นักเรียนที่รับสิ่งใหม่ ๆ เข้าไปทุกวัน ๆ จะจำเนื้อหาเดิมที่สอนไปได้หรือไม่ ขอบอกเลยว่า “น้อย”
ยิ่งถ้าผ่านไปหลายบทนะ ลืมแน่ ๆ ล่ะ
ครั้งนี้จะมานำเสนอวิธีการใช้ Dictogloss ในการทบทวนเนื้อหาไวยากรณ์ คำศัพท์ หรืออาจจะใช้สอนเนื้อหาใหม่ก็ได้นะคะ
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ Dictogloss กันก่อน
ทุกคนรู้จัก Dictation หรือการเขียนตามคำบอกเป็นอย่างดีใช่ไหมคะ ฟังแล้วก็เขียนตาม
Dictogloss ก็เช่นกัน เพียงแต่สิ่งที่เขียนตาม ไม่ใช่คำ แต่เป็นประโยค
ขั้นตอนหลัก ๆ ของ Dictogloss คือ นักเรียนฟังที่ครูพูดแล้วเขียน > แชร์กับเพื่อน > เรียบเรียงประโยค > แก้ไข ตรวจเช็ค > ครูอธิบายไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
สิ่งที่ควรระวังคือ ความยาวของเนื้อหาไม่ควรยาวเกินไป, ไวยากรณ์ คำศัพท์ อยู่ในสิ่งที่นักเรียนเรียน และระดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับนักเรียนของเรา
ที่กล่าวมาข้างตนคือสิ่งที่ได้จากการอบรมของ Japan Foundation
ต่อจากนี้คือการประยุกต์นำมาใช้ในห้องเรียน
โดยเราได้เพิ่มขั้นตอนดังนี้
นำเสนอศัพท์ใหม่ > คาดเดาเนื้อเรื่องจากศัพท์ > นักเรียนฟังที่ครูพูดแล้วเขียน > แชร์กับเพื่อน > เรียบเรียงประโยค > วาดรูปเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง* > แลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างกลุ่ม > แก้ไข ตรวจเช็ค > เฉลยเนื้อหาที่ถูกต้อง > ครูอธิบายไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม > อ่านออกเสียงพร้อมกัน
เราไม่เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างก่อนและหลังการใช้ ถ้าดูจากคะแนนแบบทดสอบ (ข้อสอบอาจจะไม่ดีด้วย)
ถ้ามีโอกาสทำอีก จะเพิ่มควิซเบา ๆ หลังการสอนแทน เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนแทน
แต่กิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่า นักเรียนเกิดการสังเกตเห็นจุดที่ผิดพลาด แล้วแก้ไขได้ โดยครูไม่ต้องบอก, นักเรียนแบ่งหน้าที่กัน เกิดความสามัคคี (ระดับหนึ่ง) และเป็นการเรียนรู้ทั้ง 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้อีกด้วย
*เพิ่มการวาดรูปเข้ามาเพื่อให้นักเรียนที่ไม่เก่ง สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!