สาระความรู้ ผสานด้วยผลงานศิลปะที่บ่งบอกตัวตนของเราบนความหลากหลายในสังคม ผ่านวัสดุแสนง่ายอย่างไม้ไอศกรีม
ประเด็นปัญหาเด็กกับโอกาสในสังคม ปัญหาความเท่าเทียมเพศหญฺิงกับชาย ปัญหาการไม่มีที่อยู่อาศัย และการเหยียดเชื้อชาติ ทั้ง 4 ประเด็นสรุปได้ 4 คำ ติดตัว ตีตรา โซ่ตรวนทางความคิด และไตร่ตรอง กล่าวคือ ปัญหาทั้ง 4 ประเด็นข้างต้น เป็นปัญหาปัญหาที่ ติดตัว เรามาตั้งแต่ต้น เราไม่สามารถละทิ้งตัวตนที่เราเป็นได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนการกระทำของเราให้ดีขึ้นได้ แต่ถึงกระนั้น ปัญหาก็ยังคงเกิดขึ้น จากการที่เรา ตีตรา ผู้อื่นว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ โดยมากมักจะเป็นการตีตราในทางลบ จนเกิดเป็นปัญหาขึ้น และคนที่ตีตราเองก็มักถูกครอบงำด้วย โซ่ตรวนทางความคิด ที่คอยกักขังความคิดของเขาไว้ ดังนั้นแล้วเราในฐานะผู้ถูกตีตรา หรือผู้ตีตราผู้อื่น ควรที่จะต้อง ไตร่ตรอง การกระทำของตัวเองก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกไป
กิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้เราเข้าใจความแตกต่างของบุคคล เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้?
กิจกรรม ตัวตนบุคคลผ่านไม้ไอศกรีม
แนวคิด : บุคคลมีความแตกต่างหลากหลายทั้งทางด้าน คติ ความเชื่อ วิธีคิด วัฒนธรรม ศาสนา การดำเนินชีวิต นวัตกรรมตัวนี้พยายามจะบอกผู้เรียนว่า ความแตกต่างเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้กรอบของสังคมที่เราอาศัยอยู่
อุปกรณ์ : ไม้ไอศกรีม สี ไม้กระดานอัด
วิธีการ
1. ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยในประเด็น “ตัวตนของเราและความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม” ว่าตัวตนเราเป็นอย่างไร ให้นักเรียนสำรวจตนเอง (อาจให้นักเรียนใช้สิ่งของบางอย่างที่ นร. มีอยู่ติดตัวแล้วนำขึ้นมาอธิบายความเป็นตัวตนผ่านของชิ้นนั้น)
-ตัวตนเราที่เป็นแบบนี้จะอยู่ในสังคมที่หลากหลายได้หรือไม่ ให้นักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
2. ครูแจกไม้ไอศกรีม ให้นักเรียนแต่ละคน คนละ 1 อัน จากนั้น ให้นักเรียนลงมือระบายสี ตกแต่งไม้ไอศกรีมตามจินตนาการ (กระบวนการนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของนักเรียนแต่ละคนผ่านการระบายสี ลวดลาย ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ผู้หญิง กับ ผู้ชาย ลวดลาย ความละเอียด ย่อมแตกต่างกัน ซึ่งนั่นคือตัวตนจำลองของแต่ละบุคคล) โดยครูพยายามชี้ให้เห็นแนวคิดว่า แต่ละคนมีความหลากหลายในตัวตน ย่อมแตกต่างกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้
3. จากนั้นให้นำไม้กระดาน 1 แผ่น ใช้สำหรับทั้งห้องเรียน (ไม้กระดานเปรียบเสมือนกรอบของสังคม/ ที่อยู่อาศัย/กฎหมาย ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการอธิบายของครูเพื่อให้ตรงกับหัวข้อสถานการณ์ปัญหาข้างต้น 4 สถานการณ์ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ตามเหมาะสมในชั้นเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองหรือสังคมศึกษา)
4. ให้นักเรียนแต่ละคนนำไม้ไอศกรีม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของตนเอง นำมาติดลงในไม้กระดาน โดยครูให้โจทย์ว่า
“เราจะต้องทำให้สังคมนี้น่าอยู่” คำนี้หมายถึง ทำให้มันสวยงามนั้นเอง (กระบวนการนี้ครูให้อิสระทางความคิดเด็กในการนำไม้ไอศกรีมมาติดลง โดยอาจออกแบบร่วมกัน หรือติดแบบตัวใครตัวมัน หรือติดแบบชายหญิงแยกกัน หรือรวมกัน ฯลฯ)
โดยครูจะต้องพยายามสังเกตุพฤติกรรม การแสดงออกและเชื่อมโยงเข้ากับประเด็นที่ต้องการให้นักเรียนเข้าใจให้ได้
5. เมื่อนักเรียนติดเสร็จแล้ว ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูพยายามชี้ว่า ความแตกต่างของแต่ละบุคคล สามารถมาร่วมอยู่ด้วยกันได้อย่างสงบสุข สวยงาม และเชื่อมโยงประเด็น เรื่อง
ความเท่าเทียมชายหญิง(กระบวนการทำงานของชาย หญิงในห้องเรียน ทำไมจึงจัดวางแบบนี้)
การจัดสรรที่อยู่อาศัย(การติดไม้ไอศกรีม)
ความหลาหลายเชื้อชาติในสังคม(ลวดลายแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป)
หรือ ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม ครูสามารถนำมาบูรณาการด้วยกิจกรรมนี้ได้
และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น สะท้อนกลับมุมมองต่าง ๆ หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้
แรงบันดาลใจและดัดแปลงไอเดีย จาก ธนู คงสมปราชญ์ (ครูป๋อม) รร.บ้านเนินพลับหวาน สพป.ชลบุรี 3
ปรับใช้โดย ครูบัส ในรายวิชาหน้าที่พลเมือง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!