนจะแจกกระดาษ post-it ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสะท้อนถึงปัญหาทางสังคมที่จับประเด็นได้จากบทเพลงดังกล่าว

.

“นักเรียนรู้สึกอย่างไรหลังจากได้ฟังเพลงนี้” และ “จากการฟังเพลงนักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง” – ส่วนหนึ่งของคำถามที่คุณครูนีโน่ชวนนักเรียนถอดบทเรียนจากบทเพลง

.

จากนั้นคุณครูให้นักเรียนนำกระดาษ post-it ที่เขียนข้อความมาติดบนกระดาษดำ เพื่อรวบรวมประเด็นและช่วยกันจัดหมวดหมู่ไอเดีย ก่อนที่คุณครูจะชวนนักเรียนสรุปประเด็นทั้งหมดอีกครั้ง และเชื่อมโยงประเด็นที่ได้เรียนรู้ในวันนี้สู่บทเรียนในคาบถัดไป

.

ผลลัพธ์จากห้องเรียน

.

“ปัญหาการท้องในวัยเรียน”

“เบี้ยคนชรา”

“คุณภาพชีวิต”

“คุณภาพทางการศึกษา”

“ปัญหาการเติบโตและการเลี้ยงดู”

“ความรักความอบอุ่นในครอบครัว”

- ส่วนหนึ่งจากเสียงสะท้อนและการสรุปบทเรียนร่วมกันของนักเรียนและคุณครู

.

จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว คุณครูสังเกตเห็นว่านักเรียนมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และตั้งใจสะท้อนเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมที่พวกเขาได้เรียนรู้จากบทเพลงดังกล่าว

.

เรื่องเล่าจากห้องเรียนวิชาสังคมศึกษาที่เชื่อว่า “บทเพลง” คือ “บทเรียน” ที่ “เป็นไปได้”

.

คุณครูเจ้าของไอเดีย: วรวรรธน์ แสงมุข (ครูนีโน่) คุณครูวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ โรงเรียนสำโรงวิทยาคาน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้ถ่ายทอดเรื่องราว: ศิริลักษณ์ สุทธิช่วย (ครูเท็น) ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(6)
เก็บไว้อ่าน
(4)