icon
giftClose
profile

อำนาจกับสิทธิความเป็นมนุษย์

21422
ภาพประกอบไอเดีย อำนาจกับสิทธิความเป็นมนุษย์

ไอเดียการจัดการเรียนในประเด็นการรู้จักอำนาจและการเสริมพลัง โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่นักเรียนจะได้สัมผัสจากประสบการณ์จริง จาก 4 คาบเรียนสุดสร้างสรรค์ โดยครูจุ้บแจง ครูสอนแนะแนวแสนน่ารัก✨


“เมื่อโดนแก้แค้นรู้สึกอย่างไร?”

“รับฟังส่งๆ กับ เข้าใจจริงๆ ต่างการอย่างไร?”

“อะไรทำให้คนเราไม่กล้าแสดงความเศร้าออกมา?”

...


อำนาจเป็นสิ่งที่มีมากมายและอยู่รายล้อมรอบตัวเราโดยที่เราเองไม่รู้ตัว ทั้งเราเป็นผู้ใช้และเป็นเหยื่อของอำนาจ การรู้จักอำนาจจะทำให้เราใช้อำนาจได้อย่างถูกวิธี ปกป้องเราจากอารมณ์ความรู้สึกที่โดนกดทับ ยังรวมไปถึงการใช้อำนาจเชิงบวกที่จะทำให้ทุกคน มีพลังอำนาจในตัวเอง จนนำไปสู่ความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจ เรามาเรียนรู้การใช้พลังอำนาจไปพร้อมกันกับ 4 คาบเรียนนี้ Let’s Go!!


ตัวอย่างคาบเรียนที่ 1

เริ่มต้นด้วยการดึงดูดความสนใจนักเรียนด้วยเกมง่ายๆ เช่น ปรบมือตามจำนวน เมื่อนักเรียนเริ่มโฟกัสแล้วครูชวนนักเรียนมาเล่นเกมกัน !


อันดับแรกครูมาแนะนำตัวละคร ‘น้องอำนาจ’ ที่เมื่อใครได้ครอบครองน้องอำนาจ คนคนนั้นจะมีอำนาจอยู่ในกำมืออ~  โดยจะสั่งใครก็ได้ที่อยู่ทีมตรงกันข้าม

กติกา

-               ครูจะใช้น้องอำนาจ สร้างกติกาขึ้น โดยครูได้สั่งว่า ครูจะสุ่มเลขที่เลือกนักเรียน 5 คน โดย 5 คนแรกเป็นทีมที่ 1

ซึ่ง 

-               ทีมแรกจะได้ครอบครองน้องอำนาจไป โดยสามารถออกคำสั่งอะไรก็ได้ให้กับทีมที่ 2 (โดยอยู่ขอบเขตของการดูแลจากคุณครู) 


-               ครูได้กระซิบว่าอำนาจของทีมที่ 1 หากไม่สั่งในทันที อำนาจจะหมดไปภายใน 5 วินาที และน้องอำนาจจะถูกเปลี่ยนมือไป  


        -      เมื่อครบ 5 นาทีน้องอำนาจก็จะถูกสลับเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ จนครบ 3 รอบ โดยครูสังเกตการณ์ในห้องเรียน


-               ครูให้นักเรียนกลับมานั่งที่เดิม พร้อมเล่นมินิเกมดึงสติ ด้วยการปรบมือตามจำนวน จากนั้นคุณครูพานักเรียนนั่งหลับตาเพื่อทบทวนเหตุการณ์ ความรู้สึกระหว่างทำกิจกรรม

-               ครูแจกกระดาษแล้วให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.    ให้นักเรียนอธิบายความรู้สึกระหว่างการทำกิจกรรมในรอบแรก

2.    ให้นักเรียนอธิบายความรู้สึกระหว่างการทำกิจกรรมในรอบที่สอง

3.    ตอนที่นักเรียนโดนแก้แค้น นักเรียนรู้สึกอย่างไร

4.    การใช้อำนาจ ออกคำสั่ง คุกคาม นั้นได้ทำลาย ความต้องการ ของผู้ถูกกดขี่อย่างไร อย่างน้อย 5 ข้อ 

5.    ให้นักเรียนเล่าเหตุการณ์ ที่ตนเองตกเป็นเหยื่อในการใช้อำนาจ ว่าเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นบ้าง

-               ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมที่ผ่านมา ว่าเกิดอะไรขึ้น

-               จากนั้นให้นักเรียนไปจับคู่กับเพื่อนที่ตนเองสนิท และไว้วางใจ เพื่อระบายเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น ฝึกการรับฟังระหว่างกัน

