เพราะเราเชื่อว่า...
การให้พื้นที่เด็กได้แสดงความรู้สึก
และการที่ครูรับฟังเขาอย่างใส่ใจ
จะทำให้.....
เด็ก ๆ เกิดความสบายใจ มีความสุขในการเรียน
และเกิดความพยายามในการเรียนเรื่องยาก ๆ มากขึ้น
เราจะทำยังไงให้เขาเกิดพลังขึ้นได้ ในเวลาที่เขารู้สึกล้มเหลว
เพราะความรู้สึกล้มเหลวของนักเรียน
ส่งผลให้ตัวครูผู้สอนรู้สึกพ่ายแพ้ไม่ต่างกัน
เรายังหยุดการสอบวัดผลแบบนี้ไม่ได้
แต่เราปรับเปลี่ยนวิธีการสอบได้
เรายังต้องวัดผลและตัดสินกันด้วยตัวเลขอยู่
แต่เราให้พื้นที่เขาได้วัดผลศักยภาพตัวเองได้
I like (สิ่งที่ชอบกับการทำข้อสอบในวันนี้)
I Learn (การทำข้อสอบในวันนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไร)
I Will (สิ่งที่ฉันจะทำในการเรียนวิชานี้ครั้งต่อไป)
เพื่อให้นักเรียนเกิดการตระหนักรู้ ในตัวเอง
และให้พลังตัวเองในการพยายามครั้งต่อไป
เด็กสะท้อนตัวเองได้ดีมาก
รู้ว่าตัวเองทำได้ดีในส่วนตัว และควรปรับตรงไหน
เราสัมผัสเห็นถึงความผ่อนคลาย
ใจเบา ๆ ของเด็ก ๆ ก่อนออกจากห้องสอบ
ผลพลอยได้คือ....
ตัวครูผู้สอนตอนตรวจข้อสอบมีความสุขมากขึ้น
เข้าใจเด็กมากขึ้น เคี่ยนตีตัวเองน้อยลง
เมื่อเจอข้อที่ว่างไว้.....
มากกว่านั้นการสะท้อนการทำข้อสอบครั้งนี้
ทำให้เรารู้ว่าเด็กเป็นโรคซึมเศร้า
ซึ่งปกติตอนอยู่ในห้องเขาปกติมาก
เขาบอกจะกลับไปดูแลตัวเองในส่วนนี้
เพราะมันส่งผลกระทบต่อการเรียน
เราในฐานะครูผู้สอนจะช่วยเหลือเด็กยังไงได้บ้าง?
ถ้าครั้งหน้าจะปรับ เราอาจปรับคำถามว่า...
1. ถ้านักเรียนตอบข้อนี้ไม่ได้...นักเรียนจะเล่าอะไรที่น่าสนใจเพื่อแลกคะแนนแทน
2. ถ้านักเรียนสามารถให้เกรด 4 ตัวเองได้ นักเรียนจะให้กับเรื่องอะไร (เรื่องในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็ได้)
3.คงหยอดขำ ๆ เพื่อไม่ให้ซีเรียสไปว่า.. ไม่ว่าจะ I ไหน ๆ แต่ I love you นะ อิอิ
สุดท้ายแล้ว....
ถ้านักเรียนทำข้อสอบไม่ได้ นักเรียนคงรู้สึกพ่ายแพ้
และเมื่อครูเห็นนักเรียนทำข้อสอบไม่ได้คงรู้สึกพ่ายแพ้เช่นกัน
การตรวจข้อสอบในครั้งนี้ทำให้เรารู้ให้อภัยตัวเองได้เร็วขึ้น
และมีพลังจากการสะท้อนของเด็ก ๆ เพื่อไปเตรียมตัวออกแบบการสอน และการวัดประเมินผลต่อไป....
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!