icon
giftClose
profile

สิงห์เหนือเสือใต้ เยาวชนพลเมืองสัมพันธ์

9430
ภาพประกอบไอเดีย สิงห์เหนือเสือใต้ เยาวชนพลเมืองสัมพันธ์

เมื่อเด็ก ๆ จากสองภาคได้มาเรียนรู้ร่วมกัน

โรงเรียนเครือข่ายโครงการเยาวชนพลเมือง เป็นการร่วมมือกันของคุณครูจากหลายโรงเรียน ซึ่งได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายให้เด็ก ๆ ได้เกิดการเรียนรู้

 

ครูก้องสอนอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ คุณครูได้ร่วมออกแบบและดูแลโครงการนี้ และได้มาแบ่งปันเรื่องราว กิจกรรม ‘สิงเหนือเสือใต้ เยาวชนพลเมืองสัมพันธ์’ ที่จัดขึ้นสำหรับนักเรียนม. 4-6 สองภาคมาทำกิจกรรมร่วามกัน

เมื่อโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ปัตตานี มาเยี่ยมชมและพานักเรียนเข้ามาแลกเปลี่ยนกันด้วย



ช่วงเช้า


1. เริ่มจากกิจกรรมละลายพฤติกรรม ลงทะเบียนให้นักเรียนเหนือทั้งสี่รร ใส่ชื่อนักเรียนในใบลงทะเบียน นักเรียนเราหนึ่งคนเว้นไว้สามสี่ช่อง ช่องว่างเว้นให้เพื่อนปัตตานีลงทะเบียน จับบัดดี้กัน อยากให้เด็ก ๆ ได้สนิดสนมกันเร็วขึ้น ทุกกิจกรรมจะอยู่กันเป็นกลุ่มนี้เลย

2. ละลายพฤติกรรมคือให้แลกเปลี่ยนภาษาที่ใช้ เด็กเหนือสอนใต้ว่าภาษาไหนน่าสนใจ เช่น กินข้าวรึยัง เด็กใต้สอนเด็กเหนือ ภาษาใต้ ภาษายวี ออกมานำเสนอหน้าห้อง เด็กก็สนุกกัน

3. ครูพูดถึงโปรเจคที่ทางเหนือทำ โครงการเยาวชนพลเมือง โครงการของสพฐ. ชื่อโครงการของสพฐ. เป็นกระบวนการสร้างพลเมืองโดยใช้พื้นที่ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ยึดทฤษฎีพลเมืองสามแบบที่เราอบรมมา โครงการรวมที่เราทำ  

4. ให้เด็กสี่โรงเรียนนำเสนอว่าทำอะไรไปบ้าง ทางใต้เค้าอยากทำบ้างเลยมาดูงาน และให้ครูมาแนะแนวการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่



 ช่วงบ่าย


1. พานั่งรถไฟฟ้าเที่ยวรอบมหาวิทยาลัย ดูบริบทเมืองเชียงใหม่ว่าสภาพภูมิศาสตร์ กายภาพเป็นอย่างไง มีการบรรยายที่รถแต่ละคัน

2. ลงพื้นที่ไปศึกษาหนึ่งในสี่โปรเจคพื้นที่จริง สวนผักคนเมืองเชียงใหม่ ที่จริงเป็นที่ทิ้งขยะเก่ากลางเมือง สองข้างเป็นสุสานพุทธมุสลิม อยู่สองด้าน คลองอยู่อีกด้าน มีการจัดการพื้นที่เป็นสวนผักในเมืองเป็นพื้นที่สาธารณะ ช่วยกันปลูกดูแลใครจะเก็บผักก็ได้ พาเด็กไปเรียนรู้ การจัดการพื้นที่สาธารณะ ก่อนทำใบงานให้ความรู้เกี่ยวกับสวนผักก่อน การจัดการพื้นที่ พื้นที่สาธารณะ 

3. ให้เด็กมองสะท้อนว่าในพื้นที่ท้องถิ่นตัวเอง มีพื้นที่ว่างเปล่ามั้ย สามารถทำอย่างไรได้บ้าง ให้พื้นที่เหล่านั้นกลับมามีประโยชน์กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ อาจไม่ใช่สวนผัก แต่พัฒนาเป็นสวนสาธารณะมีการเอาสวนผักเป็นโมเดล ทางเหนือจะมีคลองเยอะ ริมคลอง ที่เป็นของสาธารณะ

