icon
giftClose
profile

CAI&Oral Motor Exercise สอนภาษาเด็กสติปัญญา

22453
ภาพประกอบไอเดีย CAI&Oral Motor Exercise สอนภาษาเด็กสติปัญญา

งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการศึกษาความสามารถในการออกเสียงคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่มกับการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการออกเสียงคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ร่วมกับเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการออกเสียงคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ร่วมกับเทคนิคการบริหาอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพศชาย อายุ 7 ปี  เป็นนักเรียนชั้นเตรียมความพร้อม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง จำนวน 1 คน ที่มีปัญหาในการออกเสียงคำ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แผนการสอนเฉพาะบุคคล โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) จำนวน 2 แผน และ แบบประเมินความสามารถในการออกเสียงคำ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วทดลองโดยใช้แผนการสอนเฉพาะบุคคล โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กราฟเส้นการพรรณนาและแผนภูมิแท่ง

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. ความสามารถในการออกเสียงคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ร่วมกับเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) อยู่ในระดับดีมาก

         2. เปรียบเทียบความสามารถในการออกเสียงคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ร่วมกับเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) ด้วยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าความสามารถในการออกเสียงคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ร่วมกับเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) สูงขึ้นจากก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ร่วมกับเทคนิคการบริหารอวัยวะที่ใช้ในการพูด (Oral motor Exercise) ทั้ง 2 มาตรา เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: บทความวิจัยศิรินันท์ จุ้ยมอด.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 16 ครั้ง


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(1)