icon
giftClose
profile

หาขุมทรัพย์ในชุมชน: สอนเด็กบางกะเจ้าให้เป็นไกด์

10292
ภาพประกอบไอเดีย หาขุมทรัพย์ในชุมชน: สอนเด็กบางกะเจ้าให้เป็นไกด์

เด็กบางคนไม่เคยมีครูชื่นชมเลย เพราะเขาเรียนไม่เก่ง พอได้ลองเป็นไกด์ ได้รู้ว่าทำอะไรได้ดี ก็เสริมสร้างความมั่นใจมากขึ้น จากที่ไม่กล้าพูดอังกฤษ เดี๋ยวนี้เจอฝรั่งแล้วต้องแซว ต้องเข้าไปคุยทันที

ครูสนุ๊ก วรชัย ญาติอยู่ เคยสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งในที่ๆ เศรษฐกิจเฟื่องฟูจากตลาดน้ำ ครูสนุ๊กครูในโครงการ Teach for Thailand รุ่น 3 นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในทีมที่เคยพานักเรียนระดมทุน และไปสิงคโปร์ในโครงการ Learners to Leaders ด้วย


บริบทโรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งเป็นยังไงกันนะ?

โรงเรียนอยู่ที่บางกะเจ้า เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สอนตั้งแต่อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น มีระดับชั้นละห้อง ห้องละ 10-20 คนเท่านั้น


แรงบันดาลใจเบื้องหลังไอเดียการสอนของครูสนุ๊ก?

ต้องแยกเป็นสองส่วน 'การสอนในห้องเรียน' เราพยายามคิดว่าทำยังไงให้เด็กสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์ ถ้าเจอแผนนี้เด็กต้องไม่สนุกแน่ๆ เพราะเราตอนเด็กก็ยังไม่ชอบ 'การเรียนรู้นอกห้องเรียน' อยากให้เด็กค้นพบว่าเขามีศักยภาพอะไรซ่อนอยู่ เขาถนัดอะไร เลิกเรียนก็จะชวนเขาทำกิจกรรมด้วยกัน เป็นการผสานนักเรียนเข้ากับชุมชน


ก่อนเกิดไอเดีย ต้องวิเคราะห์ SWOT ทุกครั้ง

จุดแข็ง-จุดอ่อนก่อนเป็นอย่างแรก ไม่งั้นแผนการของเรามันอาจจะล่มตั้งแต่ไม่เริ่ม


  • วิเคราะห์โรงเรียน - ที่ไม่ได้วิเคราะห์แค่ตัวโรงเรียน แต่ยังดูไปถึงทัศนคติเพื่อนร่วมงาน รวมถึงผอ.ว่าสนับสนุนเราได้แค่ไหน
  • วิเคราะห์ชุมชน - ต้องหาขุมทรัพย์ในชุมชนใกล้โรงเรียนให้เจอ แล้วเราจะออกแบบการเรียนรู้ให้เข้ากับบริบทของนักเรียนได้เอง ผู้ใหญ่ในชุมชนสนับสนุนเราได้แค่ไหน
  • วิเคราะห์ตัวเรา - เราเป็นสายศิลป์ สายสังคม เรามีทักษะการสื่อสารที่ดี เราก็หยิบเอามาเป็นจุดแข็ง
  • วิเคราะห์ตัวเด็ก - เด็กๆ อาศัยอยู่แถวนั้น เรียกมาหาได้เสมอ แต่อุปสรรคคือพวกเขาไม่เคยทำกิจกรรมมาก่อนเลย


ไอเดียนอกห้องเรียน: 

เกิดเป็นชมรม “ไปไหนดี” เพราะได้รู้ว่าเด็กๆ ชอบถ่ายรูป บางคนอยากเป็นนางแบบ ชุมชนเราก็ที่เที่ยวเยอะ เด็กเราก็เก่งอังกฤษ เราเลยจับมาทำคลิปท่องเที่ยวเลย ต่อมาได้สร้างเฟซบุ๊กเพจชื่อ เด็กบางกะเจ้า Bangkajao youth guide ที่ครูทำร่วมกับนักเรียน ไปติดตามกันได้นะ ^-^


