1. ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างเครื่องร่อนที่มีโครงสร้างต่างกัน และอาศัยแรงจากหนังยางในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ได้เหมือนกัน (10 นาที)
2. นักเรียนสังเกตและเขียนระบุจากตัวอย่างเครื่องร่อนโดยมีประเด็นการสังเกตดังนี้
- แหล่งกำเนิดแรง
- โครงสร้างหลักและองค์ประกอบ
- วัสดุของเครื่องร่อน
- วิธีการเล่น
- ลักษณะการเคลื่อนที่ (10 นาที)
3. นักเรียนร่วมกันสะท้อนจากสิ่งที่ตัวเองสังเกตได้ โดยครูเขียนขึ้นประมวล เพื่อจัดหมวดหมู่จากข้อสังเกต (15 นาที)
4. ครูพานักเรียนมองจากตัวอย่างเครื่องร่อนแบบต่างๆ เทียบเคียงกับการสร้างเครื่องร่อนหลอดของตนเอง เพื่อให้เห็นว่า
- การที่จะสร้างเครื่องร่อนให้สามารถเคลื่อนที่และลอยอยู่บนอากาศได้ จะต้องอาศัยแรงยกตัวที่ค่ามากกว่าแรงโน้มถ่วง
- แรงยกตัวที่มากจะขึ้นอยู่กับความเร็วของการเคลื่อนที่ในแนวราบ ถ้าเร็วแรงยกตัวก็จะมาก ถ้าช้าแรงยกตัวก็จะน้อย
- ถ้าออกแบบเคลื่อนร่อนให้มีมวลมากขึ้น จะทำให้การเคลื่อนที่แนวราบของเครื่องร่อนช้าลง เมื่อช้าลงแรงยกตัวก็จะ
น้อยลง ทำให้เครื่องร่อนไม่สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงได้ จึงทำให้เครื่องร่อนจึงไม่สามารถลอยบนอากาศได้
5. นักเรียนเขียนประมวลความเข้าใจของตนเองลงในสมุดบันทึก (10 นาที)
6. ศึกษาตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่ตัวเองเองสนใจ ผ่านการสืบค้นข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของแรงยกตัว มวล และการเคลื่อนที่ เป็นหลักในการสืบค้น (40 นาที)
- ชื่อสิ่งประดิษฐ์
- องค์ประกอบและโครงสร้าง
- หลักการทำงานเบื้องต้น
7. ถอดหลักการทำงานขององค์ประกอบและโครงสร้างที่สัมพันธ์กับการเกิดแรงยกตัว (30 นาที)
8. นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นของแต่ละคน เพื่อจัดกลุ่ม โดยอาศัยหลักการของสิ่งประดิษฐ์ที่คล้ายกัน
- แรงกระทำ
- โครงสร้างของสิ่งประดิษฐ์
- หลักการทำงาน
โดยแบ่งกลุ่มโครงงานตามที่นักเรียนสนใจดังนี้
กลุ่มที่ 1 เครื่องร่อน (แรงจากมือ)
กลุ่มที่ 2 เครื่องร่อน (แรงดีดจากหนังยาง)
กลุ่มที่ 3 เครื่องร่อนใบพัด (แรงเกลียวจากหนังยาง)
กลุ่มที่ 4 คอปเตอร์ (แรงเกลียวจากหนังยาง)
กลุ่มที่ 5 บูมเบอแรง (แรงจากมือ) (15 นาที)
9. ออกแบบชิ้นงานของตนเอง ด้วยการวาดแบบ ระบุขนาดและวัสดุที่ใช้ประกอบชิ้นงาน
- ภาพ 3D , ด้านหน้า, ด้านข้าง, ด้านบน (40 นาที)
10. เขียนอธิบายหลักการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้ความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่สัมพันธ์กับแรงยกตัว และการเคลื่อนที่ อย่างชัดเจนและเป็นลำดับ (30 นาที)
1. ครูตรวจเช็คอุปกรณ์การสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละกลุ่ม (10 นาที)
2. ครูตรวจสอบเป้าหมายการทำงานในแต่ละคาบ (10 นาที)
3. นักเรียนลงมือสร้างชิ้นงาน บันทึกความคืบหน้าของงานและข้อติดขัด พร้อมรายงานความคืบหน้าในแต่ละคาบ (250นาที)
4. ทดสอบชิ้นงาน เก็บข้อมูล และปรับแก้ไขชิ้นงานให้ดีขึ้น (50 นาที)
5. เตรียมสื่อนำเสนอ เพิ่มขั้นตอนการทำงานและผลการทดสอบของเล่น (ปรับแก้ไขจากสื่อเดิม) (100 นาที)
6. นำเสนอ (150 นาที) โดยมีหัวข้อนำเสนอดังนี้
- ชื่อโครงงาน
- ที่มาและความสำคัญ
- ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (การเกิดแรงยกตัวของชิ้นงาน)
- ขั้นตอนการทำงาน (การออกแบบและการสร้างชิ้นงาน)
- ผลการทดสอบชิ้นงาน
- สรุปผลการทำงาน
7. เขียนสรุปประมวลความเข้าใจหลักการทำงานของโครงสร้างชิ้นงานที่สัมพันธ์กับการเกิดแรงยกตัว (50 นาที)
1. รู้และเข้าใจว่า แรงยกตัวเกิดจากความเร็วของอากาศที่เคลื่อนที่ผ่านผิวปีกด้านบนและด้านล่างมีความเร็วต่างกันจึงทำให้เกิดแรงดันที่ต่างกัน
2. รู้และเข้าใจว่า ความเร็วของอากาศมีผลต่อแรงดัน อากาศที่เคลื่อนที่เร็วจะมีแรงดันน้อย และอากาศที่เคลื่อนที่ช้าจะมีแรงดันมาก
3. รู้และเข้าใจว่าเมื่อมวลอากาศถูกสะสมอยู่ใต้ปีกและใบพัดที่มาก จะทำให้เกิดแรงดันที่มาก จนเอาชนะแรงกด จึงทำให้เครื่องร่อนและคอปเตอร์เคลื่อนที่ขึ้นได้
4. เข้าใจการเกิดแรงยกตัวที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของปีกและการไหลของอากาศผ่านผิวโค้งบนปีกและใต้ปีกที่ต่างกัน ทำให้เกิดแรงดันใต้ปีกมากว่าบนปีก จนสามารถยกตัวให้เครื่องร่อนลอยอยู่บนอากาศได้ และสามารถนำความเข้าใจนี้มาปรับใช้ในประดิษฐ์ของเล่นที่อาศัยแรงยกตัวในการเคลื่อนที่ได้
ครูผู้สอน : ครูวีรแมน บุราโส ครูอรนุช แสงมาศ และ ครูฤตถิรา จันทร์เจริญ
นักเรียน : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทอม 3 ปีการศึกษา 2563
ถ่ายทำโดย : ครูวีรแมน บุราโส และ ครูอรนุช แสงมาศ
ตัดต่อโดย : ครูวีรแมน บุราโส
สถานที่ : โรงเรียนรุ่งอรุณ
เพลง : Sunshine1 (VLLO)
#ฝากติดตาม สอนออนไลน์ (ยังไง) ให้สนุก EP.1
youtube.com/watch?v=bV1hXNb8-U0
#ฝากติดตาม การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน SCIENCE (FORCE AND MOTION) EP.2
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!