icon
giftClose
profile

ธรนีวิทยาผ่านน้ำพุร้อน สอนอะไรได้บ้าง

19780
ภาพประกอบไอเดีย ธรนีวิทยาผ่านน้ำพุร้อน สอนอะไรได้บ้าง

เริ่มจากเรียนรู้นอกสถานที่ ตั้งคำถาม แล้วการเรียนรู้ก็ไม่สิ้นสุด

 เราสอนวิชาธรนีวิทยา ซึ่งต้องสอนเรื่องโครงสร้างโลก ว่าโลกเรายังมีความร้อนอยู่

แต่เราอยากให้เด็กได้เรียนจากบริบทจริง และด้วยความที่พื้นที่เรามีของดีอยู่


เลยเกิดเป็นการสอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือ แต่มาจากน้ำพุร้อนใกล้บ้านเรา

ด้วยวิธีเการตั้งคำถาม ซึ่งทักษะเหล่านี้มันติดตัวเขาไปตลอดเลย


เริ่มออกทริปกัน


แต่ก่อนจะออกไปนอกสถานที่ เราจะเป็นคนเตรียมจัดการให้หมด

หัวยุ่งมาก หลัง ๆ เลยให้นักเรียนเตรียมตัวกันเอง


ข้าว น้ำ รถจะทำยังไงดี “รถสองแถวเดี๋ยวผมไปลองถามให้” 

น้ำล่ะทำไงดี “ทุกคนเอาไปกันเองดีมั้ยครับ” 

อุปการณ์ต้องใช้อะไรบ้าง “ขวดเก็บน้ำ กล้องโทรทัศ บาโรมิเตอร์”

เด็กเค้าก็จะเตรียมเองหมดเลย 

เด็กเค้าหารถได้ถูกกว่าเราอีก


พอไปถึงน้ำพุร้อน เรามีใบกิจกรรมให้ เป็นคู่มือการเรียนรู้ ให้นักเรียนไปเดินสำรวจ

เราให้นักเรียนออกไปตั้งคำถามให้ได้มากที่สุด

ตั้งเสร็จกลับมาเจอกันศาลานี้

โดยที่เราจะบิ๊วนักเรียนว่า เมื่อเช้าครูพาอีกห้องมาได้ 200 คำถาม พวกเราเอาแค่ 150 ก็พอเนาะ

หลังจากนั้นนักเรียนก็กลับมาพร้อมกับ 300 คำถาม (ทั้ง ๆ ที่ห้องที่แล้วได้ 50 คำถามเอง)


แล้วเรามาเฉลยทีหลังว่า ครูค้นพบอะไร จริง ๆ แล้วห้องแรกได้แค่ 50 ข้อ 

พลังของเรามีเยอะมาก ถ้าเชื่อว่าทำได้ เพราะฉะนั้นใช้ให้เกิดประโยชน์เลยลูก


ที่เด็ก ๆ กล้าตั้งคำถามเพราะว่าก่อนหน้านี้

ในคาบเรียน เราได้ให้นักเรียนไปหยิบใบไม้คนละ 1 ใบ 

แล้วตั้งคำถามจากใบไม้

ซึ่งเด็กมักจะตั้งจากที่เด็กเห็นอยู่แล้ว

“ทำไมใบไม้จึงเป็นสีเขียว” เราก็จะชวนคุยต่อยอดจากคำถามนั้น

สิ่งที่หนูถามเป็นสิ่งที่หนูสังเกตได้อยู่แล้ว แต่เราสามารถตั้งต่อไปได้ว่า

แล้วสารใดนะที่ทำให้ใบไม้มีสีเขียว แล้วสีเขียวมาจากสารเดียวหรือหลายสาร


เมื่อเด็ก ๆ กลับมาพร้อมคำถามจากน้ำพุร้อน 

ใครได้คำถามแนวไหนบ้าง

ครูขอมีส่วนร่วมหน่อย 

ซึ่งเรามีในใจแล้วว่าอยากให้เด็กได้เรียนรู้ 5 ประเด็นนี้

1. น้ำพุเกิดมาได้ยังไง

2. หินน้ำพุร้อน

3. สาหร่ายน้ำพุร้อน

4. กลิ่นน้ำพุร้อนมาจากไหน

5. ใต้โลกของเรายังร้อนอยู่จริงมั้ย

ก็จะชวนคุยจากคำถามของเขาใน 5 ประเด็นนี้ ส่วนที่เหลือ

ให้เขาไปหาคำตอบมาระหว่างทาง หรือนำกลับไปแบ่งกลุ่มที่ห้อง

ในการหาคำตอบข้อที่แหลือ


บางคำถาม เป็นคำถามที่ต้องใช้ควารู้ชั้นสูง เด็กบางคน

เรียนจบไป เก็บไปทำหัวข้อวิจัยตอนปริญญาโทก็มี


หลังจากนั้นเด็ก ๆ ก็ไปทำการทดลองหาคำตอบ

น้ำพุเกิดมาได้ยังไง มีอยู่ 2-3 ทฤษฏีการเกิดน้ำพุร้อน 

เด็กก็ใช้เครื่องมืออย่างแถบของอุณหภูมิไปวัดอุณหภูมิ

พืขบางชนิดอายุเท่านั้นเท่านี้ เอากล้องจุลทรรศน์ไปไปส่องดู 


ครูก็เดินดูถ่ายรูปไป จับประเด็นตรงไหนบ้างที่เค้าติด

ตั้งคำถามต่อยอด เราจะเห็นตัวตนเลยว่าเด็กสนใจด้านไหน


บางคนมุ่งมั่นมาก เค้ามาบอกคำตอบเอง 

“ผมไปเสิร์ชมานะ น้ำพุร้อนหินที่เราเจอคือหินแกรนิตใช่มั้ย”

