icon
giftClose
profile

เรียนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

75680
ภาพประกอบไอเดีย เรียนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

การเรียนภาษาเพื่อการคิดขั้นสูง เพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ ความเป็นไปในโลก และใช้ภาษาถ่ายทอดความเข้าใจ

การเตรียมการของครู


1. เลือกวรรณกรรม

ครูเลือกวรรณกรรมให้เหมาะกับระดับชั้นนักเรียน

ที่โรงเรียนลำปลายมาศครูใหญ่เป็นนักเขียน ครูจะเลือกจากวรรณกรรมที่ครูใหญ่เขียนมาร่วมด้วย เช่น เรื่องสั้นปฏิบัติการรัก 35 เรื่อง และใช้วรรณกรรมต่างประเทศด้วย


2. ทำความเข้าใจเรื่องราว

ครูอ่านวรรณกรรมที่เลือกมาเพื่อทำความเข้าใจว่าแก่นเรื่องคืออะไร

ครูวิเคราะห์ว่าเรื่องที่อ่านสะท้อนสังคม ชีวิต ด้านไหนบ้าง เช่น เรื่อง “รักในเอเดน” แก่นเรื่องคือ ความหมายของความรักที่แล้วแต่คนตีความ เรื่องนี้สะท้อนสังคมเรื่องอะไรบ้าง เช่น ความรักในสถานะที่ต่างกันทางความเชื่อวัฒนธรรม การยอมรับเพศที่สาม ชีวิต สมหวังผิดหวัง การพลัดพลาก ความเจ็บปวด และสุดท้ายเหลือแค่ความทรงจำ




ขั้นตอนของกิจกรรม


1. คาดเดาเรื่อง

ครูให้นักเรียนดูภาพหน้าปก ตั้งคำถามให้เด็ก ๆ เห็นความสำคัญของ “คำสำคัญ” ในเรื่อง เช่น เรื่องรักในเอเดน มีคำสำคัญ เช่น คำว่า “เยิรยวน” เราดึงมาให้เด็ก ๆ คาดเดาความหมาย เอามาติดต่อเรื่อง ให้เดาว่าเรื่องประมานไหน



2. พาอ่านจับประเด็น

เพื่อให้เข้าใจเรื่องราว ให้นักเรียนอ่านตามครู, อ่านออกเสียง และอ่านตามเพื่อน เพื่อให้เห็นวิธีการเว้นวรรค การใช้เสียง การหายใจ และให้อ่านในใจ

จากนั้นครูใช้คำถามว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? เมื่อไหร่? อย่างไร?



3. การตีความใต้บรรทัดและการนำไปใช้

1.) ตีความเรื่องที่เนื้อเรื่องไม่ได้บอก

ครูชวนตั้งคำถาม เช่น…

เรื่องนี้ไม่ได้บอกว่าอีกานอนกี่โมงจะรู้ได้อย่างไร

สวนเอเดนอยู่ที่ไหน

รักกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ใช้เทคนิค ชง - เชื่อม - ใช้

ชง คือการชงด้วยเหตุการณ์

เชื่อม “เชื่อมตนเอง” กับเรื่องราวด้วยการตีความอ้างอิงจากเรื่อง และ “เชื่อมกันและกัน” โดยการให้นักเรียนได้มาถกหรือโต้วาทีกัน

ใช้ ให้นักเรียนได้ลองนำไปใช้ด้วยการเขียน


2.) ตีความสะท้อนความเชื่อสังคมวัฒนธรรม

ครูยกประเด็นจากวรรณกรรมบทหนึ่งขึ้นมา เช่น เรื่องชนชั้นวรรณะ

ชง ครูยกตัวอย่างคำ ลองตั้งคำถามการตีความ

เชื่อม

เชื่อมตนเอง ให้เด็ก ๆ เขียนความเข้าใจของตัวเอง

เชื่อมกันและกัน ให้คุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน

ใช้ ให้นักเรียนเขียน


3.) ฝึกอ่าน

ให้เด็กฝึกอ่าน สื่อสารด้วยภาษาเสียง ครูอาจอ่านให้ฟังเอง หรือเอาคลิปที่กวีอ่านมาให้ฟังลีลาน้ำเสียงก่อน

ชง ครูอ่านให้ฟังหรือดูคลิป

เชื่อม

เชื่อมตนเอง ใคร่ครวญกับตัวเอง

เชื่อมกันและกัน ในกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย

ใช้ ให้นักเรียนมาอ่านบทกวี


4.) เขียนกวีเอง

ให้นักเรียนเขียนผลงานของตัวเอง สะท้อนความรักแบบนั้นตามที่ได้อ่าน ให้เขียนบทกวีสะท้อนแบบเดียวกับที่ครูให้อ่าน ให้เด็ก ๆ แต่งเอง อ่านเอง ตีความเอง



4. ฝึกเชื่อมโยงหลักภาษา

ชง คือขั้นการให้ประสบการณ์ เป็นการให้คำถาม ครูถามว่าเห็นอะไร พูดถึงรัก นึกถึงอะไรบ้าง ดูหน้าปกหนังสือ อ่านคำสำคัญที่เลือกมา เช่น เยิรยวน แล้วคิดถึงอะไร คิดว่าทำไมครูเลือกใช้คำนี้ เลือกคำทีละคำในวรรณกรรมมาให้เด็กนำคำเหล่านี้มาปะติดต่อเรื่องราว

