เป้าหมาย สอนคาบวิทยาศาสตร์ เรื่องสถานะและการแยกสาร
กระบวนการ
ชั่วโมงที่ 1 : Intro
ช่วงแรกที่อยากจูงเข้าเนื้อหา: เป้าหมายคือคุยเรื่องของเหลว ของแข็ง
หลังจากที่บิ้วคุยเรื่องไอติมสนุกสนาน ซึ่งสอดแทรกเรื่องสถานะเรียบร้อย ก็ชวนเด็ก ๆ ว่า
“ลองทำไอติมกันไหม” เป็นคำถามที่จะทำให้เขากระตือรือร้นมาก ๆ เด็ก ๆ จะยิงคำถามมาเอง ว่า ทำตอนไหน ” “ ทำอะไร ” “ ลองแบบนี้ไหม”
(มีเด็กคนนึงโยนมาว่า หรือเราจะแค่เอาน้ำอัดลมใส่น้ำแข็งก็ได้ ในฐานะครู เราเลยยิงกลับไปว่า ทำไมต้องซื้อน้ำอัดลมที่มีแต่ค่าโฆษณาและไม่มีประโยชน์ สอนแทรกไปเลย)
ชวนให้เด็ก ๆ คิดว่าทำไอติมแบบไหนได้บ้าง แต่สุดท้ายเราอยากมาจบที่ไอติมหลอด/ปั่น
จนจะหมดชั่วโมงที่ 1 เราพูดกันแต่เรื่องไอติม กินแล้วเจ็บฟัน ถ้าวางไว้ก็ละลาย
น้ำอยู่ได้หลายแบบเหมือนกันเนอะ แข็งก็ได้ เหลวก็ได้ แล้วเป็นอย่างอื่นได้อีกไหม (เป็นไอก็ได้นะครู)
เราสรุปว่าสิ่งที่คุยกับไปทั้งหมด เรียกว่าสถานะ
กิจกรรมเล็กน้อยทำให้ active และเห็นไปด้วย ใช้ร่างกายสมมติเรื่องสถานะ ชวนนักเรียนลุกขึ้นและ ..
ชั่วโมงที่ 2: การทดลอง
พอใส่เกลือแล้วเกิดอะไรขึ้น ??
(เด็ก ๆ ตาลุกวาว -- ครูมันวิ่งลงจากศูนย์ !! ) เมื่อนักเรียนเห็นว่าในปรอทมันไหลลงต่ำกว่าศูนย์ ก็เชื่อมโยงเรื่องความเย็น
แล้วมันแปลว่าอะไร เกลือเป็นส่วนไหม เล่าให้เข้าใจว่าทำไมต้องใส่เกลือ (เกลือดูดความร้อนเข้าตัวนะ)
นอกจากนี้ สามารถฉวยโอกาสเข้าคณิตศาสตร์ (ครูก็สอนอยู่) นี่คือเลขจำนวนเต็มแบบติดลบ (ปกติเด็ก ๆ ยังไม่เคยเห็นในชีวิตจริง)
เรื่องที่เรียน = มันคือเรื่องใกล้ตัว
แล้วทำไมต้องหมุน ?? ชวนนักเรียนลองหมุน (มันแข็งเร็วขึ้น !!) เล่าให้เข้าใจว่ามันเวลาหมุน โมเลกุลวิ่งชนกันเร็วขึ้น ก็มีพลังมากขึ้น ดีมากกว่าหยุดเร็ว
ชั่วโมงที่ 3: การประยุกต์
ครูชวนพี่ ๆ สอนน้องป.2 แต่เปลี่ยนรูปแบบ หากว่าเราไม่มีเครื่องนี้เราจะทำไอติมได้อย่างไร / ถ้าอยากทำที่บ้านจะทำยังไง
อุปกรณ์ : น้ำหวานใส่ถุง น้ำแข็งใส่ถุง (ที่ใหญ่กว่า) เกลือ
หากมีของพวกนี้ -- แล้วทำยังไงต่อดี
พี่ๆ จัดเต็นท์ให้น้อง เตรียมอุปกรณ์ให้ทุกอย่าง ชวนให้น้องเขย่าอย่างเดียว เมื่อมันแข็ง น้อง ๆ ก็ว้าว พี่ ๆ ก็ว้าว (ว้าวครูมันแข็งแล้ว)
รวบสรุปต่อว่า อันนี้สร้างอาชีพได้นะ ต้นทุนไม่ได้เยอะเลย ดัดแปลงให้แปลกใหม่ก็ได้ เช่น ทำสีเป็นชั้นเหมือนสายรุ้งก็ได้
ผลลัพท์
สุดท้าย ขอทิ้งว่าความเป็นครูของครูแอน คือ
การ “ฉวยโอกาส” การเรียน
หากกิจกรรมนึงเชื่อมโยงอะไรได้ก็จะโยง
การเรียนการสอนไม่ต้องเปิดหนังสือก็ได้
เราสามารถสอนวิชาอื่นและเร่ิมพูดถึงเนื้อหาอื่นไปได้ด้วยเลย
เพราะเหตุการณ์อยู่ต่อหน้า
เราเก็บให้หมด
ไม่ว่ามันจะลามกี่วิชา
ถ้าเราให้เด็กได้ เราก็ต้องให้อย่างเต็มที่ ถือว่าเป็นกำไรของผู้เรียน
เจ้าของไอเดีย : ครูแอน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!