icon
giftClose
profile

เกมสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์

34210
ภาพประกอบไอเดีย เกมสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์

การเรียนในรายวิชาเคมี เรื่องพันธะโคเวเลนต์เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและถ้าใช้วิธีการสอนแบบอธิบายจะทำให้นักเรียนเบื่อ และไม่สนใจในบทเรียน ครูจึงคิดเกมที่ตรงกับเนื้อหาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนุกกับการเรียน

เนื้อหาไอเดีย

ให้นักเรียนศึกษาการเขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์จากสื่อลูกเต๋า หลังจากที่นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาแล้วก็ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่มเกมจับคู่สูตรโมเลกุลกับชื่อของสารประกอบโคเวเลนต์ นักเรียนกลุ่มไหนใช้เวลาน้อยที่สุดก็เป็นผู้ชนะ

4. ขั้นตอนในการจัดกิจกรรม

1. ครูอธิบายหลักการเขียนสูตรโมเลกุลและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ โดยสูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์แสดงสัญลักษณ์ของธาตุเรียงลำดับตามค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจากน้อยไปมาก โดยระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนมากกว่า 1 อะตอม ส่วนการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ให้เรียกธาตุตามลำดับจากซ้ายไปขวา ถ้ามีสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากธาตุองค์ประกอบเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด ต้องระบุจำนวนอะตอมธาตุองค์ประกอบด้วยคำระบุจำนวนในภาษากรีก

2. ครูให้นักเรียนศึกษาสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ และให้นักเรียนทำกิจกรรมเกมสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ เพื่อศึกษาสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ โดย

2.1 นักเรียนรับลูกบาศก์ธาตุอโลหะ กลุ่มละ 2 ลูก ให้นักเรียนโยนลูกบาศก์ 2 ลูก พร้อมกัน แล้วเขียนสูตรโมเลกุลและชื่อของสารประกอบโคเวเลนต์ให้ได้มากที่สุด แล้วบันทึกลงในตารางบันทึกกิจกรรม

2.2 หลังจากนักเรียนเข้าใจบทเรียนแล้ว ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจับคู่การ์ดสูตรโมเลกุลและชื่อของสารประกอบโคเวเลนต์ โดยครูชื่อสารโคเวเลนต์ติดด้วยเทปกาวแล้วนำไปติดไว้บนกระดานหน้าชั้นเรียน แล้วครูแจกสูตรโมเลกุลให้นักเรียน แล้วให้นักเรียนนำสูตรโมเลกุลที่ได้รับไปติดใกล้กับชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ของสารนั้น กลุ่มไหนใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ

 

3. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความรู้เกี่ยวกับการเกิดพันธะโคเวเลนต์ สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ ดังนี้

- ธาตุอโลหะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง ดังนั้นเมื่อรวมตัวกันจะไม่มีอะตอมใดยอมเสียอิเล็กตรอน อะตอมจึงยึดเหนี่ยวกันโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์ และเรียกสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ว่า สารโคเวเลนต์

- พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่ 2 คู่ หรือ 3 คู่ จะเกิดเป็น พันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎออกเตต เขียนแสดงได้ด้วยโครงสร้างลิวอิส ทั้งนี้การเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล โคเวเลนต์บางชนิดอาจไม่เป็นไปตามกฎออกเตต

- สูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์แสดงสัญลักษณ์ของธาตุเรียงลำดับตามค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจากน้อยไปมาก โดยระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากกว่า 1 อะตอม

- ชื่อของสารโคเวเลนต์จะเรียกชื่อธาตุตามลำดับจากซ้ายไปขวา ถ้ามีสารโคเวเลนต์ ที่เกิดจากธาตุองค์ประกอบเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด ต้องระบุจำนวนอะตอมธาตุองค์ประกอบด้วยคำระบุจำนวนในภาษากรีก

 

5.ประโยชน์ที่ได้รับ

นักเรียนได้รับความสนุกสนาน ได้ความรู้ และมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 13

ชื่อไฟล์​: 1.jpg

ดาวน์โหลดแล้ว 152 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(27)
เก็บไว้อ่าน
(6)