icon
giftClose
profile

[ชวนแชร์] เด็กห้องท็อป VS เด็กห้องบ๊วย

28201
ภาพประกอบไอเดีย [ชวนแชร์] เด็กห้องท็อป VS เด็กห้องบ๊วย

[ชวนแชร์] เด็กห้องท็อป VS เด็กห้องบ๊วย เกรด ความเข้าใจ และการใช้พลังบวก เคยไหม ในวันหนึ่งที่นักเรียนของเราขาดความมั่นใจ เพราะ "ตัวเลขลำดับห้องเรียน"

[ชวนแชร์] เด็กห้องท็อป VS เด็กห้องบ๊วย

เกรด ความเข้าใจ และการใช้พลังบวก

เคยไหม ในวันหนึ่งที่นักเรียนของเราขาดความมั่นใจ เพราะ "ตัวเลขลำดับห้องเรียน"

...

เคยไหมคะทุกคน ที่นักเรียนของเราเดินเข้ามา แล้วพูดว่าตอนนี้ไม่ได้อยู่ห้องท็อปแล้ว

หรือไม่ใช่นักเรียนก็ได้ค่ะ อาจจะเป็นชีวิตเพื่อนๆ พี่ๆ หรือชีวิตของน้องๆเอง ที่ในทุกๆวันของการเรียน มีสิ่งเดิมพันคือ "เกรด"

...

รายชื่อนักเรียนดังต่อไปนี้ คือรายชื่อนักเรียนห้อง 5/1

  1. นาย กอไก่ เกรดเฉลี่ย 4.00
  2. นาย ขอไข่ เกรดเฉลี่ย 3.98
  3. นายสอเสือ เกรดเฉลี่ย 3.87
  4. ....3.75
  5. ....3.5
  6. ....3.49

....

อันดับสุดท้าย นาย ฮอฮูก เกรดเฉลี่ย 3.01

ตัวเนตรเองไม่เคยได้ประสบเหตุการณืแบบนี้กับตัวเอง แต่ได้พบเหตุการณ์แบบนี้บ้างในชีวิตการเป็นครู แรกเริ่มเดิมทีเนตรเห็นข้อดีของการจัดห้องเรียนแบบนี้เยอะมากๆ และในขณะเดียวกัน เนตรก็มั่นใจว่าไม่ใช่แค่เนตรเองที่มองเห็นจุดที่เป็นข้อเสียของการจัดอันดับห้องเรียนโดยใช้มาตรวัดความเหมาะสมผ่าน เกรดเฉลี่ย


ในสภาพแวดล้อมการเรียน ที่ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ เด็กๆควรได้สนุก และมีความสุขกับการเรียน การได้ใช้สังคมร่วมกับเพื่อนๆ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือการเรียนรู้ พัฒนา และใช้เวลาในช่วงชีวิตแห่งการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ทุกสิ่งอย่างดำเนินไปอย่างนั้น กระทั่งสัปดาห์ก่อนสอบ...

"ซุ่มว่ะ..."

"หนูเหลือกี่คะแนนจะถึงเกรด 4 คะ"

"หนูมีงานค้างอะไรไหม?"

"เพื่อนคนไหนจะได้เกรด 4 บ้างอ่ะคะ?"

เหล่านี้คือประโยคที่เนตรได้ยินในกลุ่มห้องเด็กที่มีผลการเรียนปานกลาง ดี ไปจนถึงดีมาก

และในขณะเดียวกันเด็กในกลุ่มห้องท้ายๆ หรือกลุ่มเด็กที่มีผลการเรียนต้องประบปรุงกลับ..


"ปล่อยพวกเด็กเก่งทำไปเถอะครู"

"จะเอาอะไรกับพวกผม ได้เท่านี้ก็ดีแล้ว"

"ผมขอให้ไม่ 0 ก็พอแล้ว"

เนตรไม่ได้จะพูดว่าการจัดห้องเรียนแบบเรียงเกรด เป็นต้นเหตุของแนวความคิดแบบนี้ของนักเรียนในห้องท้ายๆนะคะ แต่ตัวเนตรเองคิดเสมอว่า ถ้าเราจะผลักดันให้เด็กๆในกลุ่มที่มีผลการเรียนรั้งท้าย หรือที่หลายๆคนเรียกพวกเขาว่าเด็กห้องบ๊วย ให้มีแนวคิดแบบ Growth Mindset หรือเชื่อมั่นว่าตัวเขาเองพัฒนาได้ ไม่ในแนวทางใดก็แนวทางหนึ่ง


