icon
giftClose
profile
frame

ปฏิกิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก part2

17351
ภาพประกอบไอเดีย ปฏิกิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก part2

ปฏิกิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน บางปฏิกิริยาที่ไม่เกิดหรือมีการคงค้างของปฏิกิริยาดังกล่าว จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กด้านอื่นๆ

1. Galant Reflex หรือ The Spinal Gallant เป็นปฏิกิริยาการสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวลำตัว สามารถทดสอบด้วยการจัดท่าทารกนอนคว่ำ แล้วใช้นิ้วลากจากไหล่ขนานไปกับกระดูกสันหลังจนถึงสะโพก เพื่อดูปฏิกิริยาการบิดลำตัว ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3–9 เดือน

ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ อาจมีผลต่อการทรงตัว รูปแบบการเดิน หรือรูปแบบการเคลื่อนย้ายลำตัวอื่นๆ กระทบต่อการพัฒนาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ และ เป็นสาเหตุของพฤติกรรมกระวนกระวาย พฤติกรรมฉี่รดที่นอน รวมทั้งมีปัญหาการจดจ่อ สมาธิและความจำระยะสั้น

2. Symmetrical Tonic Neck Reflex หรือ STNR พัฒนามาจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม และถูกสั่งการจากสมองชั้นสูง สัมพันธ์กับการอธิบายพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลาง จะทดสอบขณะเด็กอยู่ในท่าคลาน เมื่อก้มศีรษะลงทำให้แขนพับงอ ขาเหยียดตรง เมื่อเงยศีรษะขึ้นทำให้ขางอและเหยียดตรง ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 9–11 เดือน

ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ส่งผลต่อการทรงตัว การทำงานร่วมกันระหว่างตากับมือ และทักษะการว่ายน้ำ เป็นเหตุให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเสียการทรงตัวเวลานั่งเก้าอี้ เดินกางขาเหมือนลิง หรือการเคลื่อนไหวงุ่มง่าม หรือมีความยากลำบากในการใช้สองตาร่วมกัน หรือคัดลอกงานช้า รับประทานทานอาหารหกเลอะเทอะ

3. The Transformed Tonic Neck Reflex หรือ TTNR เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การประมวลผลร่วมกันระหว่างร่างกายสองซีก หรือมีการพัฒนาที่เหมาะสม ต้องเกิดขึ้นช่วงอายุ 6-8 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ถ้าไม่ปรากฏ TTNR แสดงว่าปฏิกิริยาดั้งเดิมบางตัวยังคงหลงเหลืออยู่ และขัดขวางการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง


4. The Amphibian Reflex เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวแยกซีกของร่างกายถูกพัฒนาอย่างเหมาะสม ต้องเกิดขึ้นช่วง 4-6 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ถ้าไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดนี้ แสดงว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิมหลายชนิด โดยเฉพาะ ATNR ไม่ถูกยับยั้ง ซึ่งจะขัดขวางพัฒนาการคลาน การเดิน และการวิ่ง

 

5. Segmental Rolling Reflex เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ร่างกายสองซีกสามารถเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นการประมวลร่วมกันของร่างกายทั้งสองซีกซ้ายขวา ต้องเกิดขึ้นในช่วงวัย 6–10 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ซึ่งสำคัญต่อ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การกระโดดเชือก การเดินสวนสนามและการว่ายน้ำ

6. Oculo–Head Righting Reflex หรือ OHRR เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทรงท่าและการควบคุมการทรงท่าที่เกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวลูกตา ถ้าพัฒนาไม่เต็มที่จะทำให้มีปัญหาการกวาดตามอง หรือบางคนมีปัญหาเวียนศีรษะคลื่นไส้ ปัญหาการรับรู้เวลาและสถานที่ ต้องเกิดขึ้นช่วง 2–3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต


7. Labyrinthine–Head Righting Reflex หรือ LHRR เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทรงท่าและการควบคุมการทรงท่าที่เกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวศีรษะ ซึ่งสะท้อนระบบการทรงตัว หรือมีผลโดยตรงกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ โดย LHRR จะเกิดขึ้นช่วง 2–3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต และทารกที่ขาดจะมีปัญหาการคัดลอกคำจากต้นฉบับหรือกระดาน และหากไปปรากฏปฏิกิริยาสะท้อนกลับ OHRR และ LHRR ด้วย หรือพบว่าไม่พัฒนาเต็มอย่างสมบูรณ์ จะทำให้เด็กมีความยากลำบากในการอ่าน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)