icon
giftClose
profile

ระบบสุริยะจักรวาลกับการออกแบบ EDU Game

30975
ภาพประกอบไอเดีย ระบบสุริยะจักรวาลกับการออกแบบ EDU Game

ระบบสุริยะจักรวาลกับการออกแบบ EDU Game เป็นงานออกแบบบอร์ดเกมครั้งแรกๆของเนตรที่อยากลองเอามาแบ่งปันค่ะ แน่นอนว่าอาจจะยังไม่ได้ดีมาก แต่มาแบ่งปันที่มาที่ไป และแรงบันดาลใจกับการสร้างเกมเพื่อการศึกษากัน~

ระบบสุริยะจักรวาลกับการออกแบบ EDU Game

ต้องขอย้อนวัยกลับไปสมัยเรียน มีหนึ่งนักศึกษาที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะสร้างห้องเรียนของตัวเองอย่างไร กระทั่งได้ไปเจอประชาสัมพันธ์กิจกรรม หนาวนี้มีเกม With พลเรียน จากทีมพี่ๆชาวพลเรียน ที่ก่อนหน้านี้เนตรได้มีโอกาสเข้าร่วมWorkshopกับพี่ๆมาก่อนแล้ว

พูดมาถึงตรงนี้ ทุกท่านก็อาจจะคิดว่าเนตรนั้นตกลงปลงใจไปค่ายอย่างง่ายดายสะซี๊~

ไม่เลยค่ะ...

ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยค่ะทุกคน เพราะเนตรไม่ได้มีความสนใจในนวัตกรรมเกมเพื่อการศึกษามาก่อนเลย แต่คงเป็นพรหมลิขิตขีดเส้นให้ได้ลองหลงมาในเส้นทางการเป็นครูสายนวัตกรรม เพราะหลังจากกดแชร์โพสต์ประชาสัมพันธ์ออกไป เพื่อนในห้องคนหนึ่งก็ได้ทักมา แน่นอนว่าเพื่อนทักมาชวน

ไอ้เราก็คนใจอ่อน เพื่อนมาชวนก็กลัวเสียน้ำใจ(จริงๆก็คือมีใจจะไปเที่ยวเหนือ...)

ว่าแล้วก็ปะ!



แล้วแล้วการเดินทางของเกมเมอร์(ที่เล่นแต่เกมออนไลน์) ก็ได้เริ่มต้นขึ้น


ณ ตอนนี้ ถ้าคนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา คงจะคุ้นเคยกับเกมเพื่อการศึกษาที่หลากหลายกันแล้ว แต่ในฐานะนักศึกษา ตอนนั้นเนตรไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบอร์ดเกมคืออะไร ยิ่งถ้าพูดถึงเกมเพื่อการศึกษาด้วยแล้ว ก็รู้จักแค่โดมิโน่กับการเรียนคณิตศาสตร์เท่านั้นเลย เพราะอย่างนั้น แทบไม่ต้องเดาเลยว่าworkshopครั้งนั้นสร้างความตื่นเต้นและเปิดโลกให้เนตรมากแค่ไหน


จากคนที่เล่นเกมออนไลน์ พอต้องมาเล่นบอร์ดเกมกลายเป็นความติดใจแบบถอนตัวไม่ขึ้น หลังกลับมาสิ่งที่เกิดขึ้นคือหลังเดินทางกลับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการออกแบบบอร์ดเกมครั้งนั้น เนตรได้มีโอกาสเข้าร่วม โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม ที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโอกาสได้เข้าห้องเรียนรู้กิจกรรมการออกแบบเกม ร่วมกับการสร้างสรรค์บทเรียนที่ใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อกลาง การนำเกมเพื่อการศึกษาไปใช้ในห้องเรียน รวมทั้งการพัฒนาเกมเพื่อการศึกษาของนักเรียน นักศึกษา บุคคลทางกการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป


ไฟลุกเลยค่ะ!

เลือดนักศึกษาที่ผันตัวจะมาเป็นครูสายนวัตกรรมมันลุกโชนแบบโชติช่วงชัชวาลเผาผลาญเวลานอนแบบสุดๆ เรียกให้ถูกก็คือร้อนวิชานั่นเอง ในเมื่อไฟมันลุกก็ต้องโหมน้ำมันใช่ไหมละคะ นั่นล่ะค่ะ ที่มาที่ไปของการออกแบบ EDU GAME ของเนตร และเกมแรกที่ออกแบบไว้ (ตอนเรียนปี 3 ได้ลงมือทำจริงตอนเรียนปี 4) ก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง โดยมีชื่อว่า บอร์ดเกม ระบบสุริยะจักรวาล (เพื่อการศึกษา)



ต้องยอมรับ และขอออกตัวไว้ ณ ที่นี้เลยนะคะ ว่างานชิ้นนี้อาจจะไม่ได้สมบูรณ์มากนัก ทั้งด้วยเป็นตัวชิ้นงานที่ถูกต่อยอดมาจากสมัยเรียน แต่ยังไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างถูกต้องและเหมาะสมมากนัก แต่ก็อยากเอามาแบ่งปันค่ะ เผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ พี่ๆ หรือครูท่านอื่นๆที่สนใจ ได้ลองดู แม้ว่าชิ้นงานที่ออกมาจะดี ไม่ดี สมบูรณ์ หรืออาจจะเป็นชิ้นงานที่ยังต้องพัฒนาต่อไป ก็อยากให้ทุกคนได้ลองลงมือทำ


ถึงจะรู้ว่าการเดินต่อไปมันอาจจะสะดุดล้มก็ได้ แต่ถ้าไม่ยอมก้าวเดิน เราก็ไม่มีทางรู้ว่าเราจะล้มจริงๆหรือเปล่าใช่ไหมละคะ เพราะอย่างนั้น ใครที่อยากลองสร้างชิ้นงานของตัวเองอยู่ อยากให้ทุกคนมั่นใจ แล้วลองลงมือทำกันนะคะ ความสำเร็จ จะเกิดได้ต้องลงมือทำค่ะทุกคน!


ว่าแล้วก็ขอกล่าวถึงหลักการออกแบบเกมการ์ด หรือการ์ดเกมกันสักหน่อยนะคะ จริงๆแล้วการออกแบบชิ้นงาน หรือออกแบบตัวเกมนั้นค่อนข้างจะมีแนวทาง และเทคนิควิธีที่หลากหลายมากๆ ในส่วนของเนตรเองที่ใช้ประจำก็มีแนวทางการคิดหลักๆอยู่ 2 แบบคือ...

แบบที่ 1 ยึดโครงสร้าง(รูปแบบการเล่น) เติมเนื้อหา(เรื่องที่จะสอน)

แบบที่ 2 ยึดเนื้อหา(เรื่องที่จะสอน) เติมโครงสร้าง(รูปแบบการเล่น)


ยกตัวอย่างเช่น....

  • x เนตรต้องการออกแบบบอร์ดเกม ในรูปแบบเกมการ์ด โดยมีเนื้อหาที่จะสอนคือ เรื่องตารางธาตุ
  • y เป้าหมายของเกมคือ ให้นักเรียนทบทวนธาตุในตารางธาตุ และระบุตำแหน่งธาตุในตารางธาตุได้

จากประโยคข้างต้น เนตรมีเนื้อหาที่ต้องการแล้ว สิ่งต่อไปที่เนตรต้องทำคือ ต้องลองหาแนวทาง วิธีการ โครงสร้างของบอร์ดเกม หรือเกมการ์ดในณุปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อนำมาปรับใช้กับเนื้อหาที่มี(x) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้(y) เป็นต้น


สำหรับบอร์ดเกม ระบบสุริยะจักรวาล (เพื่อการศึกษา) ชิ้นนี้เนตรก็ใช้หลักการออกแบบในแบบที่ 2 เหมือนกัน เพราะรู้สึกว่าค่อนข้างจะง่ายกว่าแบบแรก...มั้งนะคะ (แหะๆ...)

จริงๆแล้ว การจะใช้วิธีการออกแบบตามแบบที่ 1 หรือ 2 แล้วจะรู้สึกว่ายากหรือง่าย ก็ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ และความถนัดของแต่ละคนด้วย ทุกๆขั้นตอนต้องผ่านการคิด และลองผิดลองถูกเสมอนะคะ ไม่มีแนวทางใดที่ถูกต้อง 100% ต้องลองทำแล้วปรับวิธีการทำงานให้เหมาะกับตัวเองกันก่อนนะเออ~


คุณครู หรือผู้เยี่ยมชมท่านใดสนใจอยากลองดูวิธีการเล่น หรือลองเอาไปปริ้นเล่นกับเด็กๆ ก็สามารถกดโหลดไปลองทำการ์ดเล่นกันดูได้นะคะ

หรือท่านใดเคยลองออกแบบการ์ดเกม พรือบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ หรือมีประสบการณ์อยากจะแลกเปลี่ยนก็แวะมาพูดคุยกันได้ค่ะ สัญญาว่าตอบทุกคนเลย ~


ตัวอย่างการ์ดค่ะ ><

(เนตรพึ่งรู้ตัวว่าย่อรูป กับเคาะหน้าข้อความไม่ได้....)

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 80

ชื่อไฟล์​: คำตอบ.png

ดาวน์โหลดแล้ว 155 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(25)
เก็บไว้อ่าน
(21)