การทดสอบความเป็นกรดหรือเบสด้วยน้ำอัญชัน ดอกอัญชันเป็นตัวทดสอบค่าความเป็นกรดหรือเบสชนิดธรรมชาติ(Natural Indicator) เมื่อดอกอัญชันละลายน้ำออกมาจะมีสีน้ำเงินซึ่งสารที่ละลายออกมานี้ คือสารแอนโทไซยานิน* และเมื่อเราหยดน้ำมะนาว** ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด ลงไปในน้ำอัญชัน น้ำอัญชันจะเกิดการเปลี่ยนสี จากสีน้ำเงินหรือสีฟ้ากลายไปเป็นสีม่วงแดง จากการทดลองแสดงว่ามะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดเพราะทำให้น้ำอัญชันที่เป็นตัวทดสอบเกิดการเปลี่ยนสี
หมายเหตุ
*แอนโทไซยานิน(Anthocyanin)เป็นรงควัตถุ(สารสี)ที่พบได้ในพืช ทั้งในดอกและผลของพืช มีสีแดง น้ำเงิน หรือม่วง เป็นสารที่ละลายในน้ำได้ดี มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
**สารที่มีฤทธิ์เป็นกรด(Acidic substances) คุณสมบัติจะมีรสชาติเปรี้ยว สามารถกัดกร่อนเนื้อเยื่อหรือโลหะได้
**สารที่มีฤทธิ์เป็นเบส(หรือเรียกอีกชื่อว่าด่างก็ได้)(Basic substances) คุณสมบัติจะมีรสชาติฝาด ขม สัมผัสลื่น มีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อหรือโลหะได้เหมือนกับกรด
***การทดสอบวัดค่าความเป็นกรดหรือเบส คือ ค่าที่แสดงปริมาณหรือความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนหรือไฮโดรเนียมอิออน(ของกรด)และไฮดรอกไซด์อิออน(ของเบส)ซึ่งเกิดจากสารที่สามารถแตกตัวให้อนุมูลกรดหรือเบสได้ ใช้บอกค่าความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย โดยค่า pH มีค่าตั้งแต่ 0-14 ซึ่งมีความหมาย ดังนี้
ถ้าค่า pH = 7 แสดงว่า สารละลายมีความเป็นกลาง
ถ้าค่า pH < 7 (น้อยกว่า7) แสดงว่า สารละลายมีความเป็นกรด ถ้าค่า pH ตั้งแต่0-6แสดงว่าเป็นกรดที่เข้มข้นมาก
ถ้าค่า pH > 7 (มากกว่า7) แสดงว่า สารละลายมีความเป็นเบส ถ้าค่า pH ตั้งแต่8-14แสดงว่าเป็นเบสที่เข้มข้นมาก
pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดหรือเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน
****อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนมีสมบัติเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อน
*****ไอออน หรือ อิออน(Ion) คือ อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวกหรือเป็นลบ
คุณสมบัติของอินดิเคเตอร์
1.อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด
2. อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ให้สีแตกต่างกัน
3. สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง
อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่เป็นสารละลายที่มีน้ำหรือแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย โดยปกติใช้ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และใช้เพียง 2-3 หยด ก็จะเห็นสีได้ชัดเจน
4. สีของอินดิเคเตอร์เปลี่ยนไปตามค่า pH ของสารละลาย
อ้างอิงจากวิกิพีเดียและคลังความรู้scimath
ลิ้งก์การทดลอง:youtube.com/watch?v=KhYHuvjgD6Q
ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียน คณะคุณครูบุคลากรทุกท่าน คุณครูสุรินทร์ นึกอุ่นจิตรและนักเรียนชั้นม.1 โรงเรียนบ้านหนองตาแก้ว อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สพป.นม.4
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย