icon
giftClose
profile
frame

หยุดสร้างความเกลียดชัง

41344
ภาพประกอบไอเดีย หยุดสร้างความเกลียดชัง

เมื่อเหตุการณ์การบูลลี่ในห้องเรียนยังเกิดขึ้นสม่ำเสมอ ครูจะช่วยสร้างความเข้าใจ และป้องกันเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร เพื่อสร้างสังคมในห้องเรียนที่ยอมรับความหลากหลาย และความแตกต่างกันได้อย่างมั่นคง

จริงๆ ไอเดียของการสร้างกิจกรรมนี้มาจากที่เราดู live การเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองที่กองทัพภาค 1 วิภาวดีรังสิต การกระทำของฝ่ายความมั่นคงของชาติที่ปฏิบัติต่อการสลายการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงนั้น ทำให้เรานึกถึง "ความเป็นคน" ขึ้นมา เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ในการเป็นมนุษย์คนนนึงในสังคมโลกนี้ และหลักสูตรทั้งหลายไม่ได้มีการให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างชัดเจน เราจึงเริ่มมันด้วยการสร้างกระบวนการหรือกิจกรรมในห้องเรียนของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจความหมายของ "ความเป็นคน" ที่ไม่ควรทำร้ายกัน ไม่ว่าจะทางจิตใจหรือร่างกาบ และอยู่ร่วมกันกับทุกคนที่มีความแตกต่างหลากหลายในสังคมใหญ่ โดยจำลองผ่านสังคม "ห้องเรียน" จริงของพวกเค้า


ความเป็นมนุษย์ที่อาจจะอธิบายให้เห็นภาพได้ดีที่สุดเรื่องนึงในวัยนี้ คือ "การบูลลี่"

.


ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการปฏิบัติเช่นนี้ยังคงมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่มาก

.

ขะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้เจอกับข้อมูลเหล่านี้ และนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ควรมีการเกลียดชัง อันนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้

.

.

.

.

.

กิจกรรมส่วนแรก


1.เราเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามนำ "ทำไมคนถึงแตกต่างกัน?" (5 นาที) โดยแบ่งประเด็นย่อยออกเป็น

  • สิ่งที่เห็นได้จากภายนอก
  • ไม่เห็นได้ด้วยตา

ข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนตรงนี้ คือ การนำเสนอให้ผู้เรียนเห็น Fact หรือ ข้อเท็จจริง ของคนทั่วๆ ไป เช่น สีผิว ขนาดของร่างกาย เพศ เพศสภาพ ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

2.คำถามต่อมา "อะไรที่ทำให้คิดแบบนั้น" โดยแบ่งประเด็นย่อยออกเป็น

  • ในมุมมองของคนอื่น
  • ในมุมมองของตัวเอง

ข้อมูลที่ได่จากการแลกเปลี่ยนตรงนี้ คือ การนำเสนอให้ผู้เรียนเห็น Opinion หรือ ความคิดเห็น ของคนทั่วๆ ไปที่น่าจะมีต่อคนๆ นึง เช่น ผิวดำเป็นคนสกปรก ไม่น่าไว้วางใจ

.

กิจกรรมที่สอง


1.เปิดคลิปของคุณซูซี่ https://www.youtube.com/watch?v=ZNFksOtIOiM (10 นาที) 2 รอบ โดยในแต่ละรอบให้บันทึกรายละเอียดที่สามารถบอกได้ว่าอะไรคือ ข้อเท็จจริง หรือ ความคิดเห็น ที่ได้จากคลิปวิดีโอ ได้แก่

  • ใครอยู่ในคลิปนี้ คือ คุณซูซี่
  • ใครที่ถูกกล่าวถึง เช่น ลูกชาย ครูที่โรงเรียน คนที่เดินผ่านไปมา

2.หลังจากที่ผู้เรียนได้ข้อมูลมาแล้ว ครูนำชวนคุยแลกเปลี่ยนในแต่ละประเด็นที่ผู้เรียนได้มา เพื่อหา topic หรือ สิ่งที่คลิปวิดีโอนี้ต้องการนำเสนอ ซึ่งผู้เรียนบางคนอาจเข้าใจถึงความหมายแฝงที่เกิดขึ้นในคลิปวิดีโอได้ ตัวอย่างเช่น

ใครอยู่ในคลิปนี้ คุณซูซี่ ข้อเท็จจริง เป็นลูกครึ่งไทย-แอฟริกา เรียนและมีครอบครัวอบู่ในประเทศไทย เป็นผู้หญิงผิวสี

ความคิดเห็น เป็นคนไม่มีมั่นใจในตัวเองตั้งแต่เด็ก เสียใจจากการโดนบูลลี่ เสียความรู้สึก

ไม่อยากอยู่ในประเทศนี้อีกแล้ว

ใครที่ถูกกล่าวถึง เช่น ครู ข้อเท็จจริง ครูที่โรงเรียน เป็นคนบูลลี่ เป็นคนสร้างความไม่มั่นใจให้คุณซูซี่

ความติดเห็น

.