-               โดยก่อนหมดคาบเรียนคุณครูสรุปกิจกรรม และเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจประเด็น อำนาจนิยม การใช้อำนาจ ระหว่างกัน


ตัวอย่างคาบเรียนที่ 2

คาบเรียนนี้เป็นคาบเรียนที่ครูจะพานักเรียนดูหนังเรื่อง “Inside out” จากนั้นให้นักเรียนเขียนความเชื่อของตนเองลงสมุดว่า “น้องเศร้าซึมมีประโยชน์หรือไม่อย่างไร” ตรงน สามารถเขียนได้อย่างอิสระ ไม่มีผิดหรือถูกและไม่ด่วนตัดสินเขาเพียงเราคิดต่างกัน


ตัวอย่างคาบเรียนที่ 3

หลังจากที่ครูได้พานักเรียนดูหนังเรื่อง inside out ไปในคาบที่แล้ว จึงนำมาสู่การเรียนรู้เรื่องทักษะการรับมือกับความเศร้า ทักษะการปรับตัวอย่างเหมาะสม ทักษะการเสริมพลัง การให้กำลังใจ ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ และประเด็นการปรับตัวได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม

อันดับแรกครูทำการสรุปหนังเรื่อง inside out จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อน โดยให้มีหนึ่งคนจดสรุปประเด็นคำถามว่า “อะไรทำให้คนเราไม่กล้าแสดงความเศร้าออกมา?” ทำการระดมคำตอบให้ได้มากที่สุด

ต่อมาให้จับคู่กับเพื่อนคู่ข้างๆ เพิ่มจำนวนจาก 2 คน เป็น 4 คน ทำการปลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แล้วหาคำตอบที่ทุกคนพอใจมากที่สุดมา 1 คำตอบ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในห้อง

หลังจากที่ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนคำตอบกันไปแล้ว ต่อมาครูทำการชวนนักเรียนคิดเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความเศร้า และชวนนักเรียนสร้างข้อตกลงร่วมกัน เพื่อทำกิจกรรมการฝึกยอมรับกับความเศร้าในตนเองและเพื่อน เช่น ทุกคนต้องรักษาความลับซึ่งกันและกัน เป็นผู้รับฟังโดยไม่ตัดสินเพื่อน

ให้นักเรียนเขียนบรรยายเหตุการณ์ในประเด็นที่สบายใจที่จะแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เมื่อเขียนเสร็จให้นักเรียนกลับเข้าคู่ของตนเองและผลัดกันรับฟังโดยไม่พูดแทรก รวมถึงการไม่ตัดสินเพื่อน 

ครูชวนคุยเรื่องการให้คุณค่าในการับฟังและการให้กำลังใจ โดยเปรียบเทียบระหว่างการให้กำลังใจและรับฟังอย่างไม่เห็นคุณค่า ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรกับการรับฟังโดยเห็นคุณค่า โดยเชื่อมโยงกับหนังเรื่อง inside out ว่าสอดคล้องกับประเด็นที่ชวนคุยอย่างไร

ครูให้นักเรียนเล่าเรื่องที่ตนเองรู้สึกภาคภูมิใจในเหตุการณ์ที่สามารถก้าวผ่านมาได้ ให้เพื่อนที่นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะเล่าฟัง ลังจากฟังเรื่องราวของกันและกัน ให้นักเรียนมอบ 1 คำ ที่แสดงถึงสิ่งที่ทำให้เพื่อนผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้


ตัวอย่างคำที่มอบให้เพื่อน



สุดท้ายหลังจากที่ทำกิจกรรมทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกทางความรู้สึกอย่างอิสระ เช่น การกอด การจับมือ เป็นต้น


ตัวอย่างคาบเรียนที่ 4

เริ่มต้นการทำกิจกรรมด้วยการให้นักเรียนทำสมาธิผ่านกระบวนการทำ Body Scan โดยให้นักเรียนลองเอาหัวใจไปไว้ที่ลายเส้น ทำการสวมความรู้สึกนั้นๆที่มาจากหนัง inside out 


ต่อมาครูให้นักเรียนลองทบทวนว่าในแต่ละความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นเพราะสิ่งใด? เหตุการณ์ใด? ใคร? เพราะอะไร? ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกนึกคิดนั้น แล้วได้เรียนรู้อะไรจากตนเองบ้าง


สุดท้ายครูชวนตั้งคำถามผ่านกิจกรรมกับความรู้สึกจากตัวละครแต่ละตัวในหนังเรื่อง inside out ว่ามีประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไร แล้วชี้ให้เห็นผลลัพธ์ของความรู้สึกนั้น ผ่านทฤษฎีทางจิตวิทยา


            

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(6)