ในโลกปัจจุบันที่แสนสลับและซับซ้อน สื่อ เป็น สิ่งหนึ่ง ที่มีความซับซ้อนในหลากหลายมิติ ยากแท้ที่จะหยั่งถึง เชื่อว่า เพื่อน ๆ ครู คงได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า ทักษะการรู้เท่าทัน เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่..... เราจะจัดการเรียนรู้อย่างไร ถึงจะพานักเรียนของเราไปสัมพันธ์ คำว่า รู้เท่าทัน และทำให้เขา เรียนรู้ต่อด้วยตนเองในเรื่องนี้ วันนี้จึงมีไอเดียที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพี่ ๆ กลุ่ม มูลนิธิสื่อชาวบ้าน มะขามป้อม มาแบ่งปันให้ เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ลองนำไปปรับใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้กัน
โดยแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบนี้จ้า
เริ่มจาก
ขั้นนำ
ชวนเด็กเล่นเกมทาง สโลแกน โฆษณา ที่คุ้นเคย กันก่อน สัก 5 ข้อ โดยในที่นี้ออกแบบให้เป็นกิจกรรมฐานกาย ฉาย สโลแกน ขึ้นบนจอ แล้วให้เด็กเคลื่อนที่ไปในช่องที่ตัวเองเลือก พร้อมพูดคุยและถามเหตุผล เพิ่มเดิมพันเล็กโดยการบอกว่าถ้าทายถูกจะได้ลูกอม (ขั้นตอนนี้สำคัญจ้าเพราะจะเอาถอดกระบวนการเรียนรู้อีกรอบหนึ่งต่อไป)
ขั้นกระตุ้น
จากขั้นนำที่เปิดด้วยเกมเป็นปลุกเด็ก ๆ และเตรียมให้เขามีความพร้อมในการเรียนรู้ รวมถึงค่อย ๆ พาใจของเขาให้เข้าสู่การเรียนรู้ จากนั้นเราจึงมาสร้างความ สงสัย เพื่อทำให้เขาได้มีโอกาส กลับมา สำรวจ และ สังเกต ตัวเอง ดึงเอาประสบการณ์เก่าขึ้นมาแล้วผลักดันให้เขา หิว เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยการชวนกันตอบคำถามและแบ่งปันประสบการณ์ผ่านคำถาม 3 ข้อ ได้แก่
3 คำถามนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เด็ก ๆ เกิด เอ๊ะ!! ..... ในสิ่งที่ดูเหมือนปกติ แต่ ไม่ปกติ แล้วชวนกันตั้งคำถามว่า หากเราจะเสพสื่อ แบบ ไม่โดนสื่อหลอก เราจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง จากนั้นจึงพาเด็ก ๆ ออกเดินทางไปในโลกแห่ง สื่อ ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนต่อไป
ขั้นเรียนรู้
ต่อไปเราปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ ลองเรียนรู้ผ่านการเสพสื่อของตนเอง โดยการชวนเด็ก ๆ แบ่งกลุ่มเล็ก แล้วเสพสื่อที่คุ้นเคย ชวนดู โฆษณา ของแต่ละกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน เพื่อจะนำมาแลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกันในช่วงท้าย แล้วทดลองให้เด็ก ๆ ร่วมกันตอบคำถาม 5 ข้อ เพื่อเป็นการสำรวจ และ สังเกต ตนเอง รวมทั้ง วิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ สิ่งที่ตัวเองเสพมากขึ้น คำถามทั้ง 5 ข้อมีดังต่อไปนี้ คือ
จากนั้นชวนเด็ก ๆ ลองนำเสนองานออกมาในรูปแบบของแผนภาพ แล้วชวนกันแบ่งปันบอกเล่าให้เพื่อนฟัง และ เปิดเวทีให้แลกเปลี่ยน มุมมอง ความคิดที่แตกต่าง ทั้งช่วยกันเสริม สร้าง เก็บตก ตกผลึก ความคิดเมื่อเสพสื่อในมุมมองและฐานคิดที่ต่างกัน
ขั้นสรุป
เมื่อไฟลุกโชน เราจะสาดน้ำมันลงไปต่อเพื่อให้เปลวไฟลามใหญ่ขึ้น โดยการชวนเด็ก ๆ ตกผลึกการเรียนรู้ในวันนี้ผ่านการตอบคำถามกับตนเองว่า
เปิดประเด็นให้ลองแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันและร่วมกันสรุปการเรียนรู้ของเราทุกคน
ขั้นประยุกต์ใช้
ในช่วงสุดท้าย ชวนมอง โฆษณา ในอีกมุมหนึ่งโดยใช้ฐานคิดแบบ วรรณกรรม หากมอง เรื่อง การเล่าเรื่อง การประกอบสร้างเรื่อง และการนำเสนอ ของโฆษณา เราจะเห็นอะไรบ้าง แล้วทำให้เราเอง มองเห็น หรือ เรียนรู้ อะไรเพิ่มเติม
ทั้งยังทิ้งท้ายอีกว่า แล้ว ทำอย่างไร เราจะ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อ และ โฆษณา ที่เราพบเจอกันอยู่ในทุกวันนี้ พร้อมตลบหลังเด็ก ๆ โดยการให้ลองสำรวจดูว่า แล้ววันนี้เรา ตกเหยื่อ ของคุณครูหรือไม่ โดยการเฉลยเบื้องหลังการหลอกล่อนักเรียนให้เรียนรู้ผ่านกลวิธีต่าง ๆ เช่น การแจกลูกอม การตั้งคำถาม การท้าทาย และการทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งที่เรียนรู้ สำคัญเพียงใด
เป็นการปิดท้ายที่ทำให้เด็ก ลองย้อน คิด ว่า ตกลงแล้ว เรา รู้เท่าทัน "ตัวเอง" หรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่น่าจะตอบยากที่สุดและยังคงต้องหาคำตอบต่อไปตลอดชีวิต
จากกระบวนการนี้มีข้อสังเขป อยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ ว่า ถ้าคุณครูเลือกสื่อหรือโฆษณาที่มีความหลากหลายมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ก็จะสามารถทำให้ผู้เรียนมองเห็นมุมมองได้หลากหลายและมีผลต่อการกลับไปตั้งคำถามและสำรวจตนเองเพื่อให้เกิดภาวะ การรู้เท่าทัน ได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้เลือกสื่อโฆษณามาใช้แตกต่างกันถึง 7 ประเภท ได้แก่
อย่างไรก็ตามการจะตัดสินว่ามี ทักษะการรู้เท่าทัน หรือไม่ นั้นยากที่สุดและเราเองก็ไม่อาจจะตัดสินได้ ดังนั้นการประเมินที่น่าจะดีที่สุดในตอนนี้คือ น่าจะให้ผู้เรียน สะท้อนตนเอง ออกมาซึ่ง คุณครู อาจจะต้อง เพิ่มพื้นที่แห่งความไว้วางใจอนุญาตให้ผู้เรียนประเมินตนเองแบบเป็นเหตุและเป็นผล อธิบายการเรียนรู้ของตนเองออกมา และเชื่อใจว่าสิ่งที่ผู้เรียนกล่าวคือ การเรียนรู้ของเขา โดยไม่เอา บรรทัดฐานและมาตรวัดต่าง ๆ ในตัวครูมาตัดสิน รวมทั้งอาจจะต้องชวนกันตั้งคำถามและสอบทานตัวเองด้วยเสมอว่า เรา รู้เท่าทัน สิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่หรือไม่ ซึ่งยากและท้าทายกับความเป็นครูมิติใหม่และโลกอนาคตที่กำลังจะใกล้เข้ามาถึง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย