icon
giftClose
profile

แก้ปัญหาในชุมชนด้วย STEAM

20790
ภาพประกอบไอเดีย แก้ปัญหาในชุมชนด้วย STEAM

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ที่เด็ก ๆ ได้ไปลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ใช้ ได้ระดมความคิด และได้สร้างต้นแบบ


ในวิชาการออกแบบเทคโนโลยีชั้น ม.2 ครูได้นำเอากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบที่ได้อบรมจากโครงการ STEAM4INNOVATOR ของ NIA มาออกแบบการเรียนรู้ในวิชานี้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การสร้างนวัตกรรมในช่วงเวลา 10 สัปดาห์ของวิชานี้



เรียนรู้ปัญหาในชุมชน 


1. เข้าใจปัญหา

ด้วยการตั้งคำถามที่ใช้ 5W 1H (Who What Where When Why How)


ครูออกแบบบอร์ดเกมที่คิดขึ้นมาให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการตั้งคำถาม ในเกมจะบอกสิ่งที่นักเรียนต้องเก็บข้อมูล เช่น อายุ อาชีพ ความต้องการ มีการ์ดคำถามเป็น 5W 1H ให้นักเรียนเลือกว่าถ้าตกในช่องความต้องการ เขาต้องใช้คำถามแบบไหนเพื่อให้ได้คำตอบ


นักเรียนต้องฝึกตั้งคำถาม ให้นักเรียนรู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น นักเรียนต้องเลือกหนึ่งปัญหาที่สนใจ เช่น street food, ขยะ และบรรจุภัณฑ์น้ำดื่ม



2. ลงพื้นที่ 

ไปสอบถามถึงปัญหาในเรื่องที่เลือก ไปสัมภาษณ์คนในพื้นที่ เพื่อหาคำตอบ ยกตัวอย่างกลุ่มที่สนใจเรื่อง street food ไปดูรถเข็นขายไก่ย่าง ปัญหาอาจเป็นเรื่องการปนเปื้อนไก่ได้ง่าย บรรจุภัณฑ์ การที่เตามันไม่ทันสมัยเหมือนไก่ย่างห้าดาว ถ้านักเรียนสนใจ นักเรียนต้อง ลงไปถามแม่ค้าไก่ย่าง ว่าเขาประสบปัญหาอะไร แล้วเค้าอยากได้อะไรไปแก้ปัญหา 



3. สรุปสิ่งที่ค้นพบ

จากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ นักเรียนเอามาสรุปว่า สิ่งที่ต้องไปทำเป็นนวัตกรรม นักเรียนต้องทำอะไร ตั้งประโยคความท้าทาย (challenge) เป็นแกนหลักในการทำนวัตกรรม เช่น “เราจะทำอย่างไรให้แม่ค้าไก่ย่างที่ต้องการภาชนะบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เกิดรายได้ดีขึ้น” 

พอนักเรียนตั้งคำถามเสร็จ นักเรียนต้องตั้งประโยคความท้าทายขึ้นมาหนึ่งอย่าง เพื่อเป็นแกนหลัก 



4. หาไอเดีย

หาทางแก้ไขปัญหาว่าตัวบรรจุภัณฑ์ มันจะมีไอเดียอะไรได้บ้าง เช่น อาจทำเป็นตู้อบขึ้นมาใหม่ อาจเป็น สร้างนวัตกรรม ที่ เป็นถุงครอบตัวไก่ย่าง 



5. สร้างต้นแบบ

พอได้ไอเดีย ให้นักเรียนคัดเลือกไอเดียที่เป็นไปได้มากที่สุดหนึ่งแบบ แล้วร่างภาพ เป็นต้นแบบ (prototype) แล้วให้นักเรียนลงมือทำตามที่นักเรียนเลือก

พอได้ต้นแบบว่าสิ่งที่นักเรียนต้องการผลิต ให้คิดว่าสามารถเอาไปเกี่ยวข้องกับใครได้บ้าง โดยให้ทำ business canvas ว่าใครช่วยได้บ้าง เช่น ตู้อบ อาจเป็นโรงงานรับเชื่อมเหล็ก หรือรับประกอบตู้ ถ้าเอาไปขาย ช่องทางไหนบ้างที่เอาไปขาย ออนไลน์หรือหน้าร้าน ให้นักเรียนวางแผนต่อยอดถึงกระบวนการขาย ว่าถ้าเอาไปขายมีใครช่วยได้บ้าง



6. นำเสนอ

นำเสนองานว่าถ้าเราจะไปนำเสนองานกับคนที่เราต้องการให้เค้ามาช่วย เหมือน pitching เราจะนำเสนออย่างไร ใช้รูปแบบ STAR model ให้นักเรียนได้ฝึกทดลองนำเสนอ

 

STAR model

Situation สถานการณ์ที่เราเลือกเป็นอย่างไร เช่น เลือกปัญหาไก่ย่างมันเกิดปัญหาที่มลพิษปนเปื้อนไก่

Task งานที่ต้องทำ

Action สิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้งานนั้นสำเร็จ

Result ผลที่เกิดขึ้นว่าการเอาไปทำแล้วเกิดอะไรบ้าง


ในวันนำเสนอ ได้เชิญคนที่เป็นผู้ใช้ของสิ่งที่นักเรียนสร้า งมาร่วมฟังการนำเสนอด้วย เช่น แม่ค้าไก่ย่าง




เมื่อเรียนรู้ด้วยกระบวนการนี้...


ครูสังเกตุเห็นนักเรียนมีทักษะสื่อสารมากขึ้น นักเรียนกล้าแสดงออก ว่าเราต้องพูดคุยอย่างไร เมื่อเราไปคุยคนผู้ใช้ นักเรียนมีความมั่นใจในการลงมือทำมากขึ้นมั่นใจ ในการแชร์ไอเดียกับเพื่อนในกลุ่ม เพราะไปถามผู้ใช้มาจริง ๆ ว่าควรมีไอเดียอะไรได้บ้าง นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สร้าง ผลงานที่เราก็คาดไม่ถึงว่าเป็นแบบนี้ได้





ขอขอบคุณครูจี จีรวรรณ บัวทองโรงเรียนบ้านลานกระบือ จ.สุโขทัย ผู้ร่วมแบ่งปันไอเดีย

และคณะครูผู้ร่วมออกแบบการเรียนรู้

ครูเย็น เย็นฤดี ศรีสร้อย และครูเจ๋ง นิตยา ปอยเปีย

โรงเรียนพังโคนวิทยาคม จ.สกลนคร

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(5)