inskru
insKru Selected

Running Fruity

3
0
ภาพประกอบไอเดีย Running Fruity

กิจกรรม “Running Fruity” เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในเรื่อง “การบวกลบจำนวน” โดยได้นำสิ่งของที่น่าสนใจ มีสีสันสดใส และเหมาะสำหรับเด็กวัยนี้อย่าง “ผลไม้” เข้ามาเป็นตัวกลางที่จะช่วยให้เกิดความสนุกและส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

กิจกรรม Running fruity

เป้าหมายกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการนับจำนวน การบวกและการลบระดับปฐมวัย รวมถึงการแสดงความสัมพันธ์ของจำนวนให้เห็นเป็นภาพให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ตามช่วงวัย

กลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุ 4-6 ปี (จำนวน 15-20 คน)

โจทย์ การบวกลบจำนวนโดยใช้ผลไม้

เวลาทั้งหมด 70 นาที

อุปกรณ์

  • หมวกกระดาษรูปผลไม้ (มีไฟล์รูปผลไม้แจก) จำนวนแล้วแต่ความเหมาะสมของจำนวนเด็ก โดยกำหนดให้มี 5 ชนิดขึ้นไป เช่น แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม เป็นต้น
  • เทปกาว สำหรับกำหนดบริเวณเล่นและเส้นคำตอบ
  • Presentation สำหรับแนะนำกิจกรรมและภาพประกอบการอธิบายกติกาการเล่น


กระบวนการ

เริ่มต้นกิจกรรม โดยมีการเล่นเกมบอกชื่อผลไม้เพื่อละลายพฤติกรรม สร้างความคุ้นเคยและทำความรู้จักกับผลไม้ที่นำมาทำกิจกรรมรวมถึงเป็นการเรียกความสนใจจากเด็ก ๆ

  • แจกอุปกรณ์หมวกกระดาษรูปผลไม้ ให้เด็กคนละ 1 อัน
  • จัดแถวเป็นวงกลม โดยผู้สอนยืนอยู่กลางวง
  • ให้คนแรกบอกชื่อผลไม้ที่ตนเองได้ วนไปจบครบทุกคน


แนะนำและเริ่มอธิบายกิจกรรม บอกชื่อกิจกรรม “Running Fruity” จากนั้นผู้สอนอธิบายกติกา ดังนี้

  • ตำแหน่งและจุดประสงค์ของเส้นที่ใช้ในการตอบคำถามรวมถึงวิธีการยืนบน เส้นคำตอบ คือให้แต่ตั้งแถวหน้ากระดานหันหน้าไปในทางเพื่อนในห้อง (ตามรูป) โดยให้ไหล่ชนกันต่อไปเรื่อย ๆ ตามจำนวนคำตอบของโจทย์
  • หากโจทย์เป็นการบวกผู้เล่นจะต้องไปต่อแถวตามแนวเส้นจากฝั่งขวาไปซ้ายหรือเข้าทางขวาและออกทางซ้ายของเส้นคำตอบ (ตามรูป)

เริ่มสาธิตวิธีการเล่น

  • ขออาสาสมัครจำนวน 6 คน โดยมีวิธีการเล่นดังนี้ (ตามรูป)






เริ่มเล่นโจทย์จริง  

  • โจทย์จริงจะให้ผู้สอนเป็นผู้กำหนดตามความเหมาะสมโดยมีเงื่อนไขคือให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมและในโจทย์ทั้งหมดจำเป็นต้องประกอบด้วยการบวกและการลบ โดยจะมีการรวมผลลัพธ์หลังการทำโจทย์ทุกข้อ

ถอดบทเรียน

  • ถามความรู้สึกและความพึงพอใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ เช่น คิดว่าวันนี้เราได้เรียนเรื่องอะไรกันบ้าง หรือใครคิดว่าตนเองนับเลข บวกเลข ลบเลขได้คล่องขึ้นบ้าง ชอบเรียนแบบเดิมหรือแบบนี้มากกว่า


คำแนะนำเพิ่มเติม

การตั้งโจทย์สามารถเป็นไปตามดุลพินิจเรื่องความยากง่ายและความเหมาะสมกับผู้เรียนที่จะมาเล่นกิจกรรมนี้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ผู้สอนยังสามารถเพิ่มความสร้างสรรค์ของโจทย์หรือตัวกิจกรรมโดยการสร้างเรื่องราวขึ้นมา อีกทั้งจะต้องพึงคำนึงถึงการให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงด้วย


การวิเคราะห์ธรรมชาติการเรียนรู้ตามช่วงวัยของผู้เรียน

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กล่าวไว้ว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จะต้องจัดในรูปแบบบูรณาการผ่านการเล่น เช่น การสร้างบทบาทสมมติ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กในช่วงปฐมวัยที่กำลังมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสำรวจ ชอบเล่น ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์จะสามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี

เรื่องจำนวนเป็นหนึ่งในสาระของวิชาคณิตศาสตร์ปฐมวัยที่จะทำให้เข้าใจถึงความหลากหลายของจำนวน การนับจำนวน การเพิ่ม-ลด เราจึงเลือกเรื่องนี้มาทำเป็นเกมโดยบูรณาการกับการใช้ผลไม้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเลขเพื่อให้เด็กวัยนี้ได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น


การเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และการเรียนรู้ของมนุษย์

กิจกรรม Running Fruity เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีคอนเซ็ปต์มาจาก Bar model เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนที่เป็นวัยเด็กเล็กมีความเข้าใจจากการเห็นภาพของจำนวน ซึ่งจะสอดคล้องกับการทำงานของสมองของเด็กช่วงวัยนี้ด้วย






ไฟล์ที่แบ่งปัน

    คณิตศาสตร์Active Learningปฐมวัยอนุบาลเกมและกิจกรรมกิจกรรมเสริมกิจกรรมเสริมประสบการณ์ปฐมวัยกิจกรรมในห้องเรียน

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    3
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    webarebears lsed
    วิชา LSE410 กลุ่มวีแบแบ นักศึกษาคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