4. ให้เด็กเหนือกับใต้จับกลุ่มกันทำใบงาน ซึ่งใบงานนี้จะทำให้เด็กได้เดินทั่วสวนผัก ไปค้นหาผักกลุ่มละชนิด มีเด็กเหนือสองคนใต้สี่ห้าคน กำหนดผักแปลก ๆ พื้นถิ่นภาคเหนือ ให้เด็ก ๆ สองภาคไปเดินหาว่าผักนี้อยู่ที่ไหน ใบงานมีลักษณะว่าภาคเหนือชื่อนี้ ใต้มีมั้ยชื่ออะไร ประโยชน์ สรรพคุน ใช้ต่างกันอย่างไร เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ ผักชนิดหนึ่ง 

5. ครูให้เด็กทำวิดิโอสั้น ๆ ที่ถ่ายเอง อธิบายเรื่องผักที่ได้รับมอบหมาย แลกเปลี่ยนในกลุ่ม ลง facebook 



เด็กนักเรียนทางเหนือ ทำโปรเจคแต่ละทีมมานานพอสมควร 2-3 เดือน การที่เขาได้เอางานตัวเองมานำเสนอเล่าให้คนอื่นฟัง เหมือนเป็นการทวนงานตัวเองว่าทำไรไปบ้าง เป็นการทบทวนด้วยว่าอยู่ทิ้งคอนเซปงานตัวเอง แต่ละทีมที่ไม่เหมือนกัน เช่น อนุสรญี่ปุ่นเป็นเรื่องสันติศึกษา, สันป่าตองเป็นเรื่องการจัดการชุมชน จัดการด้านต่าง ๆ ของสันกำแพง, เตาเผาสันกำแพงที่มีอายุสี่ห้าร้อยปี เป็นเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ชุมชน

เด็กจะได้ทบทวนตัวเอง ได้ความมั่นใจว่า พอบรรยายนำเสนอให้เพื่อนและครูปัตตานีฟัง ก็ได้รับความสนใจ ทำให้เด็กมีความกล้ามั่นใจในงานตัวเอง ว่ามาถูกทาง เด็กก็จะมีพลัง 


เด็ก ๆ จากปัตตานี บางคนตอนแรกยังไม่เคยทำอะไรมาก่อน พอมาเจอเพื่อนระดับชั้นเดียวกัน มาเห็นเพื่อนทำงานน่าสนใจก็อยากจะเอาไปทำที่พื้นที่ของเขา โดยที่ครูจะเป็นที่ปรึกษาอำนวยการความสะดวก จัดกระบวนการเรียนรู้ให้


ครูประทับใจเด็กทำงานกันเป็นแล้วก็ใช้โปรเจคเป็นฐาน เป็นการสร้างพลเมือง บอกเด็กเสมอว่าโครงการครูบรรลุวัตุถุประสงค์มานานแล้ว ไม่ได้ให้เด็กทำโปรเจคเพื่อเปลี่ยนชุมชน ครูต้องการแค่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนสร้างพลเมืองด้วยการทำโปรเจค 

พลเมืองสามแบบ หนึ่งรับผิดชอบ สองมีส่วสนร่วม สาม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงบางอย่างในพื้นที่ให้ดีขึ้น


ติดตามโปรเจคของเด็ก ๆ ได้ที่ tag #โครงการเยาวชนพลเมือง ทาง facebook




ขอขอบคุณ คุณครูผู้ร่วมแบ่งปันไอเดีย :D

ครูก้อง คุณอดิศร เนตรทิพย์

และคณะครูผู้ร่วมออกแบบและดูแลโครงการ

ครูอรสิริพิมพ์ บริหารธนโชติ, ครูตระการ ทนานทอง, ครูภาริทธิ์ อมรรัตนปัญญา, ครูพงษ์พัฒน์ ยะพลหา

โรงเรียนเครือข่ายโครงการเยาวชนพลเมือง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)