“อาจเป็นเพราะว่าเราเป็นนักเรียนมาก่อน แล้วเราก็ไม่ชอบครูที่ว่าเราอย่าทำแบบนี้นะ นี่ไม่ได้”
ด้วยที่มาแนวคิดนี้ครูอีฟจึงจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วม ได้แสดงออก เปิดให้เด็ก ๆ ได้แสดงความคิดที่หลากหลาย และได้มีความสุขกับการเรียนรู้
ในหลักสูตรต่อต้านทุจริต ป. 4-6 ครูอีฟได้จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ได้คุยกับเด็ก ๆ เรื่อง “การแยกแยะประโยชน์ส่วนตัวกับส่วนรวม”
การสอนที่หลักสูตรให้มาคือ ให้ข้อความมาแล้วให้เด็กรู้จักแยกแยะ ว่าอะไรบ้างเป็นส่วนตัว ส่วนรวม
แต่ของครูอีกได้ให้เด็ก ๆ เขียนเอง
การแยกแยะประโยชน์ส่วนตัว กับส่วนรวม
1. คุยกันกับเด็กก่อนว่าเราจะทำชิ้นงานเรื่องนี้ อยากทำเป็นงานเดี่ยว, งานกลุ่ม หรือทั้งห้อง เด็กเลือกที่จะทำแบบรวมกันทั้งห้อง เพราะเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนรวม
2. คุยกันว่าเราจะทำแบบไหน เราสร้างผลงานอย่างไร ครูเปิดตัวอย่างให้ดูว่า เช่น อันนี้เป็นรูปต้นไม้ หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ เด็ก ๆ เสนอว่าเราเอาร่มไม่ใช้แล้วเอากระดาษไปติด ความคิดแต่ละคนให้ได้มาเขียนแปะไปในร่ม เราจะเอาเรื่องอะไรมาทำ เด็ก ๆ เสนอเรื่องลอยกระทง
3. มาคุยกันว่าประโยชน์ส่วนตัวมีอะไรบ้าง เช่น จุดประทัด จอดรถริมถนน ประโยชน์ส่วนรวม เราพูดถึงอะไรบ้างในฐานะพลเมือง หรือคนในหมู่บ้าน เราอย่างไรในประเพณีลอยกระทง จะจอดรถเป็นที่ ไม่เล่นประทัดเสียงดัง ไม่ปล่อยโคมลอย เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ที่จะแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับส่วนรวม เอามาคิดว่าเราต้องคิดถึงอะไรบ้าง ทำเป็นคล้าย ๆ ใบไม้ไปติดในร่ม แล้วเอามานั่งพูดกัน
เด็กต่างชั้นกัน เรียนเรื่องนี้จะต่างในเรื่องผลงาน การแสดงความคิดเห็น แต่นักเรียนตอบในลักษณะเดียวกันว่า ต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ถ้าเราเห็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ทะเลาะวิวาทเป็นส่วนตน
เด็กอีกห้องห้องอยากแสดงละคร
ครูมีกรอบที่วางไว้ แล้วให้เด็กเกิดความคิดออกแบบการเรียนรู้ร่วมด้วย เด็กนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
ครูเห็นว่าตอนนี้เด็กพูดหยาบมากขึ้น หรือมีพฤติกรรมไม่ดีมากขึ้น ก็จะชวนเด็ก ๆ มาคุยกันว่าเกิดจากอะไร แก้ปัญหาอย่างไร กติกาไม่มาจากคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นมติของห้อง ของนักเรียนมากกว่า เด็ก ๆ ได้แสดงความเห็นของตัวเอง
จากการเรียนรู้แบบนี้..
ครูรู้สึกได้เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างผลงานเอง ไม่ได้มีกรอบ อย่างตอนประดิษฐ์กระทงก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำกระทงจากอะไรเท่านั้น ครูเห็นว่าเด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เด็กมีไอเดีย เด็กได้นำวิชาอื่นมาใช้ในการทำกระทง ได้พูดปัญญา บางคนทำเป็น เอาเมล็ดธัญพืช มาทำกระทง กระทงไม่ได้เป็นรูปร่างวงกลมอย่างเดียว มีเป็นเรือ เด็กบอกว่าเรือต้านแรงแสียดทาน เขาเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ เขาต่อยอดได้ และอยากประดิษฐ์อย่างอื่น
ผลงานเด็กจากเศษวัสดุเหลือใช้เอามาบูรณาการเป็นแต่ละหน่วยของวิทยาศาสตร์ เช่น ห่วงโซ่อาหารเอากล่องมาทำประดิษฐ์ ครูรู้สึกว่าเด็ก ๆ มีความสุขและอยากต่อยอด อยากพัฒนางานตัวเอง รู้จักแก้ปัญหา มีทักษะการคิดมากขึ้น ฟังคนอื่นมากขึ้น มีทักษะการทำงานและการสื่อสาร
ครูรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นแค่ครูที่สอน แต่คิดว่าครูเป็นผู้ชี้นำ เป็นผู้คอยส่งเสริมชี้แนะให้เด็ก ๆ เป็นการให้กำลังใจ ชวนให้เห็นความน่าตื่นเต้นที่จะเรียนรู้ โดยที่ครูไม่ได้ว่าอย่าทำนะ ครูคิดว่าเป็นโค้ชในการให้เค้าประสบความสำเร็จในชิ้นงาน
ขอขอบคุณ คุณครูผู้ร่วมแบ่งปันไอเดีย :D
ครูอีฟ ณิชาภัฎฐ์ ธีระบุณยภรณ์
โรงเรียนวัดป่าแดด จ.เชียงใหม่
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย