จะทำอย่างไรดี เมื่อครูหนึ่งคนต้องรับหน้าที่สอนหลายวิชาและหลายระดับชั้นรวมกัน วันนี้จะพาทุกคนมองเห็นความเป็นไปได้ในการสร้างการเรียนรู้แบบบูรณาการห้องเรียนคละชั้น VASIYA model โดยมีเป้าหมายคือความสุขในการเรียนและความรู้ที่คงทนของผู้เรียน
VASIYA model เกิดจากการที่ครูหญิงได้รับหน้าที่สอนนักเรียนในหลายระดับชั้น คุณครูจึงคิดออกแบบโมเดลการสอนที่ช่วยให้นักเรียนในทุกระดับชั้นสามารถเรียนร่วมกันได้ตามความถนัดและความอยากรู้ของตนเอง จึงทำให้ VASIYA model ถือกำเนิดขึ้น
“ชีวิตคือองค์รวม บูรณาการคือองค์รวม เราเชื่อว่ามันคือวิชาชีวิต ชีวิตคือการนำมวลประสบการณ์มาใช้ในชีวิต”
“เริ่มต้นจากนักเรียนสนใจอยากทำอะไร ให้เขาได้เป็นครูของตัวเอง และเป็นคุณครูของเรา” - ครูหญิง เล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้างห้องเรียนแบบบูรณาการ
VASIYA model อาศัยหลักคิดแบบ 6 หลักการ 5 ขั้นตอน ดังนี้
6 หลักการ (หลักการคิด)
5 ขั้นตอน (ขั้นตอน/กระบวนการเรียนรู้)
เครื่องมือที่นักเรียนใช้ในการเรียนรู้ โดยจะเรียนรู้จากเรื่องที่นักเรียนสนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่อยากรู้, เหตุการณ์/สถานการณ์ในปัจจุบัน หรือการมีปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน
เป้าหมายการเรียนรู้แบบบูรณาการคละชั้น คือ นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ในหัวข้อที่สนใจและสร้างการเรียนรู้ที่เฉพาะบุคคล ช่วยให้นักเรียนพัฒนาความรู้และทักษะตามความถนัดและความสามารถของตนเอง เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
เสียงสะท้อนจากนักเรียน
“ทำไมโรงเรียนเลิกเร็วจังเลยครับ”
“ผมอยากไปโรงเรียนครับ”
“หนูได้เรียนสิ่งที่หนูอยากรู้ค่ะ”
“หนูรู้สึกภูมิใจ เมื่อทำเล่มผลงานสำเร็จค่ะ”
“ครูให้โอกาสหนู ให้ความมั่นใจในตนเองค่ะ”
“หนูมีความสุขที่ได้อยู่กับครูวสิยาค่ะ”
เสียงสะท้อนจากผู้ปกครอง
“ลูกตื่นแต่เช้าเพราะอยากไปโรงเรียน ครูทำได้ยังไงค่ะ”
“ลูกอยู่บ้านแล้วเขาพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง”
เสียงสะท้อนจากคุณครู
“นักเรียนค่อย ๆ พัฒนาตัวเอง เพราะเราให้อิสระเขา เคารพความแตกต่าง”
“เด็กเรียนรู้ร่วมกัน พวกเขาเข้าใจซึ่งกันและกัน ได้มีความรู้ที่มีความหมายต่อพวกเขา”
เมื่อครูเริ่มต้นออกแบบห้องเรียนจากความสุข ความอยากรู้ และความสนใจของเด็ก ๆ นั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนให้ดวงตาทุกคู่เกิดประกายความอยากรู้ และนำไปสู่การเติบโตและผลิบานได้อย่างงามของเด็ก ๆ ทุกคน
คอลัมนิสต์ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูท่านจุดประกายความสุขในดวงตาของเด็ก ๆ เพื่อนำมาสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนนะคะ
ขอขอบคุณเรื่องราวแรงบันดาลใจ จาก คุณครูหญิง วสิยา มูลคำเอ๋ย คุณครูโรงเรียนบ้านป่าบง (หล้าราษฎร์วิทยา) จังหวัดเชียงราย
เรียบเรียงและแบ่งปัน โดย ครูเท็น ศิริลักษณ์ สุทธิช่วย
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!