ตอนสอนเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ
แทนที่จะบอกความรู้ว่า ปกติในหลักสากลเขาจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตแบบไหน
เราเริ่มจาก
ให้นักเรียนเขียนชื่อสิ่งมีชีวิตที่รู้จักคนละ 1 ตัว ใส่กระดาษ
จากนั้นเราชวนถามต่อ “ทำไมเธอถึงชอบหรือนึกถึงสัตว์ตัวนี้”
เป็นการอุ่นเครื่อง ชวนคุยแบบง่าย ๆ
หลังจากนั้น
ลองให้นักเรียนนำสัตว์ที่ทุกคนในห้องเขียนมารวมกัน
แล้วลองแบ่งเป็นกลุ่ม หนูจะใช้วิธีอะไรแบ่งเป็นกลุ่มสัตว์ได้บ้าง
นักเรียนก็ได้ลองจัดกลุ่มตามเกณฑ์ของเค้า
แล้วก็ชวนคุย แต่ละกลุ่มจัดแบบไหนบ้าง ทำไมเธอถึงใช้เกณฑ์นี้
แล้วก็ลองเพิ่มสัตว์ ที่นักเรียนไม่ได้ยกมาในห้องขึ้นมา ถามว่าถ้ามีตัวนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มไหน
หรือถ้านักเรียนจัดกลุ่มมาแล้วเข้าใจผิด อย่างค้างคาว ไปจัดอยู่ในสัตว์ปีก
เราก็จะชวนตั้งคำถามต่อไปเรื่อย ๆ จนนักเรียนเข้าใจและกลับมาอยู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ชวนคุยต่อ เห็นมั้ยว่าแต่ละคนจัดเกณฑ์ไม่เหมือนกันเลย
แล้วเค้ามีเกณฑ์อะไรบ้างที่เป็นหลักสากล แล้วเค้าคิดจากอะไร
ซึ่งกว่าจะสรุปได้ ใช้เวลานาน แต่ทำให้เด็กได้คิด ตกตะกอน
สร้างความรู้ในแบบของตัวเองก่อน
หลังจบการสอน แอบได้ยินว่า เด็ก ๆ ไปสอนห้องข้าง ๆ
จริง ๆ มันง่ายน้า แบบนี้ ๆ แสดงว่าเค้ามองว่าการจัดกลุ่มแบบนี้ไม่ใช่เรื่องท่องจำ
แต่มาจากความเข้าใจจริง ๆ
แถมครูไม่ต้องสอนอะไรเยอะเลย ตั้งคำถามปลายเปิดกับเรื่องใกล้ตัว แล้วดูประสบการณ์ของเขา แล้วตั้งคำถามชวนคิดต่อ เพื่อให้ต่อยอดไปสู่องค์ความรู้ใหม่ได้
เมื่อช่องว่างครูกับเด็ก ๆ แคบลง
เราจะได้เห็นมิติที่เราได้เอ๊ะกับอ๋อไปพร้อม ๆ กับเด็ก ๆ ด้วย
เป็นการเรียนรู้ร่วมกันจริง ๆ
---
เป็นแมวมองเขียนให้ครูศักดิ์ โรงเรียนดํารงราษฎร์สงเคราะห์
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!