กิจกรรมที่สาม


ให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนการเรียนรู้ลงในสมุดของตนเอง (10 นาที)

1.จากที่ได้ดูคลิปคิดว่าคุณซูซี่

  • รู้สึกอย่างไร?
  • มีความคิดเห็นอย่างไรกับ topic นี้

2.ในฐานะที่นักเรียนเองก็มีโอกาสเจอเหตุการณ์เดียวกัน นักเรียนจะ ...

  • จะปฏิบัติตัวอย่างไร?
  • เข้าใจผู้กระทำว่าอย่างไร?
  • จะบอกอะไรกับผู้กระทำ?
  • จะปฏิบัติตัวอย่างไรให้สถานการณ์นี้จบได้ด้วยดี
  • ใครที่จะช่วยเหลือนักเรียนจากเหตุการณ์นี้ได้
  • ได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้?


จากกิจกรรมนี้ สิ่งที่เราต้องการให้ผู้เรียนได้รับ คือ ไม่ว่าใครก็ตาม ก็ต่างเป็น "คน" เหมือนกัน เพียงแตกต่างกันที่ภายนอก แต่ภายในคนทุกคนมีความรู้สึกและความคิดเห็นเหมือนกันทุกคน

.

การบูลลี่ จึงเป็นการปฏิบัตินึงที่ทำร้ายความเป็นคนจากภายในอย่างรุนแรง ยิ่งสะสมเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อทางร่างกายด้วย เช่น การทำร้ายร่างกายตนเองของเด็กที่โดนกระทำ ในฐานะของครู ควรมีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้มีการบูลลี่ แม้ว่าจะไม่สามารถดูแลหรือจัดการได้ทั่วถึง ครู ก็ต้องเสริมเครื่องมือให้เด็กๆ สามารถป้องกันตัวเองจากการกระทำนี้ได้อย่างสร้างสรรค์ และเป็นเชิงบวก

.

การทำความเข้าใจ "ความเป็นมนุษย์" โดยอาศัยตนเอง เพื่อนๆ และครูในพื้นที่ห้องเรียน ให้เป็นตัวอย่างการเรียนรู้ที่สำคัญ และเริ่ม!!! ตระหนักถึงความสำคัญตรงนี้จากประสบการณ์ร่วมของตนเองที่มีอยู่ ซึ่งผู้เรียนบางคนสามารถสะท้อนได้ว่า ตนเองเป็นทั้งผู้กระทำและผู้โดนกระทำ และจะป้องกันตนเองจากเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร

.

สุดท้าย การสรุปหลังกิจกรรมไม่สามารถอนุมานได้ว่า ผู้เรียนจะไม่บูลลี่กันและกันอีกต่อไป เพราะกิจกรรมนี้เป็นเพียงการปูพื้นฐานความคิดหรือ mindset ให้กับผู้เรียนได้เห็นมุมมองความคิดและแสดงความคิดเห็นของตนเองออกมา ครูควรร่วมสังเกตความเปลี่ยนแปลงภายในสังคมห้องเรียนอย่างต่อเนื่อง คอยแนะนำหรือเตือนผู้เรียนอยู่เสมอ เพื่อให้ความคิดนี้กลายเป็นพื้นฐานที่ดีในชีวิตของตนเองได้ต่อไป

.

.

.

สุดท้ายในสุดท้าย เราก็ยังตอบผู้เรียนไม่ได้อยู่ดีว่า "ครู แล้วถ้าครูบูลลี่เด็ก พวกหนูต้องทำยังไง?" คงเป็นโจทย์ต่อไปให้ครูได้เรียนรู้ตัวเอง และสร้างสังคมในการเรียนรู้ต่อไป

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 6

ชื่อไฟล์​: S__4309005.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 19 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(28)
เก็บไว้อ่าน
(19)