1.เป้าหมายของการสอน : วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การจัดการเรียนการสอนในเรื่องของแรงในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอนได้ออกแบบ สร้างสรรค์ และนำความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรมสะเต็มศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มาปรับใช้ให้เกิดขึ้นจริงในห้องเรียน เน้นให้นักเรียนได้ลงมือทำ เป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน จนได้เกิดเป็นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง "ช่วยชีวิต คิดอย่างวิศวกร"
2.กระบวนการ หรือขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การเรียนการสอนในเรื่องนี้คุณครูได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งสิ้น 5 แผน ซึ่งครอบคลุมทั้ง 4 ศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เป็นการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้กับคุณครูอีก 1 ท่าน ซึ่งท่านสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายละเอียดแผนทั้ง 5 แผนมีดังนี้
3.คอนเซ็ปต์วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้
คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้
ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
ในเรื่อง แรง แทนด้วยสัญลักษณ์ (F) มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ดังนั้นเมื่อพูดถึงแรงต้องระบุทั้งขนาดและทิศทางจึงจะสมบูรณ์
เครื่องกลยุคใหม่ส่วนมากไม่ว่าสลับซับซ้อนเพียงใดก็จะประกอบด้วยส่วนประกอบของส่วนเคลื่อนที่พื้นฐานสองสามชิ้น ที่นักฟิสิกส์เรียกว่าเครื่องกลอย่างง่าย ส่วนต่างๆ ได้แก่ คาน พื้นเอียง และล้อที่อำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มมีอารยธรรม นอกเหนือจากอิเล็กทรอนิกส์แล้วสิ่งที่น่าประหลาดใจเชิงกลที่สลับซับซ้อนอย่างมากของทุกวันนี้สืบทอดโดยตรงจากเครื่องมือที่ใช้เมื่อหลายพันปีมาแล้วในการตัดต้นไม้ สร้างที่หลบภัยและก่อสร้างปิรามิด นักฟิสิกส์นิยาม 5 ประเภทของเครื่องกลอย่างง่ายว่า คาน ล้อและเพลา รอก พื้นเอียง และสลักเกลียว แต่ละประเภทจะทำงานหนึ่งในสามแบบมันสามารถปรับแรงกระทำโดยบุคคลและเปลี่ยนทิศทางใหม่ เช่น ถ้าเราต้องการดึงของมากกว่าผลักของ เราก็สามารถเปลี่ยนความพยายามที่เล็กน้อยเป็นแรงมากได้โดยใช้แนวคิดที่เป็นที่รู้จักว่าได้เปรียบเชิงกล หรือเราสามารถเพิ่มระยะทางต่อแรงกระทำก็ได้ ขณะที่เครื่องกลเหล่านี้ไม่ได้ลดปริมาณของงาน แต่กลับสามารถลดแรงที่ต้องการจากผู้ใช้ได้ การใช้เครื่องกลอย่างง่ายที่เหมาะสมไม่ว่าจะใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับชนิดอื่น สามารถทำให้งานที่ยากที่สุดง่ายขึ้นมาก สปริงซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องกลที่ยืดและหดได้อย่างสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์กับเครื่องกลอย่างง่าย จึงสามารถใช้วัดความแรงของแรงต่างๆได้
ที่มา
หนังสือชุดขุมทรัพย์โลกวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์และพลังงาน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!