หน่วยการเรียนรู้บูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นป.6 เป็นการเรียนที่เด็ก ๆ ได้เจอปัญหา ได้จำลองให้รู้ชีวิตจริงในอนาคต เป็นสิ่งที่พบเจอจริง และได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน รับฟังความคิดเห็น
วิชา บูรณาการ PBL
หน่วยการเรียนรู้นี้เรียนบูรณาการ 5 สะระคือ วิทยาศาสตร์ คนิตศาสตร์ สังคมศึกษา ดนตรีศิลปะ สุขศึกษา เป็นการเรียนแบบบูรณาการที่มีต้นแบบจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วได้มาออกแบบปรับให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน หน่วยนี้แกนของหน่วยเป็นวิทยาศาสตร์กับสุขศึกษา เน้นเรื่องอาหาร
สลัดโรล สลัดโลก เพื่อสุขภาพ
1. เริ่มจากสร้างแรงบันดาลใจ ให้ดูคลิปการทำอาหาร ดูความพิถีพิถัน
2. ครูให้นักเรียนสรุปการเรียนรู้ ว่าได้เรียนรู้อะไร เริ่มสอบถามพี่ ๆ (ที่โรงเรียนจะเรียกนักเรียกว่าพี่นักเรียน) ชอบทานอาหารประเภทอะไร ทำอย่างไร ให้เด็กไปสืบค้น เลือกอาหารมาทำ วิเคราะว่าอาหารนี้มีคุนค่าสารอาหารอะไร
3. มาพุดคุยกันว่า ในหน่วยการเรียนนี้ อะไรบ้างเป็นสิ่งที่รู้แล้ว อะไรคือสิ่งที่อยากเรียนรู้ ครูเอามาจับกลุ่มโยงกับสิ่งที่ครูวางแผนไว้ กับรายสัปดาห์ นักเรียนได้ออกแบบเอง รู้สึกเป็นเจ้าของ ไม่ได้เรียนเพราะครูบอกให้เรียน แต่เรียนเพราะ อยากรู้ร่วมกัน
4. สัปดาต่อไปเรียนตามปฏิทิน แต่ละขั้น
ให้นักเรียน ออกแบบสรุปความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนภาพ ละคร ครูให้เลือกว่าสรุปการเรียนรู้รายสัปดานี้อยากทำแบบไหน mind mappng, การ์ตูนช่อง บางทีแต่ละคนทำไม่เหมือนกัน บางทีเป็นการปรึกษา จะแบบไหนก็ออกมาจากตัวนักเรียนเอง ตอนวางแผนปฏิทินร่วมกันเราวางว่าเราจะสรุปการเรียนรู้แบบไหนดี เราวางแผนไว้แล้วรายสัปดาห์
เมื่อหน่วยนี้มาจากความสนใจของผู้เรียนเอง ผู้เรียนอยากเรียนเอง โรงเรียนเราไม่มีหนังสือเรียน มีสื่อในการสืบค้น
สร้างให้อยากเรียน เรื่องที่ตรียมเป็นเรื่องที่นักเรียนอยากเรียนรู้เอง ถึงเป็นโครงเดียวกัน ในปีการศึกษาที่แล้วหรือต่อไปชื่อหน่วยขึ้นกับนักเรียนตั้งชื่อ เอง ครูแค่วางโครง ครูวางแค่เราจะเรียนแนวทางนี้ เกี่ยวกับการบริโภคการเลือก อาหารชนิดภาคต่าง ๆ สิ่งแปลกใหม่ ทำอาหารสี่ภาคในวันเดียวกัน อาหารหนึ่งอย่าง จะมีนักเรียนสามคนทำร่วมกัน เช่น ทำคั่วกลิ้ง น้ำพริกอ่อง ส้มตำ หมูสร่ง แบ่งตั้งแต่หาข้อมูล ทำ สรุป สิ่งไหนทำดีสิ่งไหนปรับปรุง ส่วนนี้พี่ ๆ ถ่ายทอดได้ แล้วที่ครูประทับใจ ได้เห็นศักยภาพนักเรียนได้แสดงออกเรื่องความรู้ความสามารถ
ประยุกต์เรื่อง สลัดโรล สลัดโลก บริโภคเพื่อสุขภาพ
ได้รู้เรื่องการผลิตอาหารกินเอง การปลูกผักออแกนิก ทำแป้ง คำนวณคุนค่าสารอาหาร การเลือกกิน การเผาผลาญ
นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะการทำงานทักษะอาชีพ ได้คิดต้นทุนกำไรขาดทุน เป็นการเรียนสิ่งที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น การทำแป้ง เริ่มดูตั้งแต่ว่าแป้งมาจากไหน เอาอะไรมาทำแป้งได้บ้าง ทำแล้วเอาแป้งไปทำไรได้อีก เมนูอะไร คุนค่าทางอาหาร ผลกระทบต่อสุขภาพ เชื่อมโยงโรค NCDs
ครูส้มมองว่าครูไม่ได้มีหน้าที่สอนความรู้ แต่ครูมีหน้าที่จัดกระบวนการเรียนเให้เด็ก ๆ หาความรู้มากกว่า
เป็นแนวจัดกระบวนการเรียนรู้ เรียนรู้ร่วมกับนักเรียน ไม่ใช่บอกความรู้ให้นักเรียนจำ
ครูจะใช้การชม เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ใช้คำถาม ให้เด็กอยากหาคำตอบเชื่อมหาความรู้จากผู้รู้จากสื่อ ได้ลองทำ เจอปัญหาแล้ว ทดลองใหม่
เมื่อจัดกิจกรรมแบบนี้…
เด็กชอบที่ได้เรียน ที่เขาได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้เป็นเป็นความจำติดจากการลงมือทำไม่ใช่จากอ่านเพื่อสอบ ไม่ใช่สอบเสร็จลืม ครูเห็นว่านักเรียนมีควมสุขตั้งใจสนใจเรียน เป็นการเชื่อมให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมกับนักเรียน เตรียมของที่นักเรียนมีงานไปถาม ผู้ปกครองช่วยกับครูที่โรงเรียนด้วย ช่วยส่งเสริมการโรงเรียนเรียนรู้ บางครั้งครูไม่มีความรู้เรื่องนี้ ก็เชิญผู้ปกครองมาช่วยจัดกระบวนการเรียนรู้ เกิดความสัมพันที่ดีโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
ความประทับใจของครูส้ม
ประทับใจที่ได้เห็นพัฒนาการ ก่อนหน้าสอนแบบโรงเรียนทั่วไป บางทีก็น่าเบื่อสำหรับเด็ก ๆ แต่การเรียนแบบนี้ทุกคนได้ลงมือทำ ประทับใจที่ได้เห็นความคิด นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็น ทุกคนได้แชร์ ร่วมกัน สิ่งที่บอกว่าผิดถูกทุกคนได้ตัดสินใจเองร่วมกัน นักเรียนมีทักษะในการใฝ่เรียนรู้ ทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
นักเรียนได้แสดงออกควมคิดเห็น ยอมรับฟังความต่าง ต่างก็ไม่จำเป็นต้องโกรธ รับฟังกัน ครูมองว่าในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในชีวิตจริงเราใช้ทุกวิชา แยกไม่ได้ ทุกอย่างสำคัญเท่ากัน ไม่ใช่ว่าศิลปะหรือสุขศึกษา ไม่ได้มีแต่ คนิตศาสตร์ อังกฤษ ไทย
ที่มาของการเรียนรู้แบบนี้มาจากแนวคิดว่า การเรียนรู้แบบเดิม ๆ อาจไม่ใช่การเรียนรู้ที่จะพาเด็กในยุคนี้ไปถึงฝั่ง การเรียนรู้เปลี่ยนไปแล้ว ครูต้องปรับตัวให้ทันโลก การสอนแบบเดิมมันดีสำหรับยุคสมัย แต่ตอนนี้ไม่ทันการที่จะบอก โรงเรียนเลยบอกว่าครูต้องขยับ จะไม่ย่ำกับที่ โรงเรียนจึงเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ปี 58
ขอขอบคุณ คุณครูผู้ร่วมแบ่งปันไอเดีย :D
ครูส้ม รัตนา บัวแดง
โรงเรียนวัดโคกทอง จ.ราชบุรี
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย