ฤดูกาลเยี่ยมบ้านของคุณครูแต่ละคนเป็นอย่างไรกันบ้างครับ
นอกจากการต้องวางแผนว่านักเรียนคนไหนอยู่ใกล้กัน เพื่อให้ไปเยี่ยมได้ในการเดินทางเที่ยวเดียว
และเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการเยี่ยมบ้านนักเรียน
ปกติแล้วมีอะไรที่อีกไหมครับที่คุณครูเตรียม ก่อนที่จะก้าวเข้าไปในรั้วบ้านของนักเรียนอีกบ้าง
.
ผมรู้สึกว่าการเยี่ยมบ้านเป็นโอกาสที่พิเศษมาก ๆ ที่เราจะได้มองเห็นโลกอีกใบ
และสภาพแวดล้อมที่มีผลมาก ๆ ต่อการเติบโต การคิด ความรู้สึก การตัดสินใจ
รวมถึง "ความฝัน" ของนักเรียน ดังนั้นน่าจะเป็นช่วงเวลาเล็ก ๆ ที่เราทำอะไรสนุก ๆ
เพื่อการเติบโตร่วมกัน ของนักเรียน ผู้ปกครอง และตัวเราเองด้วย
.
.
ขั้นแรก Pre Work ออกแบบการมีส่วนร่วม
และก่อนที่เราจะรับมาเก็บไว้ให้นักเรียนลองนำกลับไปให้ผู้ปกครองที่บ้านดูก่อน
จากนั้นให้นักเรียนนำกลับไปให้คนที่บ้านดู พร้อมกับโจทย์ว่า
"ถ้าคุณครูจะมาเยี่ยมบ้าน อยากแนะนำให้ครูใช้เส้นทางไหนดี"
และนำแผนที่กลับมาส่งครู พร้อมกับคำแนะนำจากผู้ปกครองเรื่องการเดินทาง
"มีอะไรที่อยากถามคุณครู หรือประเด็นที่อยากพูดคุยกันตอนที่คุณครูไปเยี่ยมบ้านไหม"
จริงอยู่ว่าในยุคสมัยที่ Google Map เฟื่องฟู ความจำเป็นของการแนะนำเรื่องเส้นอาจจะลดลง
แต่จุดประสงค์ของการถาม นอกเหนือจากไอเดียความเป็นไปได้ในการเดินทางเพิ่มเติม
คือการเพิ่มความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเยี่ยมบ้านครั้งนี้ และเริ่มส่งสารว่าการเยี่ยมบ้านครั้งนี้
ผู้ปกครองจะไม่ได้เป็นแค่ passive receiver ที่รอรับการเยี่ยมเฉย ๆ อีกต่อไป
.
.
.
ขั้นที่สอง ระหว่างการเยี่ยมบ้าน
ถามคำถามตอบง่ายเช่น "ทานอะไรมาหรือยังคะ" ก่อนจะค่อย ๆ เข้าสู่คำถามที่ตอบยากขึ้น
เช่น "ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ - ช่วงโควิด ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง"
.
รวมถึงความเป็นห่วง ความอยากถาม ความอยากแนะนำ รับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านั้น
เก็บความต้องการต่าง ๆ ไว้ก่อน และกลับมาสู่การรับฟังอย่างตั้งใจอีกครั้ง
.
มาลองวางแผนร่วมกัน ว่าเราอยากเห็นนักเรียน (ที่นั่งอยู่ด้วยในวงสนทนานั้น) เติบโตไป
ในทิศทางไหน
จากนั้นลองให้เวลาราว ๆ 5 นาที เพื่อลองสะท้อน และเขียนถึงโจทย์ 2 ข้อต่อไปนี้
1) เราอยากให้อนาคตของเรา เต็มไปด้วย...
2) เราอยากให้อนาคตของลูก / หลาน / พ่อแม่ / ปู่ย่า / ลูกศิษย์ ฯลฯ เต็มไปด้วย...
(สามารถพิมพ์ทั้งสองคำถามไว้ในกระดาษก่อนได้)
เป็นผู้รับฟัง และลองถามคำถามเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าผู้ปกครองเขียนมาว่า "อยากให้อนาคตของลูกเต็มไปด้วยความสุข" สามารถถามเพิ่มเติม
ได้ว่า "มีเหตุการณ์ สิ่งของ หรือเรื่องราวอะไรอยู่ในคำว่า ความสุข นั้นบ้าง"
.
ของกันและกันแล้ว ความท้าทายคือการลองสรุป "จุดร่วม" หรือสิ่งที่ทั้งนักเรียน และผู้ใหญ่
ในชีวิตของพวกเขา "ต้องการร่วมกัน" โดยหัวใจของกระบวนการนี้คือการลองเขียน หรือวาด
ความต้องการนั้นออกมา และลองเช็คว่าประโยคหรือภาพ ๆ นั้นตรงกับความต้องการจริง ๆ
ของทั้งสองฝ่ายอยู่หรือเปล่า พึงระวังและตอบสนองอย่างอ่อนโยนเมื่อสังเกตุเห็นการ
ยินยอมโดยไม่ได้ยินยอมจริง ๆ เพื่อดูแลความต้องการของอีกคนหนึ่ง มากกว่าความต้องการ
จริง ๆ ของตัวเอง
อยากเห็นร่วมกันแล้ว ลำดับต่อไปคือการชวนตั้งคำถามต่อว่า
"มีอะไรบ้างที่เราเริ่มทำได้ทันที โดยแนะนำให้เริ่มจากสิ่งที่เล็กที่สุด
และต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเองน้อยที่สุดก่อน เพื่อสนับสนุนให้
ภาพฝันนั้นเข้าใกล้การกลายเป็นภาพความจริงมากขึ้น" โดยในขั้นตอนนี้สามารถให้
ทุกคนเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนกัน และเราเป็นผู้จดบันทึกตามได้
และเปิดโอกาสให้เราได้รับฟังเสียงต่าง ๆ ที่จะเป็นหนึ่งในเข็มทิศที่จะนำทางวิถีแห่งการเป็นครู
ผู้ที่จะสนับสนุนการเติบโตของนักเรียนร่วมกับทุกคนในชีวิตของพวกเขาต่อไป
แล้วก็ขอไลน์ผู้ปกครองด้วยนะ เพราะการร่วมงานกันของเราเพิ่มจะเริ่มต้นขึ้น!
.
.
.
ขั้นที่สาม หลังจากการเยี่ยมบ้าน
เฉพาะเมื่อนักเรียนมีปัญหา แต่อาจจะเป็นการติดต่อเพื่ออัพเดทเรื่องราวน่าสนใจที่โรงเรียน
หรือสอบถามสารทุกข์สุขดิบด้วยคำถามตอบง่าย เพื่อให้เราที่เคยรู้จักกันแล้วไม่กลับกลาย
ไปเป็นคนแปลกหน้ากันอีกครั้ง และเพื่อให้นักเรียนมีผู้ใหญ่หลาย ๆ คนที่เป็นทีมเดียวกัน
ที่พร้อมจะสนับสนุนการเติบโต และความฝันของพวกเขา
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!