icon
giftClose
profile

ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

22730
ภาพประกอบไอเดีย ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

การที่เด็กได้อยู่กับสังคมการเรียนรู้ ในมุมมองที่เขารู้สึกพอใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้

ในห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของครูยะ ครูสังเกตเห็นว่าเด็กบางคนเรียนรู้สิ่งที่ครูสอนได้เร็ว บางคนเข้าใจช้ากว่าเพื่อน

เมื่อครูสอนทั้งห้องเหมือนกัน เด็กที่ตามไม่ทันทำไม่ได้จริง ๆ ก็จะนั่งเหม่อรอเพื่อนทำแล้วทำตาม 

ครูยะเข้าใจว่าเด็กทุกคนมีความรู้สึก และอยากจะเรียน แต่จะทำอย่างไรให้เด็กทุกคนได้เรียน


ครูจึงได้ลองใช้การจัดกลุ่มเด็ก ๆ ในการเรียนโดยมีแนวคิดที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และจากการได้ไปอบรมแนวคิดว่าสังคมคือการเรียนรู้ การที่เด็กได้อยู่กับสังคมการเรียนรู้ในมุมมองที่เขารู้สึกพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ จึงมาเป็นแนวทางในการสอนที่แบ่งเด็กให้ช่วยกันเรียนเป็นกลุ่ม



แบ่งกลุ่มเรียน

ครูเริ่มมองเด็กเป็นรายบุคคลแบ่งเด็กเป็นสามกลุ่มที่เรียนได้เท่ากัน ตามความเร็ว-ช้าในการเข้าใจเนื้อหา ตอนที่นั่งเรียนจะนั่งแบบคละกันตามปกติ แต่พอเป็นช่วงที่ทำงานกลุ่ม จะให้ไปเข้ากลุ่มที่แบ่งไว้นี้ 


พอเค้าได้อยู่ในกลุ่มที่รู้สึกเท่าเทียมกันมันเกิดการเรียนรู้ มีตัวตน ในแต่ละกลุ่มเด็ก ๆ จะมีบทบาทที่ได้ดูแลเพื่อนสลับกันไปในช่วง 5 สัปดาห์ตามเรื่องที่ตัวเองถนัด ทำให้เขาจะรู้สึกมีคุณค่า


ครูให้งานแต่ละกลุ่มเหมือนกัน แล้วมีช่วงให้มานำเสนอ เด็ก ๆ จะมานำเสนอความเห็นต่าง ๆ กันไป แต่ละกลุ่มก็จะได้เรียนรู้จากเพื่อน กลุ่มที่ช้ากว่าพอได้เห็นเพื่อนก็อยากพยายามทำให้ดีบ้าง ไปสืบค้นข้อมูล ไปค้นคว้าเพิ่มเติม


เรียนวิชาคณิตศาสตร์เด็กบางคนพอครูสอนแล้วทำไม่ได้ ครูก็จะสอนซ้ำ ๆ ใช้เวลาไม่รีบ สอนจนเขาเข้าใจ พอเข้าใจพื้นฐานก็จะเรียนเรื่องอื่นได้ คนที่เข้าใจเร็วก็ได้ทบทวน คนที่เข้าใจช้ากว่าครูก็ช่วยเติมเต็มโดยไม่ทิ้งใครไว้


คละกลุ่มใหม่

หลังจากเรียนแบบแบ่งกลุ่ม 5 สัปดาห์ ครูเริ่มให้เด็ก ๆ จัดกลุ่มใหม่แบบคละกัน พอไปอยู่กลุ่มแบบคละ เด็ก ๆ เริ่มมีโอกาสได้แสดงบทบาท แสดงออกถึงทัศนคติ หลังจากการทำงานแบบกลุ่มที่แบ่งตอนแรกมาแล้ว


กิจกรรม open house

ในสัปดาห์สุดท้ายจะเป็นกิจกรรม open house เด็ก ๆ ช่วยกันเตรียมงาน ครูได้เห็นพัฒนาการของเด็กกลุ่มที่ตอนแรกมองว่าเรียนช้ากว่าเพื่อน แต่ตอนนี้ได้กลายเป็นเนื้อเดียวกันไปแล้ว ไม่มาคิดว่าฉันเรียนเก่ง ฉันเรียนอ่อน แต่ทุกคนได้เรียนรู้ไปด้วยกัน จากที่แต่ก่อนเด็กบางคนจะไม่ได้พูดหรือรู้สึกว่าเพื่อนไม่ยอมรับ 

เด็กแต่ละคนมีความถนัดที่ต่างกัน บางคนถนัดตัดต่อคลิปวิดิโอ บางคนเก่งคณิตศาสตร์ เด็ก ๆ ได้โชว์ชิ้นงาน ได้เล่าให้ผู้ปกครองฟัง ได้รู้สึกมีค่า มีตัวตน จากเด็กที่เงียบ ๆ ก็พูดเก่งขึ้น


เด็กห้องนี้จากที่ครูหลายคนในโรงเรียนเห็นว่าพัฒนาการช้า และไม่เข้าเรียนเยอะ พอเอาเทคนิคนี้มาใช้พบว่าเด็กมาเรียนไม่ขาดเรียน  เรามีเวลาอยู่กับเด็กเข้าใจ พาทำสิ่งที่ทำให้ตัวเด็กภูมิใจ


การเรียนรู้ = การทำย้ำๆ สอนคณิตย้ำๆ เด็กตอนแรกไปคาดหวังให้เค้าเข้าใจ เด็กอ่อน สามสี่คน ถามยังไงก็ไม่เข้าใจ พอไปดูสมุดงาน เค้ากลับทำไม่ได้ ใช้ว่าเราไม่ทิ้งใครให้เค้าทำซ้ๆ เรียนคณิตสามคาบสอนเรื่องเดียว ไม่รีบ สอนจนเข้าใจ ย้ำอีก พอเข้าใจก็เรียนเรื่องอื่นได้ เรื่องยาก็ไม่ได้ใช้เวลานานพอเค้าพื้นฐานแม่น คนเร็วเก่งได้ทบทวน คนช้าก็ช้า การอยู่เฝ้าสอนเติมเต็มไม่ทิ้ง



ขอขอบคุณคุณครูผู้ร่วมแบ่งปันไอเดีย :D

ครูสุริยะ  สมพร

โรงเรียนบ้านตะเคียนราม จ.ศรีสะเกษ


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)