เนตรเชื่อว่าเด็กๆหลายคนรู้ และยอมรับจุดอ่อนของตัวเองได้

แต่ไม่มีใครเข้าไปช่วยผลักดัน เสริมแรงบวก และมอบโอกาสให้เขาได้พัฒนา


หลายๆครั้ง เด็กๆของเนตรเผชิญ และเรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหา

ทว่าเขายังขาดแรงสนับสนุนและกำลังใจ ซึ่งลำพังเพียงเนตรคนเดียวไม่สามารถเติมเต็มตรงนั้นได้ แม้จะพยายามอย่างที่สุดแล้ว


คำชมคือสิ่งที่ดี

แต่การเรียนรู้ที่มีคุณค่า คือแรงผลักดันที่จะทำให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


เช่นเดียวกับทุกๆความสำเร็จ

เป้าหมายที่มั่นคง และชัดเจน คือหลักใบสำคัญถึงปลายทางที่จะเดินจะเหยียบยืน แต่อย่าปล่อยให้เด็กๆลืมว่าทุกก้าวย่างของเขานั้นก็ล้วนแล้วแต่สำคัญ


เหล่านี้คือสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ตัวเนตรเองพยายามผลักดันมาตลอด ในเด็กทุกๆกลุ่ม

และแน่นอนค่ะว่า ณ ตอนนี้ เนตรยอมรับว่า ไม่ประสบความสำเร็จ...

แต่อย่าได้กังวลไปค่ะทุกคน~

เนตรเองก็เป้นคุณครูสายอึด! ถึก! ทน! (นี่มันคุณสมบัติเด่นของคนทำอาชีพครูเลยนี้นะ....แหะๆ) ความผิดหวังพุ่งชน ก็ห้ามถอดใจค่ะ!

แต่ท้อได้ใช่ไหมคะ...?

ท้อได้เถอะเนอะ~

ท้อเสร็จแล้ว ก็ค่อยๆเปลี่ยนความท้อทั้งหลายทั้งมวลให้กลายมาเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่า เพื่อที่เราจะได้พัฒนาต่อไปได้กันดีกว่า~

เวิ่นเว้อมายาวนานราวๆสามหน้ากระดาษเอสี่ ขอปิดท้ายด้วยการเสริมพลังบวกสวยๆสักประโยคนะคะ ฮาาาาาาาาาาา


ท้ายนี้...

ก่อนจะจบบทความนี้ลงไป

เนตรขอชวนแชร์ 3 ประเด็นค่ะ

จะคอมเม้นจะเขียนแชร์ใต้บทความก็ได้นะคะ เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ คุณครูท่านใดที่แวะผ่านมาจะได้ลองอ่าน ลองนำไปคิดต่อกัน~

หรือจะลองนำประเด็นเหล่านี้ไปทบทวนกับตัวเองกันก็ได้นะคะ ไม่ว่ากันจ้าาาา

เอาล่ะ!

ประเด็นที่ 1 ปัญหา Fixed Mindset เกี่ยวกับ เกรด ผลการเรียน และการทำงานของนักเรียน (ทั้งกลุ่มเรียนดี และกลุ่มเรียนอ่อน )

ประเด็นที่ 2 การสร้างความเข้าใจพื้นฐานในการเสริมสร้างการพัฒนาตนเอง (การสร้าง Growth mindset ทั้งกลุ่มเรียนดี และกลุ่มเรียนอ่อน)

ประเด็นที่ 3 พลังบวก...Soft Power ที่มากกว่าการชมเชย แต่เป็นการสร้าง Moment แห่งการตระหนักรู้ แล้วคุณครูมีวิธีเสริมแรงยังไงบ้างน๊าาาา ??


อย่าลืมมาแชร์กันนะคะทุกคน ><

แล้วก็~ ถ้าชอบบทความนี้ก็อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดสับตะไคร้(...?) เพื่อรับแจ้งเตือนบทความใหม่ๆกันนะคะ~

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)