ระหว่างทาง: เราก็มีปัญหาไม่มีกล้อง เราก็ทำแคมเปญรับบริจาคกล้อง มีคนบริจาคกันเข้ามาจริงๆ ด้วย ทางด้านชุมชนก็สนับสนุนโครงการของเรา เพราะมีนักท่องเที่ยวติดต่อมาทางเพจแล้วสร้างรายได้ให้กับชุมชนจริงๆ เมื่อทำกิจกรรมเสร็จก็ชวนเด็กมา feedback กันว่าวันนี้เขาทำอะไรได้ดี ทำอะไรได้ไม่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อ


ไอเดียในห้องเรียน: 

  • เรียนเป็นกลุ่ม : เพราะเด็กเราเรียนคนเดียวไม่ได้
  • กระบวนการเก็บคะแนน : Reward, บอร์ดเก็บคะแนน


  1. พิชิตยอดเขา - ทำคล้ายบอร์ดคะแนนให้เด็กมีจุดมุ่งหมายในการตั้งใจเรียน ใครพิชิตยอดเขาได้อาจมีรางวัลเล็กๆ น้อยๆ
  2. เรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติผ่านการทำผ้ามัดย้อม - นอกจากสอนให้เด็กเรียนรู้กระบวนการเกิดสีบนผ้า วัสดุ วิธีต้มสี รู้จักสี สอนตรรกะว่ามันออกมาเป็นลายนี้ได้ยังไง ยังสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ขายได้ด้วย
  3. พาเด็กๆ ออกไปข้างนอกเยอะๆ - วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบตัว ให้เขาได้ทดลองทำจริง เช่น พาเขาไปดูเมฆ พาไปส่องชั้นดินต่างๆ


การเปลี่ยนแปลงในตัวเด็ก


สิ่งที่เห็นได้ชัด คือเด็กรู้สึกว่าเขามีศักยภาพอะไร 

เด็กบางคนไม่เคยมีครูชื่นชมเลย เพราะเขาเรียนไม่เก่ง

พอเราหาทางหาจุดให้กับเด็ก เขาก็รู้สึกเหมือนอยู่ถูกที่ถูกทาง


พอได้ลองเป็นไกด์ ได้รู้ว่าทำอะไรได้ดี ก็เสริมสร้างความมั่นใจมากขึ้น

จากที่ไม่กล้าพูดอังกฤษ เดี๋ยวนี้เจอฝรั่งแล้วต้องแซว ต้องเข้าไปคุยทันที


นอกจากนี้จะเห็นว่าจากที่เขาไม่เคยสนใจชุมชน

เด็กๆ ก็กลับไปอยู่กับชุมชน และชุมชนก็มีส่วนร่วมกับเด็กๆ มากขึ้น

เด็กเขามีความภูมิใจในชุมมากขึ้น


และสุดท้ายคือเมื่อสอนให้เขาคิดเป็น เขาจะผุดไอเดียต่อไปไม่หยุด

“ครูทำอันนั้นสิ อยากสอนฝรั่งทำบัวลอย”

บางอย่างเรารู้แหละว่ามันมีอุปสรรคข้างหน้า

แต่ก็ปล่อยให้เขาไปเผชิญ และแก้ปัญหาเอง โดยมีเราคอยสนับสนุน


แนวคิดที่สำคัญสำหรับคุณครูทุกคนคือ เราจะไม่รอให้พร้อมแล้วค่อยทำ แต่เราจะเริ่มเลย

แล้วให้เด็กๆ เรียนรู้ความล้มเหลวไปพร้อมกับเรา

หลายอย่างครูทำให้เด็กเสร็จสิ้น เราเคยแล้วเหนื่อยมาก

แต่พอมาลองทำไปด้วยกันมันช่วยทั้งเรา และสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กไปด้วย

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(1)