เชื่อม

เชื่อมตนเอง คือการใคร่ครวญเขียนคำติดต่อเรื่องตามที่คาดเดา

เชื่อมกันและกัน คือการแบ่งปันกะเพื่อน

ใช้ คือการเขียนเรื่องราวเอง นำไปใช้


1.) การจัดระบบข้อมูล

ชง ให้เด็กเลือกคำยาก คำที่เค้าสนใจ เขียนบนกระดาน เช่น เขินอาย เย่อหยิ่ง ครูถามว่ามีคำไหนอีกบ้างใกล้เคียงหรือตรงข้ามกัน ให้นำมาเขียน

เชื่อม

เชื่อมตนเอง ลองจัดหมวดหมู่คำ

เชื่อมกันและกัน share and check ค้นคว้าจัดหมวดหมู่คำ มีวิธีจัดยังไง ให้เค้าทำเอง อาจแบ่งกลุ่มช่วยกันจัดหมวดหมู่ ให้แต่ละกลุ่มมาแชร์กัน

ใช้ - ให้ออกแบบจัดระบบคำที่มีความหมายโดยตรงโดยนัย


2.) ฝึกประสบการณ์

ฝึกประสบการณ์ทางภาษา ด้วยการอ่านเขียนเชื่อมเรื่องราว

ชง อาจแบ่งกลุ่มเล่นเกม วาดภาพ ทายคำ หรือเล่นกับเพื่อน

เชื่อม

เชื่อมตนเอง ว่ามีประสบการณ์กับคำนั้นอย่างไร

เชื่อมกันและกัน ให้นำเสนอความหมายหมาย ยกตัวอย่างคำ ใครเคยใช้ตอนนี้บ้าง ให้เพื่อนช่วยแชร์และเช็ค

ใช้ ให้นักเรียนเลือกแต่งนิทานจากคำ


3.) สร้างหลักเกณฑ์หลักภาษา

ครูจะสอนเรื่องคำที่มีความหมายโดยนัย

ชง อ่านตัวอย่างที่นักเรียนแต่งนิทาน

เชื่อม

เชื่อมตนเอง คิดว่าคำที่เพื่อนใช้ถูกไหมอย่างไร

เชื่อมกันและกัน แชร์และเช็ค

ใช้ นักเรียนเขียนอธิบายวิธีการใช้แบบตัวเอง เอามาแต่งการ์ตูน หรือ เขียนบทความนิทาน 




เมื่อเรียนรู้แบบนี้แล้วครูพบว่า...


ครูมองว่าวัยรุ่นความรักมีหลากหลาย การหยิบเอาวรรณกรรมเกี่ยวกับความรักมาเรียนรู้แบบนี้ ทำให้เขากล้าพูดกับครู รู้สึกว่าเราไม่ได้เอาคนมาพูด แต่เราใช้ตัวละครแทนสัญลักษณ์ รักมีหลายรูปแบบ เด็ก ๆ คุยเรื่องรักอย่างไม่เขินอาย สะท้อนคิดได้ เราไม่ได้บอกว่ารักแบบนี้ดีหรือไม่ดี แต่นักเรียนจะเห็นว่ารักเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ ไม่ใช่มีแค่ผิดหวังแล้วเศร้า เห็นมุมมองที่แตกต่าง ได้รับฟังความเห็นของเพื่อน ทุกครั้งที่เรียนจบครูจะถามว่า เราจะออกแบบเพื่อเข้าใจความรักแบบนี้อย่างไร ปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้อย่างไร

เขาต้องออกแบบสะท้อนในแผนภาพ ละคร ชิ้นงาน 


จะมีกิจกรรมคู่ขนานฝึกให้เด็กเขียนบทกวีแต่ละสัปดาห์ ความรักต่อใครคนใดคนนึง มาแลกเปลี่ยนกัน แชร์กัน 

เป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ รู้สึกว่าสนุกไม่ได้น่าอาย



ความประทับใจของครู...

ครูรู้สึกว่าเราเข้าใจความคิดและชีวิตของเด็ก ๆ ผ่านวรรณกรรม บางครั้งเด็ก ๆ ที่อ่านจะอิน งานเขียน จะสะท้อนความเป็นตัวเองออกมาทำให้เราเข้าใจเด็ก เด็กต้องเข้าใจถึงจะเขียนได้ การถ่ายทอดภาพศิลปะก็ช่วยสะท้อน


การสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม ทำให้สามารถเข้าใจชีวิตผ่านตัวละคร มิติของชีวิต


ติดตามการจัดการเรียนรู้แบบโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเพิ่มเติมได้ที่

https://www.facebook.com/khrucoach




ขอขอบคุณ คุณครูผู้ร่วมแบ่งปันไอเดีย :D

ครูพรรณี แซ่ซือ

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(14)
เก็บไว้อ่าน
(14)