แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อ่านเรื่องรู้ถ้อยคำจดจำความหมาย
ชั่วโมงที่ 1
1) ขั้นสังเกตและตั้งคำถาม
- ครูแจกกระดาษโพสต์อิทให้นักเรียนเขียนปัญหาที่ตนเองพบหลังจากได้ฟังบทละครบทละครรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ จากช่องครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศึกสายเลือด ไมยราพ ให้นักเรียนฟัง
- นักเรียนช่วยกันบอกสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักเรียนอ่านวรรณคดีไม่เข้าใจเรื่องราว
2) ขั้นสืบค้นข้อมูล
- เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้ว ครูให้นักเรียนบอกวิธีการในการแก้ปัญหาเรื่องการไม่รู้ความหมายของคำมาคนละ 1 วิธี
- ให้นักเรียนอ่านเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ จาก หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต (วรรณคดีลำนำ) ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ผลัดกันอ่านออกเสียงแต่ละบทจนจบเรื่องขณะที่อ่านให้นักเรียนขีดเส้นใต้คำศัพท์ยากที่นักเรียนไม่รู้ความหมายไว้
ชั่วโมงที่ 2
- ครูติดกระดาษบรู๊ฟหน้าชั้นเรียนให้นักเรียนออกมาเขียนคำศัพท์ยาก
- ครูนำนักเรียนไปห้องสมุดเพื่อหาความหมายของคำศัพท์ยากที่นักเรียนรวบรวมไว้ โดยหาความหมายจากการเปิดใช้สื่อคำไวพจน์ การเปิดพจ นานุกรม การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
3) ขั้นดำเนินการและตรวจสอบข้อมูล
- นักเรียนช่วยกันหาความหมายของคำศัพท์ยาก จากบทละครเรื่อง รามเกียรต์ิ ตอน
ศึกไมยราพ และเขียนความหมายของคำลงไปในกระดาษ
- รวบรวมคำศัพท์ยากออกเป็นหมวดหมู่คำที่มีความหมายเดียวกัน จัดทำเป็นสมุดเล่มเล็ก
4) ขั้นสรุปและนำเสนอ
- นักเรียนนำผลงานการรวบรวมคำศัพท์ยากจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ
ภาพประกอบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยการใช้วิจัยเป็นฐาน
เรื่อง บทละครรามเกียรติ์ ตอนศึกไมย ราพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วิเคราะห์โวหารผสานความคิด
ชั่วโมงที่ 1
1) ขั้นสังเกตและตั้งคำถาม
- ครูกระตุ้นผู้เรียนด้วยการใช้คำถาม จากการทำกิจกรรมในเรื่องที่ผ่านมานักเรียนสามารถอ่านเรื่องเข้าใจแล้วหรือไม่ หากยังไม่เข้าใจคิดว่าตนเองมีปัญหาอย่างไร
2) ขั้นสืบค้นข้อมูล
- ครูแบ่งหัวข้อโวหารที่จะให้นักเรียนศึกษา ลงในซองโวหารเพื่อให้นักเรียนมาจับหัวข้อ โดยที่นักเรียนยังไม่ทราบหัวข้อ จัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่มเป็น กลุ่มบ้าน (Home group) กลุ่มละ 3-4 คน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้นนักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกันเพื่อทำงานซักถาม และทำกิจกรรมในกลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) นักเรียนแต่ละคนในกลุ่ม Expert group กลับมายังกลุ่มเดิม (Home group) ของตนเอง แล้วผลัดกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง
- นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่องประเภท ลักษณะและการใช้โวหาร
ชั่วโมงที่ 2
3) ขั้นดำเนินการและตรวจสอบข้อมูล
- นักเรียนช่วยกันหาข้อความที่เป็นโวหารต่าง ๆ จากบทละครเรื่อง รามเกียรต์ิ ตอน ศึกไมยราพ ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต (วรรณคดีลำนำ) ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 - ตีความหมายคำประพันธ์ที่เป็นโวหารจากเรื่อง จากนั้นรวบรวมเป็นหมวดหมู่ จัดทำเป็นสมุดปฎิทินโวหาร
4) ขั้นสรุปและนำเสนอ
1. นำเสนอผลงานการรวบรวมโวหารและถอดความบทประพันธ์ที่เป็นโวหารจากเรื่องรามเกียรติ์ตอน ศึกไมยราพ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!