icon
giftClose
profile

ใครขโมยปลาเก๋า โดเรม่อนรึเปล่า ม่อนไม่น่ารักรึเปล่

68771
ภาพประกอบไอเดีย ใครขโมยปลาเก๋า โดเรม่อนรึเปล่า ม่อนไม่น่ารักรึเปล่

ไอเดียชวนผู้เรียนแก้ปัญหาทางตรรกะศาสตร์ผ่านสถานการณ์กึ่งสมจริง ด้วยเครื่องมือสร้างเกมอย่างง่าย 'Thinklink' ตามวาระการสอนออนไลน์ของคุณครู

ฉันดีใจที่ได้กลับมาเขียนอีกครั้ง ในครั้งนี้ฉันลองเอาไอเดีย(แบบเป็นชิ้นเป็นอัน)ของตัวเองมาฝาก


เรื่องของเรื่องคือฉันกับเพื่อนอีกสองคนได้รับมอบหมายจากวิชาเรียนในคณะ (ใช่ ตอนนี้ฉันกำลังเรียนอยู่ แต่นั่นคงไม่ใช่ข้ออ้างที่ดีพอสำหรับการหายตัวไปจากคอลัมน์กว่าสองเดือนหรอก จริงไหม) ให้ลงมือสร้างเกมการเรียนรู้ - สื่อการเรียนการสอน - ภายใต้โกลสำคัญคือจะต้องเป็นเกมที่เชิญชวนให้ผู้เรียนได้รีดเค้นกระบวนการแก้ปัญหาออกมาใช้ 


เมื่อเป้าหมายคือเกมที่ผู้เรียนต้องแก้ปัญหา ฉันสรุปจับใจความได้อย่างสั้นๆ ว่าสิ่งที่เรากำลังในตอนนี้ทำก็คือการสร้างปัญหาดีๆ นี่เอง ว่าแต่ปัญหาแบบไหนกันล่ะที่คู่ควร?


พวกเรากลับมาสำรวจโจทย์ของตัวเองกันอีกครั้งก่อนที่จะเริ่ม “สร้างปัญหา” อย่างจริงจัง แล้วก็พบว่ามีข้อคำนึงอยู่ไม่อย่าง คือ 1.ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ 2.ขณะเดียวกันก็ต้องระวังเรื่องผู้เรียนแสดงวิธีทำออกนอกทะเล และ3.ต้องอยู่ในรูปแบบออนไลน์ตามวาระสถานการณ์ของโรคระบาด ภายใต้สามเงื่อนไขที่ว่าพวกเราใช้เวลาเจรจากันอยู่นานว่าจะสร้างปัญญาด้วยเรื่องอะไรกันดี สุดท้ายก็ลงเอยที่ปัญหาทางตรรกะศาสตร์ ด้วยข้อเสนอเชิงเอาแต่ใจจากฉันว่าปัญหาทางตรรกะน่ะถ้าใช้ความรู้ตรรกะศาสตร์มาช่วยจะดูคอนเซปช่วลไหลซ์ที่สุด 


เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าเกมของพวกเราเป็นยังไงบ้าง...


เกมใครขโมยปลาเก๋า

(คุณครูสามารถดูเกมตัวจริงได้ที่ https://www.thinglink.com/scene/1437624635540635649)


วัตถุประสงค์

หลังจากที่ผู้เรียนได้เล่นเกมชุดนี้ ผู้เรียนมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางตรรกะศาสตร์กับสถานการณ์การนำไปใช้จริง 


เนื่อเรื่อง

เกมชุดนี้หยิบเอาคาแรคเตอร์จากการ์ตูนโดเรม่อนมาใช้โดยการดำเนินเรื่องไปแบบแฟนฟิค “เมื่อกระเป๋าวิเศษของโดเรม่อนหายไป เจ้าตัวจึงต้องจับให้ได้ว่าใครเป็นคนเอาไปด้วยกระบวนการทางตรรกะศาสตร์นั่นเอง”


เครื่องมือที่ใช้

เนื่องจากต้องสร้างเกมให้สอดคล้องกับวาระเรียนออนไลน์ พวกเราเลยเลือกใช้เครื่องมือสร้างเกมง่ายๆ อย่าง https://www.thinglink.com/ ส่วนตัวฉันคิดว่ามันเข้าใจง่าย ไม่ค่อยซับซ้อน คือเป็นเครื่องมือที่มีระดับความง่ายอยู่ในเลเวลเดียวกันกับโปรแกรมเพาเวอร์พ้อย ลาก ตัด แปะ จบ ส่วนวิธีการประเมินความเข้าใจก็ใช้กูเกิ้ลฟอร์ม https://docs.google.com/forms แล้วแนบลิ้งค์ไปพร้อมกับเกมได้เลย


วิธีเล่น

ก่อนอื่นเข้ามาในเกม ผู้เรียนก็จะเจอเกมหน้าตาแบบนี้


คลิกเข้าไปที่เครื่องหมายคำถามก็จะมีโจทย์ พร้อมลิงค์ส่งคำตอบเอาไว้ให้


และนี่คือคำให้การจากเหล่าผู้ต้องสงสัย


แอบแทรกข้อมูลทางตรรกะศาสตร์ไว้ แถมคำมีใบ้ให้ด้วย


นักเรียนสามารถเลือกว่าจะเขียนตอบลงในฟอร์ม หรือว่าวาดภาพแสดงวิธีทำก็ได้



เครดิตเพื่อนร่วมทีม

อสมาภรณ์ ไทยนอ (ออมสิน)

ปฏิภาณ แผลงสูงเนิน (บูม)

 

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(8)
เก็บไว้อ่าน
(5)