 ผมรู้ได้ยังไง ครูไม่เคยรู้อะไรเลย ก็ถามต่อ 

ให้นักเรียนเล่า เค้ารู้ว่าเรารู้แต่เราไม่ตอบเค้าเท่านั้นเอง


ยิ่งตอนกลางวันได้ทานข้าวด้วยกัน ทำให้ช่องว่างระหว่างกันลดลง

เด็กก็ไม่ได้รู้สึกว่าครูอยู่อีกระดับหนึ่ง แต่รู้สึกว่าเราเท่ากัน


ระหว่างทางเจอฝรั่ง ก็ทักทาย การได้ออกมาเจอโลก

ได้ใช้ทักษะอะไรที่มากกว่าวิชาเรา ก็ดีใจ


ตอนสุดท้ายของการเรียนรู้ ให้เด็ก ๆ เขียนจดหมาย

ถึงใครก็ได้ 


ตัวอย่างที่เด็กเขียน

ถึงคุณหมอครับ . . .ผมไปเจอคุณตาคนนึงอาบน้ำพุร้อนอยู่ เขาบอกว่ามันจะรักษากละเกื้อนได้ มันเป็นเรื่องจริงมั้ย ถ้าเป็นเรื่องจริง จะได้ดีต่อการบอกต่อ 

ถึงผู้ว่าครับ น้ำพุร้อนนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีมาก มันติดบ้านผมเลย แต่ผมไม่เคยสนใจ ผมมาได้ศึกษา กว่าจะรู้ว่ามันเกิดมาได้ยังไง เราควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับคนรุ่นหลัง

ถึงคุณครูครับ. . .(เขาเขียนถึงคุณครูโรงเรียนเก่า) ผมมีโอกาสได้ไปน้ำพุร้อนมา เป็นเรื่องที่ออกไปเรียนรู้แล้วประทับใจมากเลย ถ้าคุณครูอยากพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ ผมสามารถเป็นพี่เลี้ยงได้


หลังจบทริปครูก็เลยต่อยอด ออกแบบการสอนให้เค้าทำเป็นทริปทัวร์ 10 แหล่ง 

จากโรงเรียนแม่จันไป 10 แหล่งนี้ยัไง โดยระยะทางสั้นสุด ค่าใช้จ่าย ที่พักตรงไหน

ลักษณะยังไง แล้วก็ให้ตั้งราคา 


เขาก็อยากให้ของเขาถูกกว่าเพื่อน แต่พอนำเสนอผลงาน

ก็จะดีเบทกัน ก็จะมีคนซักไซร้ บ้านหรูขนาดนี้ คุณตั้ง 300 เป็นไง 

รถคุณกินน้ำเปล่าหรือน้ำมัน ไปมา ๆ guide คุณล่ะมีมั้ย คุณจ่ายค่า guide ให้คุณมั้ย

มีเด็กคนนึงเถียงว่า ระยะทางเท่านี้ กับเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ทันหรอก คำนวณอย่างนี้ ๆ 

เราก็ได้เห็นว่าเค้าเก่งฟิสิกส์ไปด้วย แม้ไม่ใช่วิชาของเรา


กว่าจะมาเป็นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ 

เราทำการวิจัยเก็บข้อมูลเอง ไม่มีหนังสือ 

ขอทุนจากกสว มาทำการรวบรวมข้อมูล ส่งให้ผู้เขี่ยวชาญแก้ไขให้

ถูกต้องแล้วก็เอามาออกแบบการสอน 


ซึ่งแต่ก่อนเราก็ไม่ได้สอนแบบนี้ บรรยายเก่งมาก

สอนสองคาบติด พูด 100 นาทีแล้วก็ภูมิใจมาก 

ปรากฏว่าสอบมา นักเรียนทำได้บ้างไม่ได้มาก เราว่าเฮ้ยเราก็สอนดีนะ

ต้องมีอะไรผิดไป


เลยลองเปลี่ยนวิธีการสอน จากที่จะอธิบาย ก็ให้นักเรียนอธิบายให้ครูฟัง 

นักเรียนเห็นอะไร เห็นเมฆ เห็นอะไรอีก โยงไปโยงมาจนเค้าหาคำตอบได้เอง 

โดยเราจะไม่ตอบเค้า ครูต้องมีทักษะการตั้งคำถาม โยงไปหาตัวชี้วัดหรือเป้าหมายที่ต้องการสอนให้ได้


เดี๋ยวนี้ครูพูด 30 นาทียังไม่ถึงเลย อธิบายแนะนำให้เด็กทำเลย เด็กทำปุ๊บจะคำถามจะมาทันที แล้วเราค่อยไปคุยกับเค้าตอนนั้น เพราะถ้าเด็กยังไม่มีปัญหาแล้วเราไปอธิบาย เค้าก็ไม่ได้สนใจ เราก็เปลืองน้ำลายเปล่า กลุ่มอื่นแอบมองแอบฟัง แสดงว่าเด็กสนใจ เราอยากให้เค้าฟังอยู่แล้ว


การเรียนแบบนี้เด็กเหมือนได้ทำโปรเจคอยู่ทุกวัน ๆ 

เด็กเค้าเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ถาวร

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(3)