icon
giftClose
profile

ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์

19691
ภาพประกอบไอเดีย ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์

เมื่อนึกถึงเนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่ต้องเรียนอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เรียนครูผู้สอนต้องพลิกเรื่องที่ผู้เรียนคิดว่ายากให้เป็นเรื่องง่ายๆโดยดึงเอาวิทยาศาสตร์มาอยู่ใกล้ตัวแล้วค่อยๆต่อยอดเนื้อหาจากเรื่องที่สัมผัสและจับต้องได้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงผู้เรียนจึงจะสนุกไปกับการเรียน วิทย์จึงไม่ได้ยากอย่างที่คิด

วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆตัวเรา มันดูเยอะแยะมากมาย เนื้อหาก็ดูยากสลับซับซ้อน ยากต่อการเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้น เด็กๆบางคนไม่ชอบที่จะเรียนวิทยาศาสตร์ เพราะความเข้าใจว่ายากและห่างไกลตัวเอง เด็กๆไม่เข้าใจเลยว่าวิทยาศาสตร์มันอยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียวเอง แม้หลับตาความเป็นวิทยาศาสตร์นั้นก็ยังดำเนินไปกับตัวเรา


เริ่มต้นอย่างไรให้เด็กๆอยากเรียนรู้วิทยาศาสตร์

หากเด็กๆปิดใจก็ต้องใช้เวลากันหน่อย ผู้สอนต้องค่อยๆจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กๆ โดยที่เด็กๆไม่รู้เลยว่าพวกเขากำลังเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ จัดการเรียนรู้โดยผ่านการลงมือทำ ปฏิบัติจริง ให้เขาได้เห็นผลของการทดลองจริงๆ เขาจะเริ่มชอบ เปิดใจเรียนรู้มากขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ขึ้นได้เอง เรียนรู้จากการลงมือทำแล้วครูผู้สอนก็ค่อยๆสอดแทรกเนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมที่เด็กๆทำ ให้เด็กๆได้พูดหรืออธิบายสิ่งที่เขาทำด้วยจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดได้ดี และง่ายต่อการต่อยอดการเรียนรู้เชิงอธิบายได้อีกด้วย


ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อเราต้องการให้เด็กๆเรียนรู้เกี่ยวกับ การคายน้ำของพืช แค่ชื่อเรื่องที่จะเรียนรู้ก็ยากแล้วใช่ไหมค่ะ เราก็เปลี่ยนการอธิบายเนื้อหาไปเป็นชวนเด็กๆไปดูปากใบของพืชแทน ให้เด็กๆได้เห็นปากใบจริงของพืชก่อน โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง เด็กๆเห็นปากใบของพืชจริง (ซึ่งปากใบจะทำหน้าที่ควบคุมการคายน้ำของพืช) เด็กๆจะรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนานกับการเรียนรู้ อยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และในระหว่างเรียนรู้นั้น เด็กๆจะมีข้อคำถามจากสิ่งที่เห็น และอยากรู้เยอะแยะมากมาย ตอนนี้หล่ะค่ะเป็นช่วงเวลาที่ดีมากๆที่ผู้สอนจะอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการสอน ต้องการให้เด็กๆรู้ เพราะเด็กๆจะรับรู้ไปพร้อมๆกับทำความเข้าใจไปด้วย เป็นการสร้างความชอบในการเรียนวิทยาศาสตร์ และทำให้เด็กๆเข้าใกล้วิทยาศาสตร์ได้โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย


เป็นอย่างไรนะ รูปร่างของปากใบ เมื่อเด็กๆสงสัยก็ต้องหาคำตอบ ผู้สอนต้องจัดประสบการณ์และเชื่อมโยงประสบการณ์ของผู้เรียนไปสู้ความรู้ในเนื้อหาที่เด็กๆจะเรียนได้



เด็กๆเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย คอยแนะนำ ให้คำปรึกษาและให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เด็กๆ



ทุกกิจกรรมการเรียนรู้หากเด็กๆได้ลงมือทำ ปฏิบัติการทดลองจริง นั่นคือความสุขของการเรียนรู้ เพราะความสุขนั้นจะถูกส่งผ่านมาทางแววตา และพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม ในวิทยาศาสตร์



ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา


ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทุกๆเรื่อง ผู้สอนจะต้องไม่บังคับ ไม่ตีกรอบให้เด็กๆ ไม่มีการนับ 1 2 3 ผู้สอนจะสร้างองค์ประกอบให้เด็กๆพร้อมที่จะเรียนรู้เอง เด็กๆจึงจะสนุกไปกับการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ และรักวิทยาศาสตร์ คุณครูลองนำไปทดลองใช้กันนะคะ


คุณครู มัลลิกามาศ ใช้การจัดการเรียนรู้แบบดังกล่าวข้างต้น ได้ผลมาแล้วจึงนำมาแบ่งปันไอเดียการสอนกันค่ะ


ดึงเอาเรื่องยากมาทำเป็นเรื่องง่ายๆในการสอนวิทยาศาสตร์

อย่าคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัวเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว


# ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์


มัลลิกามาศ วรรณชาลี

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(3)