icon
giftClose
profile

การพัฒนากระบวนการสอนแบบ Active Learning

36141
ภาพประกอบไอเดีย การพัฒนากระบวนการสอนแบบ Active Learning

งานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนากระบวนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระแก้ว เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รายงานการวิจัย

ชื่อวิจัย การพัฒนากระบวนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระแก้ว เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ผู้วิจัย  นางสาวสุนันท์ ฝอยหิรัญ

ความสำคัญและที่มา

จากการเรียนคณิตศาสตร์นักเรียนค่อนข้างขาดทักษะการคิดคำนวณ และการให้เหตุผล อีกทั้งมีขั้นตอนที่ต้องการให้นักเรียนทราบถึงขั้นตอนของการแก้ไขโจทย์ปัญหาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ในด้านทักษะและความสามารถ คือชั้น ป.1-3 นักเรียนมีทักษะความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ป.4-6 อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ม.1-3 แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้มีทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต ม.4-6 แสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ใช้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดขั้นสูง รวมทั้งมีทักษะชีวิตทักษะการสื่อสารตามช่วงวัยในทุกช่วงชั้น กอรบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้กำหนดให้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดคุณภาพการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ของหลักสูตร สะท้อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนหรือไม่ ซึ่งกำหนดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ โดยมีเจตนารมณ์เช่นเดียวกัน คือ ต้องการสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดได้มากน้อยเพียงใด การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 4 ระดับ จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะสะท้อนถึงผลการจัดการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้ถึงศักยภาพในสมรรถนะความสามารถ หรือผลสัมฤทธิ์ของตนเองได้เป็นอย่างดี รู้ถึงสมรรถนะ ความสามารถ ตลอดจนศักยภาพที่ตนมี ว่าต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาในเรื่องใด ที่จำเป็นสมควรได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ

            ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก

คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์

ดังนั้น การคำนวณ ( using numbers )  เป็นการนำค่าที่ได้จากการสังเกตเชิงปริมาณ  การวัด  การทดลอง  และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่  โดยนับและนำตัวเลขที่แสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวณโดยการ  บวก   ลบ   คูณ   หาร  และหาค่าเฉลี่ยยกกำลังสองหรือถอดราก  เพื่อใช้ในการสื่อความหมายให้ชัดเจนและเหมาะสม ผู้ที่มีทักษะการคำนวณ   ต้องมีความสามารถที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะนี้ประกอบด้วย

1.  หาผลลัพธ์ของการบวก และการลบปริมาณที่ได้จากการวัดได้อย่างถูกต้อง

2.  หาผลลัพธ์ของการคูณและการหาปริมาณที่ได้จาการวัดได้อย่างถูกต้อง

3.  หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจากข้อมูล  โดยใช้ความรู้คณิตศาสตร์ในเรื่องการแปรผัน  การสร้างสมการ   มาสร้างเป็นสูตรได้

4.  คำนวณเกี่ยวกับปริมาณที่มีคำอุปสรรคประกอบหน่วยได้อย่างถูกต้อง

5. การจัดกระทำ และการสื่อความหมายข้อมูล ( organizing data and communica tion)    หมายถึง  การนำข้อมูลดิบที่ได้จากการสังเกต  การวัด  การทดลอง  หรือจากตำแหน่งอื่น ๆ  มาจัดกระทำเสียใหม่  โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น  การหาความถี่  การเรียนลำดับ  การจัดแยกประเภท  การคำนวณหาค่าใหม่  เป็นต้นการสื่อความหมายข้อมูล  หมายถึง  การนำข้อมูลที่จัดกระทำนั้นมาเสนอหรือแสดงให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น  อาจนำเสนอในรูปของตตาราง  แผนภูมิ  แผนภาพ  ไดอะแกรม  วงจร  กราฟ  สมการ เขียนบรรยาย หรือย่อความพอสังเขป  เป็นต้น  ผู้ที่มีทักษะการจัดกระทำ  และการสื่อความหมายข้อมูล ต้องมีความสามารถที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะนี้ประกอบด้วย

1.  เลือกรูปแบบที่จะใช้การเสนอข้อมูลได้เหมาะสม

2.  บอกเหตุในการเลือกรูปแบบที่จะใช้ในการเสนอข้อมูล

3.  ออกแบบการเสนอข้อมูลตามรูปแบบที่เลือกไว้ได้

4.  เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใหม่ที่เข้าใจดีขึ้น

5.  บรรยายลักษณะสิ่งใดสิ่งสิ่งหนึ่งด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด สื่อความหมายให้ผู้อื่น

เข้าใจได้

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: งานวิจัยในชั้นเรียน2_63.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 139 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(7)
เก็บไว้อ่าน
(3)