ตัวอย่างการนำไปใช้
1) ทายศัพท์จากภาพ : ให้นักเรียนทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากภาพที่เห็น อาจจะเป็นรูปภาพที่ครูหามา หรือให้นักเรียนออกมาวาดรูปแล้วให้เพื่อนในห้องทายก็ได้
2) ทายศัพท์จากภาพ (เวอร์ชันดัดแปลง) : ให้นักเรียนทายคำศัพท์จากรูปภาพ โดยใช้ภาพที่มีคำอ่านใกล้เคียงกับคำศัพท์ที่ต้องการให้ทาย เช่นคำว่า “Apple” แทนที่จะใช้ภาพผลแอปเปิ้ลตรงๆ อาจใช้ภาพ “แอพพลิเคชัน” ตามด้วยภาพ “เปิ้ล นาคร” เป็นต้น แล้วให้นักเรียนเดาว่า ภาพ 2 ภาพนี้คือคำว่าอะไร
3) Chayen (ชาเย็น) : เป็นแอพพลิเคชันเกมในสมาร์ทโฟน วิธีเล่นคือ ให้เข้าเกมแล้วเลือกหมวดคำศัพท์ที่ต้องการทาย (มีตั้งแต่ชื่อหนัง นักแสดง ไปจนถึงศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์) เมื่อเลือกได้แล้ว ให้ 1 คนถือโทรศัพท์ให้หน้าจอหันไปฝั่งตรงข้าม คนฝั่งตรงข้ามจะต้องใบ้ด้วยวิธีใดก็ได้ให้คนที่ถือโทรศัพท์อยู่รู้ว่าตอนนี้หน้าจอขึ้นคำว่าอะไร ถ้าตอบถูกให้คว่ำหน้าจอโทรศัพท์ลง ถ้าต้องการข้ามคำให้หงายหน้าจอขึ้น คุณครูสามารถให้นักเรียนเล่นเป็นคู่หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้
หมายเหตุ : หากไม่สะดวกใช้สมาร์ทโฟน สามารถประยุกต์โดยทำการ์ดคำศัพท์ไว้แล้วให้นักเรียนถือก็ได้ คำไหนทายถูกก็เอาออกมาแยกกองไว้ก่อน แล้วค่อยรวมคะแนนทีหลังค่ะ
4) ใบ้สำนวน/สุภาษิตด้วยอิโมติค่อน : ลองเปลี่ยนจากรูปภาพเป็นอิโมติค่อนที่ใช้ในแชทกันบ้าง คุณครูสามารถใช้อิโมติค่อนในช่องแชทมาเรียงต่อๆ กันแล้วให้นักเรียนทายสำนวน/สุภาษิตก็ได้ค่ะ
ตัวอย่างเช่น = เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง เป็นต้น
5) ใบ้คำจากท่าทาง : กติกาคือ ห้ามพูด (อาจจะห้ามใช้เสียงเลยก็ได้ แล้วแต่คุณครูจะนำไปใช้เลยค่ะ) หากสอนเรื่อง adverb อาจจะให้นักเรียนจับสลาก adverb ไป 1 คำ แล้วออกมาแสดงท่าทางอย่างไรก็ได้ให้เพื่อนรู้ว่าเราได้ adverb อะไร เช่น ได้คำว่า “slowly (อย่างช้าๆ)” นักเรียนอาจจะมาทำท่าวิ่งแบบสโลโมชั่น หรือกินอย่างช้าๆ ก็ได้
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย